1. ทำความเข้าใจกับอาการของคุณ - การทำความเข้าใจกับโรคคือก้าวแรกของการควบคุมโรคข้ออักเสบ ปัจจุบันมีองค์กรมากมายจัดทำแผ่นพับหรือเว็บไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้ออักเสบแก่ประชาชนฟรี หรือจะเลือกปรึกษาแพทย์และผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขก็ได้
2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม- การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ จะช่วยให้ข้อสะโพกและข้อเข่าไม่ต้องแบกรับน้ำหนักมากจนเกินไป
3. ออกกำลังกาย – การออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อแข็งแรง อาการปวดลดน้อยลงเคลื่อนไหวได้มากขึ้น และรู้สึกดีขึ้น ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถึงรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวคุณดู แต่ไม่ว่าจะเลือกออกกำลังกายแบบใดต้องเริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และระมัดระวังเสมอ
4. จัดท่าทาง – พยายามยืนตัวตรงให้เป็นนิสัย รวมถึงใช้ข้อขนาดใหญ่และแข็งแรงในการยกของหรือถือสัมภาระต่าง การจัดวางท่าทางให้เหมาะสมจะช่วยถนอมข้อและหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บได้
5. ขยับตัวไปมา – การเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ช่วยคลายอาการฝืดของกล้ามเนื้อและข้อ นอกจากนี้การยืดเส้นยืดสายยังช่วยบรรเทาอาการตึง และทำให้คุณสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างคล่องตัว
6. พักผ่อน – แบ่งเวลาพักระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพราะการทำกิจกรรมเดิมซ้ำ ๆ หรือทำงานหนักเป็นเวลานานอาจเร่งให้ข้อยิ่งเสื่อมและสึกหรอเร็วขึ้น
7. ขอตัวช่วย – ใช้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เช่น หมอนรองข้อมือ ซึ่งมีขนาดพอเหมาะและช่วยให้รู้สึกสบาย
8. รับประทานอาหารให้เหมาะสม – ส้มเป็นตัวเลือกเพื่อสุขภาพที่แสนวิเศษ วิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระล้วนมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ขณะที่กรดโฟลิกช่วยบรรเทาผลข้างเคียงของยารักษาโรคข้ออักเสบบางตัวได้
9. ผ่อนคลาย – การฟังเพลงหรือหัวเราะให้เต็มเสียงช่วยคลายกล้ามเนื้อและบรรเทาความเจ็บปวดได้ นอกจากนี้การแช่น้ำอุ่นก็สามารถช่วยคลายอาการตึงในกล้ามเนื้อและปวดที่ข้อได้
10.ใช้ยาให้ได้ประโยชน์สูงสุด – รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเสมอ แต่อย่าลืมว่าบางครั้งอาจจะต้องรอนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนกว่าจะเห็นผล หากเกิดอาการข้างเคียงที่ชวนให้ไม่สบายใจ ก็รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำทันที
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น