สารอาหาร พัฒนาสมองลูกน้อยในครรภ์

สารอาหาร พัฒนาสมองลูกน้อยในครรภ์

ดีเอชเอ เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการ และการทำงานของสมองและจอประสาทตาของลูกในครรภ์ เนื่องจากสมองมีไขมันเป็นส่วนประกอบ 50-60% และมีดีเอชเอถึง 15-20% โดยจะเริ่มมีการสะสมดีเอชเอตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ระยะ 3 เดือนสุดท้าย จนถึงอายุ 18 เดือนหลังคลอด ซึ่งมีการสะสมดีเอชเอที่จอประสาทตาสูงสุดในช่วงสัปดาห์ที่ 36-40 ทารกในครรภ์และช่วงแรกเกิดมีความสามารถในการนำกรดไขมันโอเมก้า 3 (เป็นสารตั้งต้นของดีเอชเอ) ไปใช้ได้อย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องได้รับจากคุณแม่ผ่านทางรกและจากนมแม่แทน คุณแม่จึงต้องเลือกอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเพียงพอเพื่อลูกน้อย โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ และ 3 เดือนแรกของการให้นมลูก

ดังนั้นการที่คุณแม่รับประทานอาหารที่มีดีเอชเอ และกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 7-9) จะทำให้สมองของลูกน้อยมีการเจริญเติบโตที่ดี เพราะได้รับดีเอชเอเพียงพอต่อการสร้างเซลล์สมองนับล้าน ๆ เซลล์ ดีเอชเอ พบมากในปลาทะเล สาหร่ายทะเลบางชนิด และน้ำมันสกัดจากผลิตภัณฑ์ทางทะเล

โคลีน เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายทารก ยิ่งไปกว่านั้น โคลีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมถึงสารสื่อประสาทที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเรียนรู้และความจำ

สถาบันทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดปริมาณโคลีนที่เพียงพอสำหรับทารก เด็ก ผู้ใหญ่ และหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร นั่นคือ หญิงตั้งครรภ์ 40 มิลลิกรัม/วัน หญิงให้นมบุตร 550 มิลลิกรัม/วัน
โคลีนพบมากในไข่แดง นมถั่วเหลือง ดอกกะหล่ำ และธัญพืชต่าง ๆ

แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของทารกให้แข็งแรงช่วยให้การส่งสัญญาณของระบบประสาททำงานได้ถูกต้อง คุณแม่ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ เพื่อให้ลูกน้อยนำไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน แคลเซียม พบมากใน นม กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็ก เต้าหู้ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ผักโขม ยอดแค มะเขือพวง คึ่นฉ่าย ใบชะพลู

โฟเลต ช่วยพัฒนาเซลล์สมอง และระบบประสาทของลูกให้สมบูรณ์ ป้องกันความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง เมื่อเริ่มตั้งครรภ์คุณแม่ควรได้รับโฟเลตอย่างเพียงพอ เพราะการขาดโฟเลตอาจจะมีผลให้การสร้างระบบประสาทของทารกผิดปกติ หรือพิการได้ โฟเลต พบมากในผักใบเขียว ผลไม้ เช่น ถั่วลันเตา คะน้า ปวยเล้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี่ กล้วยน้ำว้า น้ำส้มคั้น รวมถึงข้าวซ้อมมือ ตับหมู ตับไก่ ขนมปังโฮลวีต

ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกบินในเม็ดเลือดแดง มีบทบาทในการนำพาออกวินเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ ธาตุเหล็ก พบมากในเนื้อปลา ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ใบขี้เหล็ก ใบตำลึง

โปรตีน มีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิต เป็นแหล่งสำรองพลังงานหรือพูดง่าย ๆ ว่าร่างการคนเราไม่อาจขาดโปรตีนได้เลย ซึ่งโปรตีนในแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องการโปรตีน เพื่อนำไปสร้างเนื้อเยื่อให้ลูกน้อยในครรภ์เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ โปรตีน พบมากในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ถั่วเมล็ดแห้ง นม ไข่

วิตามินต่าง ๆ เสริมสร้างร่างกายคุณแม่ให้แข็งแรง ปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายให้ทำงานประสานกันได้อย่าดี และยังมีส่วนช่วยบำรุงประสาท และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรงอีกด้วย วิตามิน พบมากในนมสด ไข่แดง ผักใบเขียว ผลไม้มีเหลือง เครื่องในสัตว์ ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ ฝรั่ง ปลา ถั่ว

นมสำหรับคุณแม่ ปัจจุบันนี้ มีผลิตภัณฑ์นมสำหรับมารดามีครรภ์ และให้นมบุตรที่เสริมสารอาหารดังกล่าวในปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งช่วยให้คุณแม่ได้รับสารอาหารอันมีคุณค่าครบถ้วนได้อย่างสะดวก ปลอดภัย เพื่อมหัศจรรย์แห่งพัฒนาการของลูกรักตั้งแต่ในครรภ์เรื่อยไปจนถึงทุกช่วงวัย

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

บทความสุขภาพที่เีกี่ยวข้อง