การคลอดลูกโดยการผ่าตัดคลอด

การผ่าตัดคลอด ในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มีความพอใจกับการทำผ่าตัดคลอดมากกว่าการคลอดตามธรรมชาติ จากการไม่เจ็บปวดขณะคลอด กำหนดเวลาคลอดที่แน่นอนได้ นอกจากนี้การที่เทคในโลยีทางการแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นและทำได้ง่ายขึ้น วันนี้เราจะมาบอกวิธีการผ่าคลอดมาให้ทราบกันค่ะ

การผ่าตัดคลอดคืออะไรและทำไมต้องใช้วิธีนี้
เมื่อแพทย์มีความเห็นว่า การคลอด ด้วยวิธีการปกติจะทำให้คุณแม่หรือลูกน้อยมีความเสี่ยงมากเกินไป แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดคลอด ทั้งนี้สาเหตุที่แพทย์แนะนำให้ใช้วิธี การผ่าตัดคลอด อาจสืบเนื่องมาจาก
1. ภาวะรกเกาะต่ำ เมื่อรกเกาะต่ำหรือขวางทางออกของลูกน้อย
2. คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
3. ลูกน้อยตัวใหญ่เกินกว่าที่จะคลอดผ่านกระดูกเชิงกราน
4. คุณแม่มีความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงหรือมีความเจ็บป่วยอื่น เช่น ครรภ์เป็นพิษ
5. สุขภาพของลูกน้อยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องนำเด็กออกจากครรภ์โดยเร็ว
6. ลูกน้อยเอาก้นลง
7. มีภาวะสายสะดือย้อย คือเมื่อสายสะดือพลัดต่ำ ทำให้ไม่สามารถคลอดลูกน้อยออกมาได้โดยง่าย คุณแม่เป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศ ซึ่งสามารถติดต่อสู่ลูกน้อยผ่าน การคลอด ทางช่องคลอด
ขั้นตอนที่เกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัดคลอด
การผ่าตัดคลอด
การผ่าตัดคลอด
ขั้นตอนใน การผ่าตัดคลอด จะเริ่มจากพูดคุยกับวิสัญญีแพทย์ ซึ่งจะซักประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัว รวมทั้งตอบคำถามต่างๆ ที่คุณแม่สงสัย แพทย์จะเจาะตัวอย่างเลือดและให้คุณลงชื่อในหนังสือแสดงความยินยอม แพทย์จะให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลางและต่อสายน้ำเกลือเข้าหลอดเลือดดำที่แขน เพื่อที่แพทย์จะสามารถสังเกตระดับสารน้ำในร่างกาย และให้ยาแก้ปวดเพิ่มเติมได้ถ้าคุณแม่ต้องการ
การเตรียมการสำหรับการผ่าตัดคลอด
หลังจากนั้นวิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ (การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังหรือการฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง) และ ​ ใส่ ​ สายสวนไว้ ​ ใน ​ กระ ​ เพาะปัสสาวะ ​ เพื่อระบายปัสสาวะ (ซึ่งจะทิ้งไว้ประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด) ​ อาจต้องโกนขนบริ ​ เวณหัวหน่าวเพื่อเตรียมรับการผ่าตัด
การผ่าตัดคลอดทำอย่างไร
เมื่อยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จะเริ่มลงมือผ่าตัดด้วยการผ่าเปิดหน้าท้องเพื่อให้สามารถมองเห็นลูกน้อยที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ และนำลูกน้อยออกจากถุงน้ำคร่ำสู่อ้อมอกของคุณแม่ การผ่าตัดจะเสร็จสิ้นลงอย่างรวดเร็วโดยที่คุณแม่จะรู้สึกถึงแรงกดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
หากคุณไม่ได้รับการดมยาสลบหรือไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อนขณะคลอดสามารถอยู่กับคุณแม่ได้ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้นการผ่าตัด
ขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากลูกน้อยลืมตาดูโลก
แพทย์จะนำทารกไปไว้ใน “ตู้อบ” ซึ่งเป็นเตียงที่อบอุ่นขนาดเล็ก เพื่อให้กุมารแพทย์ทำการตรวจร่างกายลูก เมื่อกุมารแพทย์พบว่าลูกของคุณแม่มีสุขภาพแข็งแรง แพทย์จะห่อตัวลูกด้วยผ้าห่มและส่งให้คุณแม่หรือคุณพ่ออุ้ม เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่มีสุขภาพแข็งแรงดี และคุณแม่จะมีโอกาสได้อุ้มลูกสักพักหลังจากที่ลูกลืมตาดูโลก
เมื่อนำรกออกจากครรภ์จนหมดแล้ว ศัลยแพทย์จะเย็บปิดมดลูกและหน้าท้องของคุณแม่ด้วยรอยเย็บที่ปราณีต ขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาคุณแม่กลับไปยังหอผู้ป่วยสูติกรรม ซึ่งสูติแพทย์จะช่วยสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้แก่คุณ
การฟื้นตัวจากการผ่าตัดคลอด
โดยส่วนใหญ่ คุณแม่จะฟื้นตัวได้ภายใน 24 ชั่วโมง และออกจากโรงพยาบาลได้ภายใน 5 วัน แต่ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์เพื่อให้รอยแผลจากการผ่าตัดคลอดหายดี ดังนั้น คุณแม่จะต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้านเพื่อที่จะได้พักผ่อนและใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยได้อย่างเต็มที่
จำไว้ว่า ถึงแม้ว่าครั้งนี้คุณแม่จะคลอดลูกด้วย การผ่าตัดคลอด ก็ตาม แต่ในการคลอดลูกครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องใช้ การผ่าตัดคลอด อีกเสมอไป ประมาณร้อยละ 70 ของผู้หญิงที่เคยคลอดลูกด้วยการผ่าตัดคลอด สามารถคลอดปกติได้สำเร็จ
หากคุณแม่รู้สึกเจ็บตึงบริเวณแผลผ่าตัดมาก หรือสงสัยว่าอาจมีการอักเสบหรือติดเชื้อ ควรรีบไปพบสูติแพทย์ทันทีค่ะ

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

บทความสุขภาพที่เีกี่ยวข้อง