น้ำลายที่มีสารพิษจากควันบุหรี่ละลายอยู่นี้ จะทำอันตรายกับช่องปากอย่างไร

     · ทำให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อในช่องปาก เช่นเดียวกับการระคายเคืองเวลาควันบุหรี่เข้าตา แต่สารพิษในควันบุหรี่ที่ละลายในน้ำลายไม่ทำให้รู้สึกระคายเคืองปาก เพราะประสาทสัมผัสเกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บแสบในช่องปากไม่ไวเท่ากับประสาทสัมผัสของตา
     · ทำให้เลือดไปเลี้ยงเหงือกน้อยลง ทำให้เนื้อเยื่อเหงือกและกระดูกรองรับฟันได้ออกซิเจนและสารอาหารน้อยลง
     · ทำให้ความรู้สึกรับรสอาหารลดน้อยลง
     · ทาร์และนิโคตินจะจับกับฟัน ทำให้ฟันมีสีน้ำตาล สีเหลืองเหมือนกับที่จับตามเล็บของคนสูบบุหรี่และอาจถึงเป็นฟันสีดำ
     · คราบหินปูนที่จับตามฟันและเกิดเร็วขึ้น ต้องพบแพทย์เพื่อขูดหินปูนบ่อยขึ้น
     · การขูดหินปูนในคนที่สูบบุหรี่จะใช้เวลามากกว่า และขูดยากกว่าคนไม่สูบบุหรี่
     · เพิ่มความเสี่ยงเหงือกร่น และเร่งอัตราการร่นของเหงือก เหงือกร่นทำให้เกิดอาการเสียวฟันตามมา รวมถึงผลต่อความสวยงามบุคลิกภาพ
     · เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์ที่ลุกลามถึงกระดูกรองรับฟัน นำไปสู่การทำให้ฟันหลุดร่วงเร็วขึ้น
     · การสูญเสียของฟันในผู้สูบบุหรี่ชาย = 2.9 ซี่ทุก 10 ปี สำหรับผู้สูบบุหรี่ชาย และ 1.5 ซี่ สำหรับผู้หญิงที่สูบบุหรี่ (คิดเป็นจำนวนซี่ฟันที่หลุดร่วงเป็น 2 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่) ถ้าคุณเริ่มสูบบุหรี่อายุ 18 ปี – จนถึง 35 ปี คุณอาจจะสูญเสียฟันไป 4-5 ซี่ ถ้าสูบปริมาณวันละซองเป็นเวลา 16 ปี โอกาสฟันหลุดร่วงเพิ่มขึ้น 3.5 เท่า
     · เกิดแผลในช่องปากบ่อยขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกาย
     · การสูบบุหรี่ทำให้ภูมิต้านทานของร่ายกาลดลง ยิ่งเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ
     · ทำให้แผลภายหลังการทำฟันหายช้า ทำให้การรักษาโรคเหงือกการรักษาฟัน รวมถึงการทำรากฟันเทียมได้ผลไม่ดีเหมือนคนไม่สูบบุหรี่ ดังนั้น ในคนที่สูบบุหรี่ควรจะหุยุดสูบก่อนและหลังการทำฟันและดีที่สุดคือหยุดสูบบุหรี่ไปเลย

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

บทความสุขภาพที่เีกี่ยวข้อง