เตือนคุณแม่อุ้มท้องรับมืออาการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์

คนทั่วไปอาจจะมีอาการปวดหลัง หรือเมื่อยบ้างเมื่อใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไปหรือใช้ไม่เหมาะสม เช่น การยกของหนัก การยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน  แต่เมื่อเริ่มตั้งครรภ์นั้นอาการปวดหลังจะเป็นมากขึ้นและหนักขึ้นตามอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ยิ่งใกล้คลอดเท่าไรอาการปวดหลังก็จะเป็นได้บ่อยขึ้น เราจะเตรียมรับมือป้องกันและลดอาการปวดหลังในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ได้อย่าง วันนี้เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน

เนื่องจากเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น น้ำหนักของครรภ์จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย และด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้เองจึงทำให้กล้ามเนื้อหมอนรองกระดูกและเส้นเอ็นต่าง ๆ ต้องทำงานหนักกว่าปกติ ยิ่งหากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นมีพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อส่วนหลังที่ผิดก็ยิ่งทำให้ต้องปวดหลังมากขึ้นไปอีก และพฤติกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อส่วนหลังทำงานหนักกว่าปกติ คือการยกของหนักในช่วงที่ตั้งครรภ์ เพราะการยกของจะเป็นการเกร็งกล้ามเนื้อช่วงตัวและส่วนหลัง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนี้ทำงานหนัก ซึ่งปกติทำงานหนักอยู่แล้วเพราะมีน้ำหนักครรภ์ที่มาก การยกของหนักในช่วงตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง และการเดินหรือนั่งหรือยืนนาน ๆ ในสภาพที่หลังงอ ซึ่งหากมีการฝึกบุคลิกภาพให้เป็นคนนั่งหลังตรง เดินไม่หลังงอ ก็จะช่วยลดการปวดหลังไปได้มาก ซึ่งโดยปกติแล้ว คนที่อุ้มท้องอยู่มักจะเดินหลังงอ เนื่องจากอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้รับน้ำหนักไม่ไหว 

วิธีเบื้องต้นป้องกันอาการปวดหลังในช่วงตั้งครรภ์มี 3 วิธีดังนี้

1.  เมื่อเกิดอาการปวดจะลดอาการปวดหลังได้อย่างไร?
ใช้การนวดหลังโดยทายานวดแล้วนวดเบา ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย แต่การนวดควรระมัดระวังอย่านวดแรงเกินไปเพราะจะยิ่งทำให้เจ็บมากกว่าเดิม ควรใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบด้วย ส่วนการใช้ยาเพื่อลดอาการปวด สามารถทำได้แต่ไม่แนะนำให้ซื้อยามากินเอง ควรปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์และให้คุณหมอจ่ายยาให้จะดีกว่า เพราะยาบางประเภทอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ได้

2.  มีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้อย่างไร?
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่ยกของหนัก เดินตัวตรงหลังตรง ไม่ยืนหรือนั่งนานเกินไป (ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้างอยางน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง) ซึ่งการปรับเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นยืน หรือจากนอนเป็นนั่ง ต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อส่วนหลังทำงานมาก

3. หากปวดหลังมากจนนอนไม่หลับ จะแก้ไขได้อย่างไร?
ให้ใช้ท่านอนตะแคงแทนการนอนหงาย ใช้กอดหมอนข้างที่แข็ง ๆ และหนา ๆ หน่อย ให้ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนหมอนข้าง จะทำให้น้ำหนักตัวและน้ำหนักครรภ์ไม่กดทับที่แขนอีกข้าง รวมถึงการนอนกอดหมอนข้างโดยงอเข่าและวางขาลงบนหมอนข้าง จะทำให้น้ำหนักตัวเกือบครึ่งหนึ่งถูกถ่ายไปยังหมอนข้าง ทำให้ลดภาระการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนหลังไปได้มาก

หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีตามแนวทางของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

บทความสุขภาพที่เีกี่ยวข้อง