การเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์คือประสบการณ์ที่พิเศษสุด เมื่อเริ่มเข้าสู่การตั้งครรภ์ในเดือนที่ สอง ลูกตัวน้อยๆ จะมีตา จมูก และหูที่เรามองเห็นได้อย่างชัดเจนทางอัลตร้าซาวนด์ เมื่อถึงเดือนที่ห้า การได้ยินของ ลูกจะพัฒนาอย่างเต็มที่ ความสามารถใหม่ในการจดจำเสียงของคุณแม่และเสียงที่คุ้นเคยต่างๆ ในสภาพแวดล้อม รอบตัวเขาก็จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน
การกระตุ้นลูกน้อยในครรภ์โดยใช้เสียงดนตรีที่เปิดให้เขาฟังเป็นประจำอาจช่วยให้ ลูกน้อยรู้สึกมั่นใจและผ่อนคลาย หลังจากที่คลอดออกมา นอกจากนี้ คุณแม่และลูกน้อยจะค้นพบวิธีอันแสนพิเศษอย่างรวดเร็วในการสาน ความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญาระหว่างกัน
การเริ่มต้นการกระตุ้นลูกน้อยในครรภ์ด้วยเสียงดนตรี
การกระตุ้นลูกน้อยในครรภ์นั้นคือการใช้สิ่งเร้า เช่น เสียง (เสียงของคุณแม่หรือเสียงดนตรี) การเคลื่อนไหว แรงกด การสั่นสะเทือนและแสงในการสื่อสารกับลูกน้อยก่อนคลอด ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์มารดาจะเรียนรู้ที่จะจดจำและ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ และประสาทสัมผัส การกระตุ้นลูกน้อย นั้นจะช่วยให้ลูกน้อยสื่อสารกับคุณแม่และคุณพ่อคุณผ่านการเคลื่อนไหวของเขา ขณะที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งจะช่วยสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าเฉพาะบางอย่าง (เช่น เสียงของคุณ) และที่สำคัญที่สุดคือจะเป็นการช่วยพัฒนาความ ทรงจำของลูกน้อย
การเลือกเสียงดนตรีที่เหมาะสำหรับลูกน้อย
ลูกน้อยในครรภ์จะขยับตัวตามจังหวะเพลงคลาสสิคของบีโธเฟ่นหรือไม่ หรือคุณแม่รู้สึกว่าเขาเตะอย่างแรงทุกครั้งที่ ได้ยินเพลงของมาดอนน่าจากวิทยุในรถ ด้วยเสียงดนตรีที่ผสมผสานกันอย่างเหมาะสมและการเปิดเพลงซ้ำๆ ลูกน้อย อาจชอบฟังเพลงหลายๆ ประเภทผสมกันก็ได้
ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชส่วน ใหญ่เห็นพ้องกันว่าเสียงดนตรีแทบทุกประเภท เหมาะสำหรับทั้งคุณแม่และลูกน้อย “ความหลากหลายของเพลงหลายๆ ประเภทมีความสำคัญและอาจเป็นประโยชน์ต่อทักษะด้านการเขียน การอ่าน และทักษะด้านภาษาของลูกน้อยในอนาคต” กล่าวโดย ดร. ฟิลลิป เอ เดฟินา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย แพทย์แห่งนิวยอร์ก แผนกจิตเวชและประสาทวิทยาพฤติกรรม และหัวหน้านักจิตวิทยาประสาท และผู้อำนวยการการ รักษาทางประสาทที่ห้องปฏิบัติการวิจัยทางสมองแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
การวิจัย
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แต่ละฉบับเมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับผลของการกระตุ้นทารกในครรภ์ด้วยเสียงดนตรีมีความ แตกต่างกันมาก นักวิจัยเด็กหลายท่านเชื่อว่าไม่มีหลักฐานที่มีน้ำหนักที่สนับสนุนทฤษฎีที่ ว่าการกระตุ้นทารกในครรภ์ ด้วยเสียงดนตรีจะช่วยให้เด็กมีสติปัญญาดีขึ้นในอนาคต ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ กลับกล่าวตรงกันข้าม โดยแย้งว่ามี การศึกษาโดยตรงที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อทารกคลอดมา ทารกจะมีความสามารถแต่กำเนิดในการจดจำเสียงมารดา และสามารถตอบสนองต่อเสียงดนตรีที่เขาคุ้นเคยที่ครอบครัวเปิดให้เขาฟัง ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์
นักวิจัยจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องโดยการใช้อัล ตร้าซาวนด์ตรวจดูทารกในครรภ์ผ่าน ทางมอนิเตอร์และโทรทัศน์ไฟเบอร์ออพติค ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจของชีวิตน้อยๆ ที่กำลังพัฒนาการอยู่ในครรภ์ การศึกษาโดยนักวิจัย ด้านเด็กเล็กระดับแนวหน้าสองคนชื่อ ธอมัส อาร์ เวอร์นี่และเรเน แวนเดอคาร์ ได้ให้รายละเอียดว่าเด็กทารกที่ได้รับ การกระตุ้นขณะอยู่ในครรภ์ จะมีพัฒนาการในระดับสูงในด้านการมองเห็น การได้ยิน การใช้ภาษาและการ เคลื่อนไหว ธอมัสและเรเนกล่าวต่อไปว่าเด็กในกลุ่มนี้จะหลับได้ดีขึ้นและตื่นตัวต่อสภาพ แวดล้อมและสิ่งรอบตัวมาก ขึ้น และมีความสุขมากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้นใดๆ ในระหว่างที่อยู่ในครรภ์
ทางสายกลางดีที่สุด
ดังเช่นหลายๆ สิ่งในชีวิต ดร. ฟิลลิป เชื่อว่าการกระตุ้นทารกในครรภ์ด้วยเสียงดนตรีนั้นควรทำอย่างพอดีๆ “เวลาที่ เหมาะที่สุดสำหรับการกระตุ้นลูกน้อยคือเวลาที่คุณแม่กำลังจะพักสักงีบหรือ นอนพักผ่อนตอนกลางวัน” เธอกล่าว แม้ว่าการกระตุ้นลูกน้อยมากเกินไปจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของลูกน้อยก็ ตาม แต่ก็อาจทำให้เด็กรู้สึกรับไม่ไหว กับความสนใจที่มีมากเกินไปและเด็กอาจหยุดตอบสนองต่อความพยายามของคุณแม่ก็ ได้
คุณควรลองฟังอารมณ์ของตัวเอง หากคุณเบื่อที่จะฟังโอเปร่าเพลงเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา ลูกน้อยก็อาจรู้สึกเช่นเดียวกัน ช่วงเวลานี้ควรเป็นเวลาพิเศษแห่งความสุขและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง คุณแม่ คุณพ่อกับลูกน้อย คุณพ่อ คุณแม่ควรจำไว้ว่า การกระตุ้นด้วยเสียงเพลงนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าว่าจะใช้เวลามากน้อยเพียงใด แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของประสบการณ์อันสุดพิเศษที่พ่อแม่ลูกมีร่วมกันต่างหาก
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น