กำหนดการคลอดลูก

กำหนดคลอด ทุกวิธีไม่สามารถบอกวันที่ได้ตรงวันคลอดจริงๆ มีเพียงทารกในครรภ์เท่านั้นที่รู้วันเกิดของตัวเอง อาการเตือนก่อนคลอดและลักษณะการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จะเป็นอาการบอกการคลอดที่จะเกิดขึ้นภายในสัปดาห์ หรือ 2 วัน รายละเอียดเรื่องนี้จะกล่าวถึงในบทต่อไปที่พูดถึงกระบวนการคลอด วันนี้เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

แนวคิดเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด
เป็นเรื่องของคู่สมรสที่ต้องเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง การคลอดมีหลากหลายวิธีที่ผู้คลอดมีสิทธิที่จะเลือกเพื่อความพึงพอใจของตนและคู่สมรส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกสถานที่คลอดและผู้ดูแล การคลอด ตามเป้าหมายที่ต้องการ นั่นคือคุณต้องรู้ความต้องการของตนเอง และความเป็นไปได้ตามหลักวิชาทางการแพทย์ที่จะเอื้ออำนวยและสถานที่ที่มีบริการดังกล่าว ซึ่งจะเป็นสถานที่ที่คุณเลือก ฝากครรภ์และคลอด
คุณเป็นคนไข้ประเภทใด?
การที่จะเลือกแพทย์ผู้ดูแลได้ถูกใจคุณ คุณตอบตัวเองให้ได้ว่าคุณเป็นคนไข้ประเภทใด เช่น คุณเป็นคนไข้ที่มอบความไว้ใจและความศรัทธาทั้งหมดให้แพทย์ผู้ดูแล เพราะคุณเชื่อว่าเขาร่ำเรียนมาทางนี้ย่อมตัดสินใจแทนคุณได้ดี หรือคุณรู้สึกปลอดภัยในสถานที่มีเครื่องมือทันสมัยที่จะให้บริการคุณ หรือคุณคาดว่าแพทย์ที่ดูแลคุณจะต้องเป็นผู้ที่เก่งกล้าสามารถและเปรื่องปราดในวิชาการ หรือคุณชอบแพทย์หัวโบราณที่ยึดมั่นในอุดมการณ์และวิถีทางอนุรักษ์นิยม หรือตัวคุณเองเชื่อมั่นว่าร่างกายและสุขภาพของคุณเป็นสิทธิอันชอบธรรมของคุณในการดูแล เป็นกิจกรรมส่วนตัวที่คุณต้องรับผิดชอบในการกระทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยแพทย์ผู้ดูแลจะมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด หรือคุณคิดว่าแพทย์ผู้ชำนาญการทั้งหลายมีหน้าที่ในการบอกเล่าข้อมูลทั้งหมดให้คุณได้เลือกตามความชอบใจ หรือคุณต้องการให้แพทย์เปิดโอกาสให้คุณมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลตัวคุณเองในฐานะผู้ร่วมรับผิดชอบ
การคลอดบุตร
การคลอดบุตร
คุณต้องการแพทย์ที่มีทั้งความชำนาญและความรับผิดชอบร่วมกัน เช่น ให้คำแนะนำคุณเมื่อคุณสนใจที่จะ คลอดโดยวิธีทางธรรมชาติ และไม่ลังเลที่จะเสนอให้คุณผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้องในกรณีที่จำเป็น หรือแพทย์ผู้ปฏิเสธที่จะใช้เครื่องตรวจสอบหัวใจเด็กในขณะคลอด แต่เขาให้การดูแลที่เฝ้าระมัดระวังอย่างละเอียดถี่ถ้วนในชีวิตของแม่และทารกในครรภ์ โดยไม่คำนึงถึงความพอใจของผู้คลอด ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าแพทย์จะเป็นแบบใด สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณคือความสัมพันธ์อันดีระหว่างคุณและแพทย์ผู้ดูแล ความเข้าอกเข้าใจและสอดประสานกันเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้
และไม่ว่าคุณจะเป็นคนไข้ประเภทใด ถ้าคุณเชื่อว่าสามีเป็นบุคคลหนึ่งที่มีส่วนในงานนี้เท่ากับคุณ คุณควรจะแจ้งความประสงค์นี้ให้แพทย์ผู้ดูแลคุณทราบ และสามีคุณควรจะได้รับการเชื้อเชิญให้พบปะกับแพทย์ผู้ดูแลตั้งแต่การนัดพบครั้งแรกของคุณ และทุกครั้งที่มีการตรวจ สามีควรจะได้รับรู้ข้อมูลทั้งหมดพร้อมๆกับคุณ และเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดตัดสินใจเลือก รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการคลอดที่จะเกิดขึ้นด้วย
สูติแพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์ หรือแพทย์ประจำครอบครัว
บุคคล…ทั้ง 3 ประเภท คือ บุคคลที่ท่านต้องเลือกในการฝากครรภ์และให้เป็นผู้รับผิดชอบ การตั้งครรภ์ ของท่าน ท่านจะเลือกใคร อย่างไร ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของท่านเป็นหลัก ในที่นี้จะกล่าวถึงบทบาทและขอบเขตความรับผิดชอบของบุคคลในแต่ละประเภทเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาของท่าน ดังนี้
สูติแพทย์
ถ้า การตั้งครรภ์ ของคุณมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติหรือโรคแทรกซ้อน คุณจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากสูติแพทย์ เพื่อการดูแลที่เหมาะสมปลอดภัย ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึง การคลอด และหลังคลอด และในบางกรณีคุณต้องการการดูแลจากสูติแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะสาขา เพิ่มเติมจากสูติแพทย์ทั่วไป
แต่โดยทั่วไปหญิงตั้งครรภ์นิยมที่จะเลือกให้สูติแพทย์ดูแล การตั้งครรภ์และทำคลอด แม้ว่าจะไม่มีภาวะเสี่ยงแต่อย่างใด
แพทย์ประจำครอบครัว
เป็นแพทย์ผู้ดูแลสุขภาพของคุณมาตลอด และโดยทั่วไปการตั้งครรภ์และ การคลอด ปกติ มักจะมีวิถีทางโดยธรรมชาติที่ไม่ยุ่งยากนัก แพทย์ที่จบหลักสูตรแพทย์ปริญญาสามารถทำคลอดได้ ดังนั้น คุณสามารถเลือกให้แพทย์ประจำตัวคุณเป็นผู้ดูแลการตั้งครรภ์ ตลอดจนทำคลอดให้คุณได้เช่นกัน
พยาบาล-ผดุงครรภ์
ถ้าคุณต้องการการดูแลที่ใกล้ชิด และปราศจากช่องว่างระหว่างแพทย์และคนไข้ พยาบาลผดุงครรภ์คือผู้ที่เหมาะสมในการดูแลคุณในขณะตั้งครรภ์และคลอดเธอมีเวลามากพอที่จะพูดคุยกับคุณ ตอบคำถามที่คุณสงสัยได้ในเวลานานๆ ช่วยคุณได้มากในการคลอดตามธรรมชาติ แต่มีข้อจำกัดคือพยาบาล-ผดุงครรภ์จะสามารถดูแลคุณได้เฉพาะกรณีที่การตั้งครรภ์ปกติ หรืออยู่ในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงเพียงเล็กน้อย และข้อดีของพยาบาลผดุงครรภ์คือ คุณจะมีความรู้สึกของการได้รับการยอมรับสูงกว่าที่ได้รับจากแพทย์ และมีความใกล้ชิดกับผู้ดูแลมากกว่า
ชนิดของบริการการฝากครรภ์และการคลอด
นอกจากบุคลากรผู้ดูแล การตั้งครรภ์และการคลอด คุณจะต้องพิจารณาถึงชนิดของการคลอด บริการที่คุณสามารถเลือกได้โดยพิจารณาจากข้อดีข้อเสียของแต่ละชนิดบริการดังนี้
บริการที่รับผิดชอบโดยแพทย์เพียงผู้เดียว
ลักษณะบริการเช่นนี้สูติแพทย์หรือแพทย์ประจำครอบครัวจะทำงานคนเดียว ไม่มีผู้ร่วมงาน ดุจดังศิลปินเดี่ยว จะมีผู้ทำงานแทนต่อเมื่อได้รับการมอบหมายเป็นกรณี ซึ่งเป็นระบบแพทย์เจ้าของไข้ที่พบเห็นโดยทั่วไป
ข้อดีของบริการชนิดนี้คือท่านจะได้พบแพทย์คนเดิมตลอดเวลาของ การฝากครรภ์ ทำให้เกิดความคุ้นเคย และสะดวกใจในการดูแลระหว่างการคลอด
ข้อเสีย ถ้าเกิดแพทย์ผู้ดูแลติดธุระหรือไม่สามารถมาดูแลคุณได้ โดยเฉพาะในการคลอดคุณก็จะได้แพทย์ผู้อื่นที่ไม่คุ้นเคยมาทำคลอดให้ และข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ในบางรายพบว่ามีความไม่สอดคล้องกันในความคิดเห็นระหว่างแพทย์และคุณ ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนแพทย์ผู้ดูแลคนใหม่แทน ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเวลาเพิ่มขึ้น
บริการโดยทีมการแพทย์
ลักษณะบริการเช่นนี้จะมีแพทย์ 2-3 คน ที่รวมกลุ่มกันทำงาน โดยที่ทุกคนจะมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันให้บริการ

การคลอดลูกโดยการผ่าตัดคลอด

การผ่าตัดคลอด ในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มีความพอใจกับการทำผ่าตัดคลอดมากกว่าการคลอดตามธรรมชาติ จากการไม่เจ็บปวดขณะคลอด กำหนดเวลาคลอดที่แน่นอนได้ นอกจากนี้การที่เทคในโลยีทางการแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นและทำได้ง่ายขึ้น วันนี้เราจะมาบอกวิธีการผ่าคลอดมาให้ทราบกันค่ะ

การผ่าตัดคลอดคืออะไรและทำไมต้องใช้วิธีนี้
เมื่อแพทย์มีความเห็นว่า การคลอด ด้วยวิธีการปกติจะทำให้คุณแม่หรือลูกน้อยมีความเสี่ยงมากเกินไป แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดคลอด ทั้งนี้สาเหตุที่แพทย์แนะนำให้ใช้วิธี การผ่าตัดคลอด อาจสืบเนื่องมาจาก
1. ภาวะรกเกาะต่ำ เมื่อรกเกาะต่ำหรือขวางทางออกของลูกน้อย
2. คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
3. ลูกน้อยตัวใหญ่เกินกว่าที่จะคลอดผ่านกระดูกเชิงกราน
4. คุณแม่มีความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงหรือมีความเจ็บป่วยอื่น เช่น ครรภ์เป็นพิษ
5. สุขภาพของลูกน้อยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องนำเด็กออกจากครรภ์โดยเร็ว
6. ลูกน้อยเอาก้นลง
7. มีภาวะสายสะดือย้อย คือเมื่อสายสะดือพลัดต่ำ ทำให้ไม่สามารถคลอดลูกน้อยออกมาได้โดยง่าย คุณแม่เป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศ ซึ่งสามารถติดต่อสู่ลูกน้อยผ่าน การคลอด ทางช่องคลอด
ขั้นตอนที่เกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัดคลอด
การผ่าตัดคลอด
การผ่าตัดคลอด
ขั้นตอนใน การผ่าตัดคลอด จะเริ่มจากพูดคุยกับวิสัญญีแพทย์ ซึ่งจะซักประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัว รวมทั้งตอบคำถามต่างๆ ที่คุณแม่สงสัย แพทย์จะเจาะตัวอย่างเลือดและให้คุณลงชื่อในหนังสือแสดงความยินยอม แพทย์จะให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลางและต่อสายน้ำเกลือเข้าหลอดเลือดดำที่แขน เพื่อที่แพทย์จะสามารถสังเกตระดับสารน้ำในร่างกาย และให้ยาแก้ปวดเพิ่มเติมได้ถ้าคุณแม่ต้องการ
การเตรียมการสำหรับการผ่าตัดคลอด
หลังจากนั้นวิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ (การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังหรือการฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง) และ ​ ใส่ ​ สายสวนไว้ ​ ใน ​ กระ ​ เพาะปัสสาวะ ​ เพื่อระบายปัสสาวะ (ซึ่งจะทิ้งไว้ประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด) ​ อาจต้องโกนขนบริ ​ เวณหัวหน่าวเพื่อเตรียมรับการผ่าตัด
การผ่าตัดคลอดทำอย่างไร
เมื่อยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จะเริ่มลงมือผ่าตัดด้วยการผ่าเปิดหน้าท้องเพื่อให้สามารถมองเห็นลูกน้อยที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ และนำลูกน้อยออกจากถุงน้ำคร่ำสู่อ้อมอกของคุณแม่ การผ่าตัดจะเสร็จสิ้นลงอย่างรวดเร็วโดยที่คุณแม่จะรู้สึกถึงแรงกดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
หากคุณไม่ได้รับการดมยาสลบหรือไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อนขณะคลอดสามารถอยู่กับคุณแม่ได้ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้นการผ่าตัด
ขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากลูกน้อยลืมตาดูโลก
แพทย์จะนำทารกไปไว้ใน “ตู้อบ” ซึ่งเป็นเตียงที่อบอุ่นขนาดเล็ก เพื่อให้กุมารแพทย์ทำการตรวจร่างกายลูก เมื่อกุมารแพทย์พบว่าลูกของคุณแม่มีสุขภาพแข็งแรง แพทย์จะห่อตัวลูกด้วยผ้าห่มและส่งให้คุณแม่หรือคุณพ่ออุ้ม เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่มีสุขภาพแข็งแรงดี และคุณแม่จะมีโอกาสได้อุ้มลูกสักพักหลังจากที่ลูกลืมตาดูโลก
เมื่อนำรกออกจากครรภ์จนหมดแล้ว ศัลยแพทย์จะเย็บปิดมดลูกและหน้าท้องของคุณแม่ด้วยรอยเย็บที่ปราณีต ขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาคุณแม่กลับไปยังหอผู้ป่วยสูติกรรม ซึ่งสูติแพทย์จะช่วยสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้แก่คุณ
การฟื้นตัวจากการผ่าตัดคลอด
โดยส่วนใหญ่ คุณแม่จะฟื้นตัวได้ภายใน 24 ชั่วโมง และออกจากโรงพยาบาลได้ภายใน 5 วัน แต่ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์เพื่อให้รอยแผลจากการผ่าตัดคลอดหายดี ดังนั้น คุณแม่จะต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้านเพื่อที่จะได้พักผ่อนและใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยได้อย่างเต็มที่
จำไว้ว่า ถึงแม้ว่าครั้งนี้คุณแม่จะคลอดลูกด้วย การผ่าตัดคลอด ก็ตาม แต่ในการคลอดลูกครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องใช้ การผ่าตัดคลอด อีกเสมอไป ประมาณร้อยละ 70 ของผู้หญิงที่เคยคลอดลูกด้วยการผ่าตัดคลอด สามารถคลอดปกติได้สำเร็จ
หากคุณแม่รู้สึกเจ็บตึงบริเวณแผลผ่าตัดมาก หรือสงสัยว่าอาจมีการอักเสบหรือติดเชื้อ ควรรีบไปพบสูติแพทย์ทันทีค่ะ

สารสกัดจากขมิ้นชัน


ขมิ้นชัน มีประโยชน์และสรรพคุณหลายประการ ดังนี้ ขมิ้นชันมีวิตามิน เอ, ซี, อี ที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานพร้อมกัน ทั้ง 3 ตัว จึงมีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็งตับ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปและสะสมในร่างกาย วันนี้เราจึงมาแนะนำสารสกัดที่สกัดจากขมิ้นชันมาฝากทุกท่านค่ะ
สารสกัดจากขมิ้นชัน
สารสกัดจากขมิ้นชัน
สารสกัดจากขมิ้นชัน
ชนิดบริสุทธิ์เข้มข้น (Turmeric Extract ) สารที่อยู่ในขมิ้นชันประกอบด้วยสารสำคัญประเภท เคอร์คูมินอยด์ (curcuminoid ) เป็นสารสีเหลือง ประกอบด้วยเคอร์คูมิน ( curcumin ) , เดสเมทอกซีเคอร์คูมิน ( demethoxycurcumin ) และบิสเดส เมทอกซีเคอร์คูมิน (bisdemethoxycurcumin2 ) และน้ำมันหอมระเหย มีสีเหลืองอ่อน นอกจากนี้ ยังมีสารกลุ่มอื่น ๆ อีกหลายชนิด สารCurcuminoid ในขมิ้นชันมีคุณสมบัติเป็น antioxidant ที่ดีมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอีถึง 8 เท่า จึงป้องกันการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้เป็นอย่างดี และมีประสิทธิผลในการรักษาสิว ทั้งสิวอักเสบและสิวไม่อักเสบ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้อย่างดีเยี่ยม โดยสิวจะยุบตัวลงและหายอย่างรวดเร็ว สามารถลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ และซ่อมแซมความเสียหายของเซลล์ผิว และลดขนาด ความเข้ม ของรอยแผล จุดด่างดำให้จางลงได้เป็นอย่างดี และช่วยปรับสภาพผิวหน้าให้นุ่มนวลขาวเนียนใส เปล่งปลั่ง แลดูมีน้ำมีนวล
ข้อแนะนำ
โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ ผิวจะแห้ง หยาบกร้าน และหมองคล้ำ สารสกัดจากขมิ้นชันสามารถช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระในเซลล์ผิว ช่วยขับและสลายสารพิษที่ไม่ดีในชั้นผิวได้อย่างดีเยี่ยมเลยค่ะ
ส่วนประกอบสำคัญ : Turmeric Extract
วิธีใช้
- ผสมลงในครีมบำรุง , เจล , ซีรั่ม , โทเนอร์ ประมาณเหรียญห้าสิบสตางค์ สารสกัดปริมาณ 1-2 หยด คนให้เข้ากันดี จึงทาผิวหน้าและลำคอ เช้า-เย็น
- ถ้าผสมสารสกัดขมิ้นชัน ปริมาณ 10 ml. ลงในครีมบำรุงผิว , โลชั่น หรือ โทเนอร์ ปริมาณ 100 ml. จะได้ ครีมบำรุงผิว / โทเนอร์สารสกัดขมิ้นชันที่มีความเข้มข้นสูง ใช้ทาบำรุงผิวหน้า หรือผิวกาย เช้า-เย็น เพื่อผิวพรรณขาวเปล่งปลั่ง ลดสิว ลดรอยคล้ำด่างดำและต้านอนุมูลอิสระ
ข้อควรระวัง
- ควรทดสอบอาการแพ้และอาการระคายเคืองก่อนใช้เพราะสภาพผิวแต่ละคนมีความแตกต่างกัน โดยทาผิวบริเวณท้องแขนทิ้งไว้ 24 ชม.เป็นอย่างน้อย หากไม่เกิดอาการระคายเคืองก็สามารถนำไปใช้ทาผิวหน้าได้
- ควรทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ

มะนาว สมุนไพร ยาขับเสมหะ แก้ไอ


ถ้าเอ่ยชื่อ มะนาว ออกมา แล้วมีคนบอกว่าไม่รู้จัก เรื่องนี้คงเป็นไปไม่ได้ เพราะว่า มะนาว เป็นสมุนไพร และพืชผักสวนครัวที่มีแทบทุกบ้าน นอกจากนั้นมะนาวยังมีชื่อเรียกอีกสองชื่อคือ ส้มมะนาว และมะลิว มะนาวมีรสชาติเปรี้ยวจี๊ด คนส่วนใหญ่จึงนำมะนาวไปปรุงอาหาร หรือทำเครื่องดื่มเพื่อความชุ่มคอ ส่วนสรรพคุณของมะนาวนั้นก็ยังมีอีกหลายต่อหลายอย่าง ซึ่งวันนี้ มีความรู้ดีดีเกี่ยวกับ มะนาว มาแนะนำกันค่ะ

ส่วนที่ใช้ : น้ำมะนาว (น้ำคั้นจากผล) ราก ใบ ดอก ผล เมล็ด
สรรพคุณ : มะนาว
น้ำมะนาว – แก้โรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน) ทำอาหาร ขับเสมหะ ฟอกโลหิต ทำให้ผิวนุ่มนวล แก้ซาง บำรุงเสียง บำรุงโลหิต ขับระดู แก้เล็บขบ แก้ขาลาย จิบแก้ไอ ดับกลิ่นเหล้า ฆ่าพยาธิในท้อง รักษาผม ขับลม รักษาลมพิษ แก้ริดสีดวง แก้ระดูขาว แก้พิษยางน่อง แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
รากมะนาว – กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ ถอนพิษไข้ กลับไข้ซ้ำ
ใบมะนาว – ฟอกโลหิต แก้ตับทรุด
ดอกมะนาว – แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ ) แก้ไอ ขับเสมหะ
ผลมะนาว - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง ทาแก้ผิวแห้งตกสะเก็ด แก้สิวฝ้า แก้ส้นเท้าแตก แก้ไอ รักษาแผลจากแมลงมีพิษ
เมล็ดมะนาว – แก้พิษตานซาง แก้หายใจขัด แก้ไข้ขับเสมหะ แก้พิษฝีภายใน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
มะนาว
มะนาว
ยาแก้ไอขับเสมหะ
น้ำในผลที่โตเต็มที่ น้ำมะนาว 2-3 ช้อนแกง, เมล็ดมะนาว 10-20 เมล็ด นำน้ำมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย จิบ จะช่วยทำให้เสมหะถูกขับออก และเสียงดี ถ้าเป็นเมล็ด มะนาวนำไปคั่วให้เหลือง บดให้ละเอียด เติมพิมเสน 2-5 เกล็ด ชงน้ำร้อนรับประทาน เป็นยาขับเสมหะ
ยาป้องกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด)
ใช้น้ำจากผลที่แก่จัดไม่จำกัด เติมเกลือ น้ำตาล น้ำแข็ง ใช้เป็นเครื่องดื่ม หรือจะใส่ในอาหาร ก็ได้ผลเช่นกัน
ยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้น้ำจากผล ครึ่งช้อนชา หรือ 1/4 ช้อนแกง แผลถูกมีดบาด เลือดไม่หยุด บีบน้ำมะนาวลงไป 3-4 หยด เลือดจะหยุด
สารเคมี :
ใบ มี Alcohols, Aldehydes, Elements, Terpenoids, Citral
ผล มี 1 – Alanine, γ – Amino butyric acid, 1 – Glutamic acid
เมล็ด มี Glyceride Oil
น้ำมันหอมระเหย มี P – Dimethyl – a – Styrene, Terpinolene

ประโยชน์ของมะกรูด สมุนไพร ยาขับเสมหะ แก้ไอ


มะกรูด เป็นสมุนไพรที่นับว่ามีประโยชน์มากมายเลยที่เดียว ไม่ว่าจะสามารถนำผลไปสระผมเพื่อขจัดรังแคได้แล้ว ยังมีสรรพคุณอื่นๆอีกเยอะแยะเลยนะคะ นอกจากนั้น มะกรูด ยังมีชื่อเรียกอื่นๆอีกคือ มะขุน มะขูด มะขู ส้มกรูด และส้มมั่วผี และวันนี้เรา ได้นำความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร มะกรูด มาฝากกันค่ะ

ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ ผล ผิวจากผล
สรรพคุณ : มะกรูด
รากมะกรูด – กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
ใบมะกรูด - มีน้ำมันหอมระเหย
ผลมะกรูด, น้ำคั้นจากผลมะกรูด – ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด
ผิวจากผลมะกรูด
มะกรูด
มะกรูด
- ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น
- เป็นยาบำรุงหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ
ฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้อนแกง เติมการบูร หรือ พิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 ถึง 2 ครั้ง แต่ถ้ายังไม่ค่อยทุเลา จะรับประทานติดต่อกัน 2-3 สะรก็ได้

ใช้สระผมทำให้ผมสะอาดชุ่มชื้น เป็นเงางาม ดกดำ ผมลื่นด้วย
โดยผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ ใช้มะกรูดยีไปบนผม น้ำมะกรูดเป็นกรด จะทำให้ผมสะอาด แล้วล้างผมให้สมุนไพรออกไปให้หมด หรือใช้มะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าซีกใช้สระผม จะรักษาชันนะตุ ทำให้ผมสะอาดเป็นมัน

เสียงดนตรี สื่อดี ๆ เพื่อเพิ่มไอคิว ตอนที่ 2

การฟังเสียงดนตรี เป็นหนึ่งในวิธีการพัฒนาเซลล์สมองและเสียงดนตรีจะทำให้สมองซึกขวาและซ้ายทำงานไปพร้อม ๆ กัน นั่นคือสมองซึกขวับรู้ถึงความไพเราะ ความรู้สึกผ่อนคลาย ส่วนสมองซีกซ้ายรับรู้ตัวโน้ตและจังหวะ เปรียบเสมือนการอ่านหนังสือ ที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางภาษและการใช้เหตุผล เสียงดนตรีจึงเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการพัฒนาสติปัญญา (ไอคิว)และอารมณ์ (อีคิว) ของลูกไปพร้อม ๆ กัน การฟังดนตรีจึงช่วยกระตุ้นให้การสื่อสารข้อมูลของสมองส่วนต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเชื่อมโยงและราบรื่นยิ่งขึ้น

เสียงดนตรี สื่อดี ๆ เพื่อเพิ่มไอคิวลูกน้อย ตอนที่ 1

เมื่อพูดถึง “ดนตรี” กับลูกในครรภ์ คุณแม่อาจนึกภาพความเกี่ยวข้องกันไม่ออก นักวิทยาศาสตร์เองได้ตั้งสมมุติฐานว่าเด็กในครรภ์สามารถรับรู้จังหวะของดนตรีได้หรือไม่ และได้ทำการศึกษาจนพบความจริงอันน่ามหัศจรรย์ว่า ลูกน้อยใยครรภ์สามารถรับรู้จังหวะของดนตรีได้และได้แนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์ว่าควรให้ความสำคัญกับการให้ลูกได้ฟังเสียงดนตรี เพราะจะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกอย่างมาก

สารอาหาร พัฒนาสมองลูกน้อยในครรภ์

สารอาหาร พัฒนาสมองลูกน้อยในครรภ์

ดีเอชเอ เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการ และการทำงานของสมองและจอประสาทตาของลูกในครรภ์ เนื่องจากสมองมีไขมันเป็นส่วนประกอบ 50-60% และมีดีเอชเอถึง 15-20% โดยจะเริ่มมีการสะสมดีเอชเอตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ระยะ 3 เดือนสุดท้าย จนถึงอายุ 18 เดือนหลังคลอด ซึ่งมีการสะสมดีเอชเอที่จอประสาทตาสูงสุดในช่วงสัปดาห์ที่ 36-40 ทารกในครรภ์และช่วงแรกเกิดมีความสามารถในการนำกรดไขมันโอเมก้า 3 (เป็นสารตั้งต้นของดีเอชเอ) ไปใช้ได้อย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องได้รับจากคุณแม่ผ่านทางรกและจากนมแม่แทน คุณแม่จึงต้องเลือกอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเพียงพอเพื่อลูกน้อย โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ และ 3 เดือนแรกของการให้นมลูก

ดังนั้นการที่คุณแม่รับประทานอาหารที่มีดีเอชเอ และกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 7-9) จะทำให้สมองของลูกน้อยมีการเจริญเติบโตที่ดี เพราะได้รับดีเอชเอเพียงพอต่อการสร้างเซลล์สมองนับล้าน ๆ เซลล์ ดีเอชเอ พบมากในปลาทะเล สาหร่ายทะเลบางชนิด และน้ำมันสกัดจากผลิตภัณฑ์ทางทะเล

โคลีน เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายทารก ยิ่งไปกว่านั้น โคลีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมถึงสารสื่อประสาทที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเรียนรู้และความจำ

สถาบันทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดปริมาณโคลีนที่เพียงพอสำหรับทารก เด็ก ผู้ใหญ่ และหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร นั่นคือ หญิงตั้งครรภ์ 40 มิลลิกรัม/วัน หญิงให้นมบุตร 550 มิลลิกรัม/วัน
โคลีนพบมากในไข่แดง นมถั่วเหลือง ดอกกะหล่ำ และธัญพืชต่าง ๆ

แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของทารกให้แข็งแรงช่วยให้การส่งสัญญาณของระบบประสาททำงานได้ถูกต้อง คุณแม่ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ เพื่อให้ลูกน้อยนำไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน แคลเซียม พบมากใน นม กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็ก เต้าหู้ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ผักโขม ยอดแค มะเขือพวง คึ่นฉ่าย ใบชะพลู

โฟเลต ช่วยพัฒนาเซลล์สมอง และระบบประสาทของลูกให้สมบูรณ์ ป้องกันความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง เมื่อเริ่มตั้งครรภ์คุณแม่ควรได้รับโฟเลตอย่างเพียงพอ เพราะการขาดโฟเลตอาจจะมีผลให้การสร้างระบบประสาทของทารกผิดปกติ หรือพิการได้ โฟเลต พบมากในผักใบเขียว ผลไม้ เช่น ถั่วลันเตา คะน้า ปวยเล้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี่ กล้วยน้ำว้า น้ำส้มคั้น รวมถึงข้าวซ้อมมือ ตับหมู ตับไก่ ขนมปังโฮลวีต

ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกบินในเม็ดเลือดแดง มีบทบาทในการนำพาออกวินเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ ธาตุเหล็ก พบมากในเนื้อปลา ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ใบขี้เหล็ก ใบตำลึง

โปรตีน มีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิต เป็นแหล่งสำรองพลังงานหรือพูดง่าย ๆ ว่าร่างการคนเราไม่อาจขาดโปรตีนได้เลย ซึ่งโปรตีนในแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องการโปรตีน เพื่อนำไปสร้างเนื้อเยื่อให้ลูกน้อยในครรภ์เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ โปรตีน พบมากในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ถั่วเมล็ดแห้ง นม ไข่

วิตามินต่าง ๆ เสริมสร้างร่างกายคุณแม่ให้แข็งแรง ปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายให้ทำงานประสานกันได้อย่าดี และยังมีส่วนช่วยบำรุงประสาท และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรงอีกด้วย วิตามิน พบมากในนมสด ไข่แดง ผักใบเขียว ผลไม้มีเหลือง เครื่องในสัตว์ ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ ฝรั่ง ปลา ถั่ว

นมสำหรับคุณแม่ ปัจจุบันนี้ มีผลิตภัณฑ์นมสำหรับมารดามีครรภ์ และให้นมบุตรที่เสริมสารอาหารดังกล่าวในปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งช่วยให้คุณแม่ได้รับสารอาหารอันมีคุณค่าครบถ้วนได้อย่างสะดวก ปลอดภัย เพื่อมหัศจรรย์แห่งพัฒนาการของลูกรักตั้งแต่ในครรภ์เรื่อยไปจนถึงทุกช่วงวัย

ยิ่งแก่ตัว กระดูกคอยิ่งเสื่อม

ยิ่งแก่ตัว กระดูกคอยิ่งเสื่อม

คุณเคยไหม ที่เวลาหันศีรษะแล้วมีเสียงดังกร๊อบ ๆ บริเวณต้นคอ หรือมีอาการปวดคอ อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อขยับและเคลื่อนไหวคอ ถ้ามีอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังจะเป็น “โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ตามความเสื่อมถอยของร่ายกาย และอายุ ส่วนไหนที่ถูกใช้งานมากและบ่อย ๆ ก็จะเสื่อมเร็วกว่าส่วนที่ใช้งานน้อย โดยปกตินั้นกระดูกสันหลังคอจะมีการเคลื่อนไหวมากครั้งในแต่ละชั่วโมง และยังจะต้องรับแรงกด แรงบิดและแรงตึงเครียดอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ทำให้เป็นโรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

โดยปกติแล้วคนเรานั้นคอจะเริ่มเสื่อมโดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อมีอายุระหว่าง 35-40 ปี ความสามารถของการเคลื่อนไหวบริเวณคอจะเริ่มเสียไปทีละน้อย ทำให้มีอาการปวดคอเมื่อพยายามเหลียวคอเต็มที่ และมีอาการปวดคอมาแทรกซ้อน เมื่อเราฝืนให้ข้อทำงานเกินกำลัง การแก่ตัวของข้อกระดูกคอยังอาจก่อให้เกิดกระดูกงอกตามข้อได้ ซึ่งถ้างอกได้เกินขนาด จะทำให้มีอาการปวดลงแขน มือ และนิ้วได้ ในรายที่มีกระดูกงอกมาก อาจจะมีอาการชาที่นิ้วมือ หรือแขน และทำให้แขนและมืออ่อนแรงได้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะปล่อยปละละเลยคอได้อย่างไร แก้ก่อนที่จะสาย ก่อนที่คอจะเสื่อม สร้างความทุกข์ใจให้เราตลอดชีวิต
ซึ่งการบริหารเป็นประจำ รวมทั้งการนวด หรือใช้การออกกำลังการกล้ามเนื้อ มีโอกาสช่วยให้อาการบรรเทาได้ เนื่องจากกระดูกอักเสบ อาจจะต้องการใช้การบริหาร หรือนวดบ่อยครั้ง เมื่อมีอาการกำเริบ อาจจะต้องทำกายภาพบำบัดไปด้วย ดังนี้ เมื่อทานอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ไม่ควรใช้เสื่อผ้ารัดแน่นเกินไป ไม่ควรตากแอร์ ตากลมตรง ๆ ไม่ว่าในท่าเดินหรือท่ายืน ศีรษะก็ควรจะอยู่ตั้งตรงบนลำตัว ไม่ควรก้มศีรษะลง การโน้มศีรษะลงขณะอ่านหนังสือจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอทำงานมากกว่าปกติ

หากมีอาการเกี่ยวกับการปวดคออันเนื่องมาจากข้อกระดูสันหลังคอเสื่อม หรือปวดคอจากสาเหตุอื่น ๆ สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีต่อไปครับ

ยิ่งแก่ตัว กระดูกคอยิ่งเสื่อม

คุณเคยไหม ที่เวลาหันศีรษะแล้วมีเสียงดังกร๊อบ ๆ บริเวณต้นคอ หรือมีอาการปวดคอ อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อขยับและเคลื่อนไหวคอ ถ้ามีอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังจะเป็น “โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ตามความเสื่อมถอยของร่ายกาย และอายุ ส่วนไหนที่ถูกใช้งานมากและบ่อย ๆ ก็จะเสื่อมเร็วกว่าส่วนที่ใช้งานน้อย โดยปกตินั้นกระดูกสันหลังคอจะมีการเคลื่อนไหวมากครั้งในแต่ละชั่วโมง และยังจะต้องรับแรงกด แรงบิดและแรงตึงเครียดอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ทำให้เป็นโรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

โดยปกติแล้วคนเรานั้นคอจะเริ่มเสื่อมโดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อมีอายุระหว่าง 35-40 ปี ความสามารถของการเคลื่อนไหวบริเวณคอจะเริ่มเสียไปทีละน้อย ทำให้มีอาการปวดคอเมื่อพยายามเหลียวคอเต็มที่ และมีอาการปวดคอมาแทรกซ้อน เมื่อเราฝืนให้ข้อทำงานเกินกำลัง การแก่ตัวของข้อกระดูกคอยังอาจก่อให้เกิดกระดูกงอกตามข้อได้ ซึ่งถ้างอกได้เกินขนาด จะทำให้มีอาการปวดลงแขน มือ และนิ้วได้ ในรายที่มีกระดูกงอกมาก อาจจะมีอาการชาที่นิ้วมือ หรือแขน และทำให้แขนและมืออ่อนแรงได้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะปล่อยปละละเลยคอได้อย่างไร แก้ก่อนที่จะสาย ก่อนที่คอจะเสื่อม สร้างความทุกข์ใจให้เราตลอดชีวิต
ซึ่งการบริหารเป็นประจำ รวมทั้งการนวด หรือใช้การออกกำลังการกล้ามเนื้อ มีโอกาสช่วยให้อาการบรรเทาได้ เนื่องจากกระดูกอักเสบ อาจจะต้องการใช้การบริหาร หรือนวดบ่อยครั้ง เมื่อมีอาการกำเริบ อาจจะต้องทำกายภาพบำบัดไปด้วย ดังนี้ เมื่อทานอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ไม่ควรใช้เสื่อผ้ารัดแน่นเกินไป ไม่ควรตากแอร์ ตากลมตรง ๆ ไม่ว่าในท่าเดินหรือท่ายืน ศีรษะก็ควรจะอยู่ตั้งตรงบนลำตัว ไม่ควรก้มศีรษะลง การโน้มศีรษะลงขณะอ่านหนังสือจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอทำงานมากกว่าปกติ

หากมีอาการเกี่ยวกับการปวดคออันเนื่องมาจากข้อกระดูสันหลังคอเสื่อม หรือปวดคอจากสาเหตุอื่น ๆ สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีต่อไปครับ

ยิ่งแก่ตัว กระดูกคอยิ่งเสื่อม

คุณเคยไหม ที่เวลาหันศีรษะแล้วมีเสียงดังกร๊อบ ๆ บริเวณต้นคอ หรือมีอาการปวดคอ อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อขยับและเคลื่อนไหวคอ ถ้ามีอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังจะเป็น “โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ตามความเสื่อมถอยของร่ายกาย และอายุ ส่วนไหนที่ถูกใช้งานมากและบ่อย ๆ ก็จะเสื่อมเร็วกว่าส่วนที่ใช้งานน้อย โดยปกตินั้นกระดูกสันหลังคอจะมีการเคลื่อนไหวมากครั้งในแต่ละชั่วโมง และยังจะต้องรับแรงกด แรงบิดและแรงตึงเครียดอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ทำให้เป็นโรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

โดยปกติแล้วคนเรานั้นคอจะเริ่มเสื่อมโดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อมีอายุระหว่าง 35-40 ปี ความสามารถของการเคลื่อนไหวบริเวณคอจะเริ่มเสียไปทีละน้อย ทำให้มีอาการปวดคอเมื่อพยายามเหลียวคอเต็มที่ และมีอาการปวดคอมาแทรกซ้อน เมื่อเราฝืนให้ข้อทำงานเกินกำลัง การแก่ตัวของข้อกระดูกคอยังอาจก่อให้เกิดกระดูกงอกตามข้อได้ ซึ่งถ้างอกได้เกินขนาด จะทำให้มีอาการปวดลงแขน มือ และนิ้วได้ ในรายที่มีกระดูกงอกมาก อาจจะมีอาการชาที่นิ้วมือ หรือแขน และทำให้แขนและมืออ่อนแรงได้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะปล่อยปละละเลยคอได้อย่างไร แก้ก่อนที่จะสาย ก่อนที่คอจะเสื่อม สร้างความทุกข์ใจให้เราตลอดชีวิต
ซึ่งการบริหารเป็นประจำ รวมทั้งการนวด หรือใช้การออกกำลังการกล้ามเนื้อ มีโอกาสช่วยให้อาการบรรเทาได้ เนื่องจากกระดูกอักเสบ อาจจะต้องการใช้การบริหาร หรือนวดบ่อยครั้ง เมื่อมีอาการกำเริบ อาจจะต้องทำกายภาพบำบัดไปด้วย ดังนี้ เมื่อทานอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ไม่ควรใช้เสื่อผ้ารัดแน่นเกินไป ไม่ควรตากแอร์ ตากลมตรง ๆ ไม่ว่าในท่าเดินหรือท่ายืน ศีรษะก็ควรจะอยู่ตั้งตรงบนลำตัว ไม่ควรก้มศีรษะลง การโน้มศีรษะลงขณะอ่านหนังสือจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอทำงานมากกว่าปกติ

หากมีอาการเกี่ยวกับการปวดคออันเนื่องมาจากข้อกระดูสันหลังคอเสื่อม หรือปวดคอจากสาเหตุอื่น ๆ สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีต่อไปครับ

เล่นดี สมองดี มีศักยภาพ


เด็กรู้จักการเล่นตั้งแต่เล็ก และพัฒนาการเล่นมากขึ้นตั้งแต่ตื่นจนหลับ การเล่นจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสอย่างต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำให้เซลล์สมองเชื่อมประสานกันมากขึ้น เยื่อหุ้มใยประสาทหนามากขึ้น เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการและการเพิ่มศักยภาพ การเล่นของเด็กเป็นการใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และสร้างเสริมประสบการณ์ และช่วยพัฒนาสมองของเขา
สำหรับลูกวัยแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่อาจกังวลว่า ทารกตัวเล็ก ๆ ยังเปราะบางจะสามารถเล่นกับลูกได้แล้วหรือ ลูกไม่น่าจะรู้เรื่องการเล่นมากไปกว่าการกินหรือการนอน ความจริงแล้ว ถึงแม้ชีวิต 2 เดือนแรกของทารกส่วนใหญ่จะหมดไปกับการนอนหลับ 50-75% ก็ไม่ได้หมายความว่าทารกจะรู้จักเพียงการกินและการนอน แต่ทารกยังมีช่วงตื่นตัวและพร้อมจะรีเยนรู้นั่นก็คือในช่วง 5-10 นาทีก่อนหรือหลังเวลาให้นมช่วงเช้า กลางวัน และเย็น เพราะเป็นช่วงที่เขาอยู่ในภาวะผ่อนคลายและตื่นตัวต่อการเรียนรู้มากที่สุด

หนูเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส
เด็กวัยแรกเกิด-6 เดือน ยังพูดไม่ได้ แต่เขาจะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส พบว่าเด็กที่ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสทุกส่วน จะมีพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้น โดยสามารถช่วยเพิ่ม IQ ให้เด็กได้ถึง 15 จุด เพราะช่วงอายุ 0-3 เดือน สมองของเด็กกำลังพัฒนาสร้างใยประสาทจำนวนมหาศาล ยิ่งมีใยประสาทมาก ยิ่งมีความฉลาด ถ้าไม่มีการกระตุ้นประสาทสัมผัสทุก ๆ ส่วน ประสาทก็ไม่มีข้อมูล พอเด็กโตขึ้นเรื่อย ๆ ใยประสาทก็จะค่อย ๆ สลายตัว เพราะสมองมีใยประสาทน้อย สติปัญญาก็จะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

เล่น พัฒนาประสาทสัมผัสลูกวัยแรกเกิด – 6 เดือน

ตา (การมองเห็น)
ในบรรดาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ประสาทตาจะเป็นส่วนที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ที่สุด ทารกแรกเกิดสามารถมองเห็นได้ในระยะใกล้ ๆ เพียง 10-13 นิ้วและยังมองเห็นสีต่าง ๆ ไม่ชัดเจน จากการวิจัยของ Dr.Robert Fantz จากมหาวิทยาลัย Cleveland รัฐโอไฮโอ พบว่าทารกแรกเกิดเลือกที่จะมองภาพรูปทรงเรขาคณิต สีดำ-ขาวมากกว่าสีอื่น ๆ สีดำ-ขาว เป็นสีที่มีความเข้มแตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงช่วยกระตุ้นการมองเห็นของเด็กให้เกิดความสนใจอย่างมีจุดหมาย พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมให้เด็กทารกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งรอบตัวมากขึ้นในวัยต่อ ๆ มา อายุ 6 เดือน การประสานงานของตาสองข้างจะดีขึ้น ประกอบกับกล้ามเนื้อมือก็เริ่มพัฒนา ลูกจะมองและหยิบจับของได้ดีขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ลูกจะมองเห็นแต่คว้าของได้ไม่แม่น เพราะสายตายังไม่ดี กล้ามเนื้อก็ยังควบคุมไม่ได้ หลัง 6 เดือน ลูกจะมองเห็นได้ชัดขึ้นและไกลขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่ง 3 ขวบขึ้นไป ลูกจะพัฒนาการมองเห็นได้เหมือนผู้ใหญ่
เล่น กระตุ้นการมองเห็นของลูก นำแผ่นกระตุ้นสายตาที่มีสีขาว-ดำ-แดง หรือโมบายมาห้อยให้ลูกดู เล่นโบกมือให้ลูกมองตาม ยื่นหน้าเข้ามาพูดคุย ยิ้ม หยอกล้อลูก ไม่ควรปล่อยให้เขานอนเฉย ๆ อยู่ทั้งวัน

หู (การได้ยิน)
เมื่อคลอดออกมาลูกจะได้ยินเสียงแล้ว เพียงแต่ยังหาต้นตอของเสียงไม่ได้ กระทั่ง 3 เดือน จึงจะเริ่มหาที่มาของเสียงได้ แต่ก็ยังหันหาเสียงไม่ได้ เพราะคอยังไม่แข็ง อายุ 6 เดือนลูกเริ่มมองหาต้นตอของเสียงที่มาจากด้านข้างได้ คอของลูกที่เริ่มแข็งจะช่วยให้เขาเหลียวมองหาเสียงได้ แต่ก็ยังหันหาเสียงจากด้านบนและล่างไม่ได้ อายุ 9 เดือน ลูกถึงจะเริ่มหันหาเสียงได้ทุกทิศทาง และเริ่มพัฒนาความชัดเจนในการได้ยินอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาภาษาต่อไป
เล่น กระตุ้นการได้ยินของลูก พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ร้องเพลงกล่อมเขาบ้าง เปิดเพลงให้ฟังบ้าง หรือลองหาของเล่นที่ส่งเสียง กรุ๋งกริ๋งให้เขาฟัง ขณะเดียวกันก็ให้เขานอนในห้องเงียบ ๆ บ้าง เพื่อหัดให้แยกแยะความแตกต่างระหว่างการมีเสียงและความเงียบ แต่อย่าให้ขังเสียงอึกทึกครึกโครมการเปิดทีวี วิทยุ ตลอดเวลา หรือสร้างบรรยากาศให้มีหลายเสียงพร้อม ๆ กัน ไม่ใช่พัฒนาการได้ยินที่ถูกต้อง

มือ (สัมผัส)
ตั้งแต่แรกเกิด ลูกเรียนรู้การสัมผัสได้ในชีวิตประจำวันของเขา ไม่ว่าจะเป็นการโอบกอดจากพ่อแม่ การลูบเนื้อตัว การอาบน้ำ ถูสบู่  อายุ 2-3 เดือน เขาเริ่มสนุกกับการใช้มือคว้าของ แต่ก็คว้าไม่แม่นนัก เพราะมือกับตายังไม่ทำงานประสานกัน 4-5 เดือน ลูกเริ่มคว้าของได้แล้ว และจับได้มั่นคงขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 6
เล่น กระตุ้นการสัมผัสของลูก 3 เดือนแรกลูกอาจจะกำมืออยู่ตลอดเวลา เมื่ออารมณ์ดี ๆ แกะมือเขาออกแล้ววางวัสดุที่มีพื้นผิวแตกต่างกันไปเรื่อย ๆ เช่น นุ่มบ้าง แข็งบ้าง ใส่ไว้ในฝ่ามือลูก เขาจะได้เรียนรู้ผิวสัมผัสของวัสดุต่าง ๆ หรือหมั่นเปลี่ยนท่านอนให้ลูกบ้าง จะช่วยให้ลูกได้รับผิวสัมผัสที่แตกต่างออกไป

จมูก (กลิ่น)
เคยมีงานวิจัยทารกแรกเกิด โดยใช้ผ้า 2 ผืน ผืนหนึ่งชุบน้ำนมของแม่ตนเอง อีกผืนหนึ่งชุบน้ำนมของแม่เด็กอื่น แล้วยื่นผ้าทั้งสองผืนมาใกล้ ๆ เด็กทารก ปรากฏว่าเด็กหันหน้าไปทางผ้าที่ชุบน้ำนมแม่ตัวเอง แม้จะยื่นผ้าสลับข้างกันเด็กก็ยังหันไปทางผ้าที่ชุบน้ำนมแม่ตัวเอง แสดงให้เห็นว่าเด็กสามารถรับรู้กลิ่นได้ตั้งแต่แรกเกิด และกลิ่นที่ดึงดูดและกระตุ้นประสาทสัมผัสลูกแรกเกิดได้มาก คือกลิ่นของแม่นี่เอง
เล่น กระตุ้นการรับกลิ่นของลูก นอกจากกลิ่นกายแม่ ซึ่งลูกได้จากการที่แม่สัมผัส โอบกอด หอมลูก คุณแม่สามารถให้เขาได้ดมกลิ่นต่าง ๆ รอบตัวที่เขาสัมผัสเป็นประจำ เช่น กลิ่นแป้ง กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ ฯลฯ เพื่อพัฒนาการรับกลิ่นของเขา

ลิ้น (รส)
การรับรสของลูกก็เหมือนกับประสาทสัมผัสชนิดอื่น คือมีพัฒนาการไปตามวัย แต่ละตำแหน่งของลิ้นจะรับรสที่หลากหลายแตกต่างกันไป ปุ่มรับรสหวานอยู่ที่ตรงกลางของลิ้น ส่วนรสขมอยู่โคนลิ้น รสเค็มอยู่ด้านข้างของลิ้น
เล่น กระตุ้นการรับรสของลูก นอกจาน้ำนมของแม่ เอถึงวัยลูกกินอาหารเสริมได้ การให้ลูกกินอาหารที่หลากหลาย เหมาะสมตามวัยของเขา จะช่วยกระตุ้นการรับรสของลูกได้แล้ว

การแสดงความรักต่อลูกไม่ว่าจะเป็นการอุ้ม การสัมผัส การโอบกอด จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันของเซลล์สมองเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น การเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การแสดงออกทางอารมณ์ ระบบต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องได้รับการกระตุ้นจากประสบการณ์ที่เข้ามาในสมองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในสมองพัฒนา มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานไปจนตลอดชีวิตของเด็ก หากไม่มีการกระตุ้นที่เหมาะสม เด็กจะขาดพัฒนาการด้านนั้น จะทำให้เครือข่ายเส้นใยสมองที่ควรจะมีไม่เกิดขึ้น


รู้จักระบบประสาทสัมผัสของลูกน้อยในครรภ์


คุณแม่จะเล่นกับลูกได้ดี หากรู้ว่าระบบประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของลูกน้อยในครรภ์พัฒนาไปอย่างไร โดยระบบประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของลูกน้อยในครรภ์จะเกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน

เริ่มรู้สึกถึงการสัมผัสแล้ว
ในสัปดาห์ที่ 8 ลูกในครรภ์เริ่มรู้สึกและรับรู้ถึงการสัมผัสแล้ว ในระยะแรกที่น้ำหนักตัวยังน้อย ทารกสามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้สะดวก แต่เมื่อน้ำหนักตัวมากขึ้น ทารกจะจมลงสู่ฐานของมดลูกของแม่ เกิดการสัมผัสระหว่างผิวหนังของทารกกับผิวด้านในของมดลูก ซึ่งเป็นการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสรับความรู้สึก เสริมสร้างให้เกิดใยประสาทของการรับความรู้สึกมากขึ้น นอกจานี้ การเคลื่อนไหวของน้ำคร่ำในมดลูก และรอบ ๆ ตัวทารก เปรียบเสมือนแม่ที่คอยลูบไล้ตัวลูก ช่วยพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึก อีกทั้งขณะที่แม่เคลื่อนไหว ทารกในครรภ์จะเอนตัวไปตามจังหวะการเคลื่อนไหวนั้น ผิวหนังของทารกจะได้รับการสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูกตลอดเวลา ทำให้ระบบประสาทส่วนนี้พัฒนาได้ดี

รับรู้เสียง เป็นลำดับต่อมา
ระบบประสาทรับสัมผัสที่เกิดขึ้นต่อมาจากผิวหนังก็คือ หู ซึ่งจะเริ่มสร้างขึ้นตอน 18 สัปดาห์ แต่จะสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อถึงช่วง 24-26 สัปดาห์ ทำให้ลูกในครรภ์รับรู้เสียงได้แล้ว แต่เสียงที่เด็กได้ยินไม่ใช่เสียงที่ชัดเจนเหมือนที่เราได้ยิน เด็กได้ยินเสียงเหมือนเราได้ยินเสียงในน้ำ คือเสียงจะค่อนข้างอื้อ ๆ ก้อง ๆ
เสียงการเต้นของหัวใจแม่ เสียงการบีบตัวของลำไส้ เสียงการเคลื่อนไหวของกระแสโลหิตที่อยู่รอบตัวทารก ช่วยส่งเสริมพัฒนาการระบบการได้ยิน โดยเฉพาะการเต้นของหัวใจแม่ การวิจัยพบว่าแม่ที่อุ้มลูกโดยให้ศีรษะอยู่ทางซ้ายมือนั้น ลูกจะไม่ค่อยร้องกวนและเลี้ยงง่ายกว่าการอุ้มโดยให้ศีรษะอยู่ทางขวามือ ทั้งนี้เพราะหัวใจแม่อยู่ทางซ้าย ลูกจะได้ยินเสียงเต้นจองหัวใจชัดเจนกว่าจึงรู้สึกอบอุ่น และหลับง่าย
เสียงที่ทารกในครรภ์ได้ยินอีกเสียง ก็คือเสียงของคุณแม่เอง ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากกล่องเสียงที่คอ เวลาเราเปล่งเสียง เสียงก็เดินทางผ่านอากาศออกไปสู่ภายนอก แต่โดยธรรมชาติแล้วเสียงจะเดินทางผ่านของแข็งได้ดีกว่าอากาศ เสียงจึงเดินทางผ่านลำตัวของคุณแม่ไปสู่ลูกได้ ลูกในครรภ์จึงสามารถได้ยินเสียงพูดของคุณแม่ได้ แม้ไม่ใช้เครื่องมือช่วยใด ๆ คุณแม่ควรพูดคุยกับลูกในครรภ์บ้างหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง แม้ว่าลูกจะฟังไม่รู้เรื่องหรือได้ยินเสียงของคุณแม่ไม่ชัดนัก เพราะลูกแช่อยู่ในน้ำ แต่ลูกก็สามารถจดจำโทนเสียง ลักษณะเสียงของคุณแม่ได้เป็นอย่างดี หลังจากคลอดแล้วลูกก็ยังสามารถจดจำเสียงจองคุณแม่ได้ทันที

การมองเห็นของเจ้าตัวเล็กในครรภ์
ทารกจะเริ่มลืมตามองเห็นผนังภายในมดลูกเมื่ออายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ ช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ ผนังมดลูกจะเริ่มบางลง ทำให้แสงสว่างผ่านเข้าสู่ภาใยมดลูกได้ จึงเกิดการกระตุ้นระบบการมองเห็นที่ดีได้ แต่ภาพที่ทารกเห็นก็ยังไม่ชัดเจน โดยเห็นภาพเป็นสีแดง เหมือนเราหลับตาสู้แสงก็จะเห็นแสงทะลุเปลือกตาเข้ามาเป็นสีแดง เมื่อลูกอยู่ภายในมดลูก ก็จะเห็นเหมือนเราแช่อยู่ในถังน้ำทรงกลมใบใหญ่ เมื่อมีแสงจ้าภายนอกทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวก็จะกลายเป็นสีแดงไปหมด
เด็กในท้องไม่ชอบแสงจ้ามาก ๆ หรือแสงไฟกระพริบ ลูกมักจะดิ้นมาก พยายามหนีแสงเหล่านี้ แม่ตั้งครรภ์จึงไม่ควรตากแดดจ้า ๆ

กลืนน้ำคร่ำเพื่อรับรู้รส
การกลืนเป็นการกระตุ้นให้มีการพัฒนาของขากรรไกรและกล้ามเนื้อบริเวณแก้ม ขณะเดียวกันก็เป็นการกระตุ้นให้ปุ่มรับรสในลิ้นเกิดการพัฒนาด้วย สำหรับการดูดนิ้วซึ่งทารกมักทอยู่ตลอดเวลา เป็นการกระตุ้นประสาทการรับรส ทั้งยังเป็นพัฒนาการที่ผสมผสานระหว่างการมองและการรับรส รวมทั้งการเคลื่อนไหวของมือเข้าด้วยกัน

รับรู้อารมณ์แม่
ความรู้สึกอีกอย่างที่ดูเหมือนเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่ลูกสามารถรู้สึกได้ นั่นก็คือ “อารมณ์ของคุณแม่” หากคุณแม่อารมณ์ดี มีความสุข ลูกก็มีความสุขด้วย ถ้าแม่เครียด ลูกก็เครียดด้วย แม่ซึ่งเปรียบเสมือนโลกใบเล็กของลูก เป็นสิ่งแวดล้อม เป็นทุกอย่างของลูก เมื่อแม่มีความสุขสมองของแม่ก็หลั่งฮอร์โมนเอ็นเดอร์ฟินออกมาทั่วร่างกาย แล้วก็ส่งผ่านไปสู่ลูกในครรภ์ด้วย ทำให้ลูกรู้สึกดีตามไปด้วย หากคุณแม่โกรธฉุนเฉียวร่างกายของคุณแม่ก็จะหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายทุกส่วนตึงเครียดรวมทั้งลูกในครรภ์ด้วย

ความรู้สึกที่ลูกในครรภ์ควรได้รับจากแม่ จึงควรเป็นความรู้สึกที่ดี แค่คุณแม่นั่งหลับตาคิดถึงแต่สิ่งที่ดี ๆ ก็ทำให้ลูกในครรภ์รู้สึกเป็นสุขได้

พัฒนาการทางสมองของลูกน้อยในครรภ์

เดือนที่ 1-2
หลังปฏิสนธิได้ประมาณ 18 วัน เซลล์ที่เกิดจากไข่กับสเปิร์มผสมกัน และแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งจะเจริญเติบโตเป็นสมอง เริ่มมีรูปร่างที่มองเห็นได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อสมอง โดยแรกเริ่มเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วค่อย ๆ โค้งเข้ามาบรรจบกันเป็นท่อเหมือนหลอดกาแฟ ต่อมาหลอดนี้จะเริ่มโป่งพองจัดโครงสร้างเป็นสมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลัง

เดือนที่ 2-3
ระยะนี้ เซลล์สมองจะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ประมาณนาทีละ 250,000 เซลล์ และแยกรูปแบบเป็นสมองกับไขสันหลังอย่างชัดเจน เซลล์สมองเริ่มมีการเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของสมองเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ และเริ่มมีเส้นใยประสาทยื่นออกมาติดต่อถึงกัน อาศัยปฏิกิริยาของสารเคมีจากเซลล์สมอง ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าวิ่งไปมาระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เกิดวงจรประสาท มีการรับส่งข้อมูลขึ้นในสมอง นี่หมายความว่าสมองของลูกเริ่มทำงานแล้ว

เดือนที่ 3-4
ช่วงนี้สมองของลูกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วแขก เส้นใยประสาทเริ่มมีไขมันหรือมันสมองมาล้อมรอบเช่นเดียวกับฉนวนสายไฟ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าวิ่งไปมาระหว่างเซลล์สมองได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การสื่อสารรับส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

เดือนที่ 5-6
เซลล์สมองส่วนใหญ่พัฒนาตัวเองอย่างสมบูรณ์ และเริ่มมีการจัดระดับตัวเองที่พื้นผิวสมองเป็นชั้น ๆ ตามโครงสร้างแต่ละส่วนของสมองทำให้ระบบประสาทเริ่มสมบูรณ์

เดือนที่ 6-7
สมองของลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แต่พื้นผิวสมองยังคงราบเรียบ ไม่มีรอยหยัก มีการสร้างไขมันมากขึ้น จำนวนเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับเส้นใยสมอง และจุดเชื่อมต่อ

เดือนที่ 7-9
ระยะนี้สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบประสาทส่วนกลางของทารกพัฒนาไปอย่างมาก เส้นประสาทมีการสร้างเยื่อหุ้มที่มาจากไขมัน ทำให้การส่งผ่านสัญญาณในเส้นประสาททำได้รวดเร็วขึ้น มีการแผ่กิ่งก้านสาขา เพื่อเชื่อมต่อกันเป็นร่างแหของระบบประสาท เซลล์สมองทารกขยายขนาดโตขึ้น  มีการแผ่นขยายสร้างโยงใยของระบบประสาทมากขึ้น สมองมีหยักตัวเป็นร่องเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเก็บสะสมข้อมูล ยิ่งเซลล์สมองมีขนาดใหญ่ มีเส้นใยมาก มีการเชื่อมโยงประสานของเส้นใยมาก มีร่องสมองมาก ก็ยิ่งจะทำให้มีความจำ มีการเรียนรู้และการรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บทความสุขภาพที่เีกี่ยวข้อง