จะควบคุมน้ำหนักอย่างไรให้ผอมเพรียวและดูดี

  • พยายามดื่มน้ำให้มากเข้าไว้ เพราะน้ำไม่ได้ให้พลังงานแต่จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญอาหาร และทำให้ผิวพรรณดูสดชื่น
  • เพิ่มการรับประทานวิตามินรวม (Multi-vitamin/mineral) เสริมในมื้ออาหาร เพื่อป้องกันสภาวะการขาดสารอาหาร และเสริมภูมิต้านทานของคุณ
  • ออกกำลังกายพอประมาณแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Weight-Training และ Aerobic Training โดยไม่ต้องหักโหม เพียงแค่วันละ 1 ชั่วโมงก็เพียงพอ (Weight-Training 30-45 นาที และ Aerobic Training 15-30 นาที)
  • ควบ คุมปริมาณสารอาหาร คุณไม่จำเป็นต้องอดอาหาร เพียงแต่เลือกรับประทานชนิดของอาหารให้ถูกต้องเพิ่มโปรตีนให้สูงขึ้น ลดอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาล และพยายามงดอาหารจำพวกไขมัน
  • เลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้เหมาะสมกับโปรแกรมควบคุมน้ำหนัก เช่น Cromium Piclinate, L-Carnitine, HCA, ไฟเบอร์ชนิดต่าง ๆ และกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น Omega 3 และ 6 เป็นต้น
ที่มา : เอกสาร Live Well

5 วิธีลดความอ้วนแบบง่าย ๆ ที่คุณก็ทำได้


5 วิธีลดความอ้วนแบบง่าย ๆ ที่คุณก็ทำได้:

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ พยามยามลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน และไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง เพราะอาจทำให้คุณรับประทานอาหารมื้อถัดไปมากขึ้น ที่สำคัญควรรับประทานประเภทผักใบเขียว เพราะจะมีใยอาหารอยู่มาก 

2. พยายามดื่มน้ำก่อนอาหาร เพื่อถ่วงกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้ทานอาหารได้น้อยลง หรือเลือกรับประทานใยอาหารก่อนอาหารประมาณครั้งชั่วโมงแทน 

3. เพื่อผลทางจิตวิทยา ควร ใช้ภาชนะเล็กลง โดยมีปริมาณอาหารเท่าเดิมเพื่อให้ดูว่ามีอาหารมากขึ้น และควรใช้ช้อนขนาดเล็กเพื่อจะได้รับประทานช้าลง ที่สำคัญควรฝึกเคี้ยวช้า ๆ จะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง และรู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น 

4. หาเวลาออกกำลังกายที่เหมาะสมมากขึ้น มัก มีความเชื่อผิด ๆ กันว่า การออกกำลังกายมากขึ้นจะทำให้หิวเร็งและรับประทานอาหารมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่ไม่ได้ออกกำลังกายจะทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย จึงมักขจัดความเยื่อนี้ด้วยการรับประทาน การออกกำลังกายจึงเป็นวิธีช่วยลดความเบื่อหน่าย และเพิ่มการใช้พลังงานเพื่อเผาผลาญไขมันสะสมให้ลดน้อยลง 

5. สร้างสิ่งจูงใจ หรือทัศนคติดี ๆ ต่อ พฤติกรรมใหม่ ๆ เช่น การเขียนข้อความเกี่ยวกับการลดความอ้วน หรือชุดสวย ๆ ในสมัยก่อนที่เคยใส่ได้ เพื่อให้เห็นถึงเป้าหมาย และสามารถกระตุ้นหรือจูงใจให้มีความพยายามมากขึ้น และที่สำคัญที่สุด พยายามพักผ่อนให้มาก ๆ ไม่มีประโยชน์เลย ถ้ามีรูปร่างที่สวยงามอย่างที่ต้องการ แต่ต้องอาศัยอยู่ในโรงพยาบาล เนื่องจากสุขภาพไม่ดี

ที่มา : เอกสาร Live Well

โรคเอดส์คืออะไร? ความหมายของโรคเอดส์

เอดส์ คือ โรคที่เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง หรือ เสื่อมไปเพราะถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ที่เรียกว่า เอชไอวี (HIV) หรือเชื้อเอดส์
เอดส์ เขียนใน ภาษาอังกฤษว่า A I D S ประกอบด้วยตัวย่อจากคำต่าง ๆ 4 คำนั่นคือ

A มาจาก Acquired หมายถึงการเกิดขึ้นภายหลังไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด
I  มาจาก Immune หมายถึง ภูมิคุ้มกัน
D มาจาก Deficiency หมายถึง การขาดแคลน
S มาจาก Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการ

ดังนั้น โรคเอดส์ จึงหมายถึงกลุ่มอาการที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีการทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภายหลังจากที่ได้รับเชื้อไวรัสโรคเอดส์เข้าไป ภูมิคุ้มกันที่ว่าก็คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในกระแสโลหิต ซึ่งปกติทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันดักจับทำลายเชื้อโรคร้ายที่เข้ามา แต่เมื่อใดที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอดส์ เชื้อไวรัสชนิดนี้ก็จะเข้าไปทำลายเซลเม็ดเลือดขาว ทำให้ประสิทธิภาพในการเป็นภูมิคุ้มกันร่างกายเสียไป ไม่สามารถดักจับเชื้อโรคจากภายนอกที่ล่วงล้ำเข้ามาในร่างกายได้เหมือนเดิม เป็นผลให้เจ็บไข้ไม่สบายได้ง่ายจากโรคติดเชื้อต่าง ๆ อาทิ ท้องเสีย หวัด วัณโรค และโรคผิวหนังต่าง ๆ เป็นต้น

เอดส์ พบครั้งแรกในทวีปแอฟริกา จากนั้นก็แพร่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของโลกอย่างรวดเร็ว กลายเป็นโรคร้ายที่น่าสะพรึงกลัว คร่าชีวิตผู้คนชาวโลกไปมากมายก่อนวันอันควร และจนถึงวันนี้ ยังไม่มีวิธีหรือยาอันใดที่สามารถรักษาให้หายขายได้ เอดส์ จึงเป็นโรคร้าย เราควรจะได้ทำความรู้จักและเข้าใจ เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวเราและคนที่เรารัก

หัวใจ คุณรู้จักหัวใจตัวเองมากแค่ไหน มารู้จักหัวใจกันดีกว่า

 หัวใจเป็นอวัยวะที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีขนาดเท่ากำปั้น อยู่ในทรวงอกค่อนไปทางด้านซ้าย จัดเป็นอวัยวะที่มีความมหัศจรรย์มาก ประกอบไปด้วยกลุ่มเซลที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา เมื่อหัวใจเริ่มเต้นแล้ว ก็จะเต้นตลอดไป ไม่มีวันหยุดตราบเท่าที่ยังมีชีวิต หัวใจไม่เคยมีวันพัก จึงเป็นอวัยวะที่มีความแข็งแรงมาก

ห้องหัวใจ
  1. หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือด โดยจะนำออกซิเจนและสารอาหารไปให้ส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายและรับเอาของเสียและคาร์บอนไดออกไซด์กลับมา
  2. ขนาดของหัวใจ หัวใจของผู้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 12 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตรในบริเวณที่กว้างสุด และมีความหนาประมาณ 6 เซนติเมตร
  3. น้ำหนักของหัวใจ ในผู้ชายมีน้ำหนักประมาณ 280-340 กรัม ในผู้หญิงมีน้ำหนักประมาณ 230-280 กรัม
  4. หัวใจจะมีการขยายขนาดและน้ำหนักมากขี้นตามอายุ โดยในผู้ชายจะมีการขยายขนาดมากกว่าในผู้หญิง
  5. ปกติหัวใจจะมี 4 ห้อง แบ่งเป็น 2 ซีก ได้แก่ ซีกซ้ายและซีกขวา หัวใจทั้งสองซีกไม่มีช่องติดต่อถึงกัน นอกจากในระยะทารกในครรภ์ หัวใจแต่ละซีกจะมี 2 ห้องเท่ากันคือ ห้องบนและห้องล่าง ห้องบนและห้องล่างจะมีช่องติดต่อถึงกัน โดยมีลิ้นหัวใจคอยทำหน้าที่กำกับให้กระแสเลือดผ่านจากห้องบนสู่ห้องล่างได้ ทิศทางเดียวเท่านั้น ย้อนกลับไม่ได้
  6. หัวใจห้องบนขวารับเลือดดำ จากหลอดเลือดดำใหญ่ที่นำเลือดกลับจากอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งเลือดดำจากตัวหัวใจเองด้วย เลือดดำจากห้องบนขวาจะถูกส่งลงมาห้องล่างขวา และส่งต่อไปยังปอดทั้งสองข้าง เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในเลือดดำกับออกซิเจนจากอากาศ ที่หายใจเข้าไปสู่ปอด เลือดที่ผ่านปอดแล้วจะเป็นเลือดที่มีออกซิเจนสูง จึงมีสีแดงเรียกว่า เลือดแดง เลือดแดงจะไหลกลับสู่หัวใจทางห้องบนซ้าย ลงสู่ห้องล่างซ้ายและส่งต่อออกไปทางหลอดเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งตัวหัวใจเองด้วย โดยผ่านทางหลอดเลือดหัวใจ 3 แขนงใหญ่
เยื่อหุ้มหัวใจ
  1. เยื่อหุ้มหัวใจ เป็นเยื่อบางๆ ใสๆ ห่อหุ้มหัวใจไว้ เป็นสาเหตุของโรคบางชนิด เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ติดเชื้อ มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นต้น ในกรณีที่เป็นโรค อาจทำการผ่าตัดเลาะเยื่อหุ้มหัวใจทิ้งได้
  2. ลักษณะเป็นถุงรูปโคน ซึ่งมีหัวใจและส่วนต้นของเส้นเลือดแดงที่ออกจากหัวใจอยู่ภายในถุง
  3. เยื่อหุ้มหัวใจ ประกอบด้วยผนัง 2 ชั้น คือ ผนังด้านนอก และผนังด้านในซึ่งหุ้มรอบหัวใจอยู่ ระหว่างผนัง 2 ชั้นเป็นช่องของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งโดยปกติแล้วช่องนี้จะแฟบปิด แต่ในภาวะที่มีโรคที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ อาจจะทำให้มีน้ำสะสมอยู่ในช่องดังกล่าว ซึ่งถ้ามีปริมาณมาก จะไปกดการคลายตัวของหัวใจโดยตรง 
    กล้ามเนื้อหัวใจ
  1. กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการบีบตัวไล่เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และขยายตัวเพื่อรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ จึงเป็นส่วนที่มี ความสำคัญอย่างมาก หากกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวหรือคลายตัวผิดปกติแล้ว ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ซึ่งส่วนมากอาจไม่สามารถแก้ไขให้กลับเป็นปกติได้
  2. การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจต้องอาศัยพลังงานที่ได้จากสารอาหารที่ถูกนำมาโดย หลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นโรคของหลอดเลือดหัวใจจึงมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง
  3. ขณะนี้ได้มีการทดลองเพิ่มจำนวนสารวีอีจีเอฟ
  4. vascular endothelial growth factor (VEGF) ซึ่ง เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ที่สร้างเส้นเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ ให้แก่กล้ามเนื้อหัวใจของหนูทดลอง พบว่าการทดลองประสบผลสำเร็จมาก โดยสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ จนสามารถป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายด้วยการสร้างเส้นเลือดใหม่ได้


ลิ้นหัวใจ และผนังกั้นห้องหัวใจ
หัวใจ คนเรามี 4 ห้องแบ่งซ้าย-ขวาโดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งห้องบน-ล่างโดยลิ้นหัวใจ เลือดระหว่างห้องซ้าย-ขวาจึงไม่ปะปนกัน ในบางครั้งการสร้างผนังกันห้องหัวใจไม่สมบูรณ์ เกิดเป็นรูโหว่ขึ้นได้ เป็นชนิดหนึ่งของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจทำหน้าที่ให้เลือดไหลผ่านและไม่ไหลย้อนกลับ ดังนั้นหากลิ้นหัวใจผิดปกติ เช่น ตีบ ฉีกขาด ปิดไม่สนิทหรือรั่ว ก็ย่อมทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้น โรคลิ้นหัวใจที่เป็นปัญหามากที่สุดคือลิ้นหัวใจพิการรูมาห์ติค ซึ่งเป็นผลจากการติดเชื้อคออักเสบ
ระบบไฟฟ้าหัวใจ

  1. การ ที่หัวใจสามารถเต้นได้นั้น เนื่องจากหัวใจส่งกระแสไฟฟ้าที่สร้างขึ้นเอง จากหัวใจห้องขวาบนมายังหัวใจห้อง ซ้ายบนและห้องล่าง เมื่อไฟฟ้าผ่านไปจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการบีบตัวไล่เลือด เลือดจึงไหลอย่างมีระเบียบ
  2. หากระบบไฟฟ้าผิดปกติไป ไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะชักนำให้เกิดการเต้นที่ผิดจังหวะ ผิดปกติ ซึ่งบางครั้งรุนแรงมาก จนทำให้เสียชีวิต การเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ หรือมีอัตราการเต้นที่ผิดปกติ นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยรำคาญแล้ว ในบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  3. การรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิด จังหวะ ปัจจุบันสามารถให้การรักษาได้ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการให้ยา การจี้รักษาภาวะลัดวงจรของการนำไฟฟ้าในหัวใจด้วยคลื่นวิทยุ การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร และการผ่าตัดฝังเครื่องช็อคหัวใจแบบอัตโนมัติ
  4. การ จี้รักษาภาวะลัดวงจรของการนำไฟฟ้าในหัวใจด้วยคลื่นวิทยุ เป็นการรักษาหัวใจที่เต้นผิดจังหวะและเร็วผิดปกติให้เต้นช้าลง วิธีการจะคล้ายกับการสวนหัวใจแต่จะมีสายลวดเล็ก ๆ ใส่ผ่านไปทางหลอดเลือดดำเข้าไปที่หัวใจร่วมด้วย ซึ่งสายลวดนี้จะสามารถตรวจหาตำแหน่งของเนื้อเยื่อหัวใจที่ผิดปกติ และสามารถส่งคลื่นวิทยุเข้าไปเพื่อจี้ให้เนื้อเยื่อหัวใจ บริเวณนั้นตายแล้วมีแผลเป็นเล็กๆ เกิดขึ้นแทน
  5. การผ่าตัดฝังเครื่อง กระตุ้นหัวใจชนิดถาวร เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรมีขนาดใกล้เคียงกับวิทยุติดตามตัว เครื่องนี้จะถูกฝังไว้ที่ผนังทรวงอกของผู้ป่วย จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติหรือมีการปิดกั้นการนำไฟฟ้า ในหัวใจ
  6. การผ่าตัดฝังเครื่องช็อคหัวใจแบบอัตโนมัติ เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติมีลักษณะคล้ายเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิด ถาวร แต่มีที่ใช้ต่างกัน คือ เครื่องช็อคไฟฟ้าจะใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจหยุดเต้นฉับ พลันจากที่หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง ซึ่งเครื่องดังกล่าวจะกระตุ้นให้หัวใจกลับมาเต้นตามปกติ
การทำงานของหัวใจหัวใจเริ่มเต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่นๆ คือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากหัวใจห้องขวาบน เรียกว่าsinus node โดยมีอัตราการปล่อยไฟฟ้าประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที และถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนหลายชนิด 

ไฟฟ้าที่ออกมาจะกระจายออกไปตามเซลนำไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในหัวใจ เริ่มจากขวาไปซ้าย จากห้องบนขวาไปห้องบนซ้าย และลงล่างด้วย เมื่อเซลกล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้านี้ ก็จะเกิดการหดตัวขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ การบีบตัวของห้องหัวใจเริ่มจากด้านขวามาซ้าย และห้องบนก่อนห้องล่าง

วงจรการไหลเวียนของเลือดจะเริ่มจากหัวใจห้องขวาบนรับเลือดดำจากส่วนต่างๆของร่าง กาย เช่น แขน ขา เลือดส่วนนี้จะไหลผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิด ไปยังหัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งจะบีบตัวตามมาไล่เลือดออกไปฟอกที่ปอดโดยผ่านหลอดเลือดไปปอด เลือดจะถูกฟอกที่ปอดโดยอาศัยการแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านทางหลอดเลือดเล็กๆที่ผนัง ถุงลมของปอด จากนั้นเลือดจะไหลมารวมกันที่หลอดเลือดใหญ่เพื่อไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก ครั้งที่ห้องซ้ายบน เลือดไหลจากห้องซ้ายบนลงมาซ้ายล่างโดยผ่านลิ้นหัวใจไมตรัล เมื่อเลือดแดงอยู่ในห้องหัวใจซ้ายล่างแล้วก็พร้อมที่จะถูกฉีดออกไปเลี้ยง ร่างกายทางหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา ผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติค เมื่อผ่านส่วนต่างๆแล้ว เลือดจะกลับสู่หัวใจด้านขวาอีกครั้ง
ระบบ ไฟฟ้าหัวใจมีประสิทธิภาพมากในการควบคุมวงจรการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้แต่ละห้องหัวใจสัมพันธ์กัน ดังนั้น ไม่ว่าระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือ กล้ามเนื้อหัวใจไม่บีบตัว ย่อมมีผลต่อร่างกายทั้งสิ้น

หลอดเลือดหัวใจ

  1. หลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมีชื่อเรียกเรียกว่า

  1. "หลอดเลือดโคโรนารี" ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 เส้นใหญ่ โดยออกจากหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาทางด้านขวาและด้านซ้าย จึงเรียกชื่อว่าหลอดเลือดโคนารีขวาและหลอดเลือดโคโรนารีซ้ายตามลำดับ
  2. หลอดเลือดโคโรนารีซ้าย แบ่งเป็นแขนงใหญ่ ๆ อีกสองแขนง แขนงแรกทอดตรงไปเลี้ยงหัวใจด้านหน้าและห้องซ้ายล่าง และอีกแขนงหนึ่งจะวิ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านหลังและด้านล่าง ส่วนหลอดเลือดโคนารีขวา จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านขวาและด้านล่าง
  3. โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็น โรคที่เกิดจากการเสื่อมของผนังหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อเกิดโรคนี้ ลักษณะเฉพาะคือ ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น แข็ง ขรุขระ และตีบแคบ ทำให้เลือดผ่านได้น้อยลง เมื่อเลือดไหลผ่านได้น้อย จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจที่อยู่ปลายทางได้รับเลือดไม่พอ ก็จะเกิดอาการจุกแน่นหน้าอก โดยอาการเป็นมากขึ้น เมื่อออกกำลังหรือทำงานหนัก
  4. ในกรณีที่ตะกรันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจที่หนาตัวจนเกิดอาการปริ-กะเทาะ จะกระตุ้นให้เกล็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือดมารวมตัวกัน และทำให้เกิดการอุดตันอย่างเฉียบพลันจากลิ่มเลือด ถ้าไม่มีการแก้ไขให้เลือดไหลผ่านได้อย่างเพียงพอ กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดก็จะเกิดบาดเจ็บเสียหาย จนทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นหย่อมๆ เรียกว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
  5. กล้ามเนื้อที่ตายมักจะกระตุ้นให้หัวใจเกิดการเต้นผิดจังหวะ ทำ ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ได้จากการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ กรณีที่กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายเป็นบริเวณกว้างและจำนวนมาก ก็ทำให้หน้าที่ของหัวใจในการสูบฉีดเลือดล้มเหลว จึงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

โรคหูอักเสบ




หูของคนเราแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน หูชั้นนอก หมายถึง ส่วนของใบหู รูหู รวมไปถึงเยื่อแก้วหู หูชั้นกลาง เป็นโพรงอากาศเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างแก้วหู และหูชั้นใน ภายในหูชั้นกลาง มีกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้น กระดูกฆ้อน ทั่ง โกลน ซึ่งถือเป็นกระดูกที่เล็กที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกทั้งสามชิ้นมาต่อเชื่อมกัน เพื่อนำเสียงเข้าสู่หูชั้นใน ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทรับการได้ยิน และเซลล์ประสาทควบคุมการทรงตัวของร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีท่อเชื่อมระหว่างหูชั้นกลาง กับภายในโพรงจมูก ทำหน้าที่ปรับความดันภายในหูให้กับภายนอก

การอักเสบของหูชั้นนอกที่พบบ่อย เป็น การอักเสบของรูหู ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือผื่นแพ้ โดยมากมักเริ่มจากมีน้ำเข้าหู และค้างอยู่ในหู ทำให้มีโอกาสที่เชื้อรา หรือแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ก่อให้เกิดอาการอักเสบในรูหู การแคะหูทำให้มีแผลถลอกของรูหู และเกิดการติดเชื้อตามมาได้ โรคผิวหนังบางชนิดก็เกิดกับผิวหนังของรูหูได้เช่นกัน เช่น โรคผิวหนังตกสะเก็ด และโรคผื่นแพ้ จะทำให้มีอาการบวมแดงของรูหู ร่วมกับมีสะเก็ดลอกของผิวหนังของรูหูร่วมด้วย อาการของหูชั้นนอกอักเสบ มักเกิดภายหลังว่ายน้ำหรือแคะหู โดยผู้ป่วยจะมักมีอาการปวดหู หูเป็นน้ำเยิ้ม คล้ายหูแฉะเป็นอาการหลัก บางรายมีอาการบวมแดงของรูหูและใบหู ซึ่งจะมีอาการหูอื้อตามมา โดยเฉพาะในรายที่มีเชื้อราหรือขี้หูมาก อาจทำให้รูหูอุดตัน ได้ยินไม่ชัด ทำให้ผู้ป่วยรำคาญ และมาหาแพทย์ การอักเสบของหูชั้นนอก ต่างประเทศเรียกว่า swimmer's ear

ส่วนใหญ่จะให้การรักษาตามสาเหตุ ด้วย การทำความสะอาดหู ดูดหนอง หรือขี้หูออก แล้วเช็ดด้วยยาปฏิชีวนะ หรือยาเพิ่มความเป็นกรดในรูหู จะช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการล้างหู หรือแคะหูด้วยตนเอง ในกรณีที่น้ำเข้าหูแล้วต้องการซับออกให้แห้ง โดยใช้ไม้พันสำลี ก็ควรจะทำด้วยความระมัดระวัง
image

หูชั้นกลาง เป็น โพรงอากาศเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างแก้วหูกับหูชั้นใน เมื่อเกิดการอักเสบติดเชื้อ เชื้อโรคเข้าสู่หูชั้นกลาง ก่อให้เกิดหนอง ซึ่งมีทั้งเชื้อก่อเหตุและเซลล์ของร่างกายที่ต่อสู้ กับเชื้อโรค โพรงอากาศในหูชั้นกลางจึงเต็มไปด้วยหนอง ทำให้เกิดอาการเจ็บหู และหูอื้อ เชื้อโรคมาทางท่อเชื่อมระหว่างหูชั้นกลาง กับภายในโพรงจมูก ในขณะที่เป็นเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ การทำงานของท่อเชื่อมดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์และท่อยังมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธภาพ จึงเกิดการติดเชื้อได้บ่อย เมื่อโตขึ้นก็จะไม่ค่อยเป็น ยกเว้นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือเวลาที่เป็นหวัด การอักเสบของหูชั้นกลางพบได้บ่อยในเด็ก ถือว่าเป็นโรคของเด็กที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง ก่อนอายุ 2 ปี เด็กเล็กเกือบทุกคนจะเคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ เรียกว่า middle ear infection หรือ otitis media สาเหตุก็มักจะเป็นผล มาจากการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนบน แล้วลามมายังหู เด็กจะมีอาการไข้ และปวดหู การสังเกต หรือคอยติดตามดูอาการ จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถนำเด็กมาพบแพทย์ได้เร็วขึ้น โดยเด็กมักจะบ่นปวดหู หูอื้อ มีไข้ขึ้น ภายหลังจากเป็นหวัด ไอ มาได้ 3-4 วัน ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจร้องกวนโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อบุตรหลานของท่านมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์ การรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดน้ำมูกและยาละลายเสมหะ กรณีที่ปวดมากและไม่ดีขึ้นภายหลังให้ยา แพทย์อาจพิจารณาเจาะแก้วหูเป็นรูเล็กๆ เพื่อระบายหนองออก และป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
image
หูน้ำหนวก หมายถึง การที่มีหนองไหลออกมาจากหูเรื้อรัง อันมีสาเหตุมาจากการอักเสบของหูชั้นกลาง โดยมีการทะลุของแก้วหู ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะ หรือหูอื้อร่วมด้วยแล้วแต่ความรุนแรงของโรค และระยะเวลาที่เป็น ส่วนใหญ่มักเป็นมาตั้งแต่เด็กๆ เป็นๆ หายๆ มาตลอด โดยจะมีอาการเมื่อเป็นหวัด เจ็บคอหรือภายหลังการว่ายน้ำ ดำน้ำ เนื่องจากโรคหูน้ำหนวกมีหลายชนิด และบางชนิดอาจทำให้เกิด โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ เช่น ปากเบี้ยว หูหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไปจนถึงฝีในสมองได้ จึงมีความจำเป็นที่ ท่านควรจะได้มีความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหูน้ำหนวกชนิดนี้เอาไว้บ้าง หูน้ำหนวกกลุ่มที่จัดว่าอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่พวกที่มีหนองไหลตลอดทั้งปี ไม่เคยแห้งเลย แถมยังมีกลิ่นหนองเหม็นมาก พวกหูน้ำหนวก ที่มีอาการปวดหูปวดหัวเรื้อรัง พวกที่เคยมีประวัติฝี หรือหนองแตกที่บริเวณหลังกกหู จึงควรที่ผู้ป่วยหูน้ำหนวกในกลุ่มนี้จะได้รีบพบแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการรักษา ก่อนที่จะมีโรคแทรกซ้อนที่ถาวร และร้ายแรงตามมา ปัจจุบันได้มีการใช้กล้องจุลทัศน์ ในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วย เรียกว่า microsurgery โดยมีเป้าหมายในการผ่าตัดที่สำคัญสองประการ ประการแรกเพื่อทำให้หูแห้ง และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจตามมา ประการที่สอง คือการแก้ไขช่วยให้การได้ยินดีขึ้น ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหูน้ำหนวก จะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นและลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น 

เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในหู คือ Branhamella catarrhalis (นิยมเรียกย่อๆว่า B-cat) นอกจากนี้ ยังมีเชื้อสเตร็ฟโตคอคคัส Streptococcus pneumoniae หรือที่เรียกว่า นิวโมคอคคัส pneumococcus เชื้อฮีโมฟีลุส Haemophilus influenza และ Moraxella catarrhalis ส่วนเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ Respiratory syncytial virus (RSV) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ influenza (flu) viruses และไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ อีกหลายชนิด

บทความโดย: นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

ท้องลม...ท้องหลอก

การตั้งครรภ์ไม่ใช่เรื่องที่จะจบลงอย่างสมปรารถนาทุกครั้งไป คุณแม่จำนวนไม่น้อยที่การตั้งครรภ์ไม่สมปรารถนาและจบลงเร็วเกินไปแบบไม่ทัน ตั้งตัวก็มี คุณแม่บางคนคิดว่าตัวเองตั้งครรภ์ พอไปหาหมอตรวจเข้าจริงๆ พบว่าไม่ตั้งครรภ์ก็มี เหตุการณ์เหล่านี้พบได้บ่อยเหมือนกัน ลองมาดูกันหน่อยไหมครับว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

ท้องลม
          คุณผู้หญิงบางคนเมื่อประจำเดือนขาดหายไปอาจจะรู้สึกตื่นเต้นดีใจสงสัยว่าน่าจะ ท้องอย่างที่หวัง ยิ่งเมื่อไปซื้อเครื่องทดสอบการตั้งครรภ์จากปัสสาวะแล้วพบว่าท้องจริงก็ยิ่ง ดีใจมากขึ้น แต่เมื่อไปหาคุณหมอเพื่อฝากครรภ์ ภายหลังการตรวจคุณหมอกลับแจ้งว่ามีการตั้งครรภ์จริง แต่ไม่มีตัวเด็ก หรือที่เรียกกันว่ามี ภาวะไข่ฝ่อ (Blighted ovum) คุณผู้หญิงอาจรู้สึกสับสน งุนงง ว่ามันคืออะไรกัน เกิดได้อย่างไร และจะต้องรักษาอย่างไร
          ภาวะไข่ฝ่อ (blighted ovum) หรือ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ท้องลม จัดเป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์ชนิดหนึ่งซึ่งทำให้การตั้งครรภ์ไม่สามารถ ดำเนินต่อไปได้จนถึงครบกำหนดคลอด
          ตามปกติภายหลังที่ไข่กับอสุจิมีการผสมกันแล้ว ก็จะมีพัฒนาการต่อไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นทารก รก ถุงน้ำคร่ำ และเมื่อครบ 280 วัน ทารกก็จะคลอดออกมา คนบางคนไม่เป็นเช่นนั้น บางคนท้องแค่ 2 - 3 เดือน เด็กก็ไม่ยอมอยู่แล้ว และจะหลุดออกมาก่อนเวลาอันควร เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า การแท้ง ที่แปลกกว่านี้ก็คือ คนบางคนภายหลังไข่กับอสุจิมีการผสมกันแล้วก็จะมีพัฒนาการต่อไปแต่แปลกที่ ส่วนที่เป็นรกและถุงน้ำเจริญต่อไปได้ แต่ส่วนเป็นทารกกลับไม่ยอมเจริญเติบโตต่อ บางคนก็ไม่มีตัวเด็กให้เห็นเลย ในขณะที่บางคนเห็นตัวเด็ก แต่ถ้าตรวจซ้ำจะเห็นตัวเด็กเล็กลงและเสียชีวิตค้างในถุงน้ำคร่ำ ภาวะที่ไม่เห็นตัวเด็กเลย เราเรียกว่า ภาวะไข่ฝ่อหรือท้องลม คุณแม่ที่มีภาวะนี้ส่วนมากจะมีเลือดออกและแท้งออกมาในที่สุด แต่บางคนก็ค้างอยู่นานถ้าไม่ตรวจก็อาจจะไม่รู้
ที่มา...ท้องลม
          การที่ไข่ภายหลังการผสมไม่เจริญเติบโตต่อ ก็เหมือนกับไข่เป็ดไข่ไก่ที่ไม่สามารถฟักออกมาเป็นตัวนั่นเอง สาเหตุที่พบบ่อยคือ ไข่หรืออสุจิที่มาผสมกันไม่แข็งแรงพอ หรือมีคุณภาพไม่ดีพอทำให้ไม่สามารถพัฒนาการต่อไปได้ สาเหตุของความไม่แข็งแรงหรือคุณภาพที่ไม่ดีของไข่หรืออสุจิมีมากมายจาระไน ไม่หมด อาจเกี่ยวข้องกับการทำงานหนัก เครียด รับประทานอาหารไม่เพียงพอ พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีโรคบางชนิดที่ยังไม่ได้รับการตรวจอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติของไข่หรืออสุจิก็เป็นได้
          การจะสรุปว่าสาเหตุเกิดจากอะไรแน่ บางครั้งก็บอกยาก เพราะสาเหตุบางอย่างก็ยังไม่รู้จะตรวจอย่าง เช่น ทำงานหนักแค่ไหนถึงจะเกิดปัญหานี้   การตรวจลักษณะ ทางกรรมพันธุ์ของไข่กับอสุจิก็ทำยากมากมาก ส่วนมากเราจึงใช้การคาดคะเนกันเป็นส่วนมากว่าถ้ามีปัจจัยใดที่คิดว่าอาจเป็น สาเหตุได้ ก็ควรจะรักษาหรือแก้ไขเสีย
            
วิธีการรักษา
          การรักษาภาวะไข่ฝ่อทำง่ายมาก แค่ขูดมดลูกเอาถุงน้ำคร่ำที่ผิดปกตินี้ออกให้หมดก็จบแล้ว  
          หลาย คนคงอยากถามว่าจะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ซ้ำได้ไหม คำตอบก็คือยังไม่มียาหรือวิธีการรักษาอะไรที่ชัดเจนในการที่จะป้องกันภาวะ อันนี้ วิธีที่ดีที่สุดคือการดูแลรักษาตัวเอง ด้วยการรับประทานอาหารที่ดี ได้สัดส่วน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม ไม่ทำงานหักโหมเกินไปและพักผ่อนให้เพียงพอ แคนี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว

ท้องหลอก
          คุณผู้หญิงบางคนอาจมาพบคุณหมอที่โรงพยาบาลเนื่องจากประจำเดือนขาดหายไป ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน บางคนอาจรู้สึกเหมือนมีลูกดิ้นๆ อยู่ในท้อง และรู้สึกว่าท้องโตขึ้น ปัสสาวะบ่อยด้วย บางรายอาจให้ข้อมูลด้วยว่าแต่งงานมานานอยากมีลูกแต่ไม่มีซักที จากอาการที่เล่าข้างต้นค่อนข้างมั่นใจว่าตัวเองน่าจะตั้งครรภ์
          แต่เมื่อไปพบคุณหมอตรวจร่างกาย คุณหมอกลับแจ้งว่าท้องไม่โต คลำมดลูกไม่ได้ ฟังที่ท้องได้ยินแต่เสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ และเมื่อตรวจอัลตร้าซาวนด์ก็พบแต่มดลูกซึ่งไม่มีลักษณะของการตั้งครรภ์ให้ เห็นแต่อย่างใด หลายคนอาจสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร ทั้งๆที่อาการและอาการแสดงบ่งบอกว่าน่าจะท้องแล้ว
          อาการที่คุณผู้หญิงรู้สึกว่าเหมือนตัวเองตั้งครรภ์ ทั้งที่ความจริงไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นนั้น เราเรียกว่า ท้องหลอกหรือทางการแพทย์เรียกว่า spurious pregnancy หรือ pseudocyesis ซึ่งจัดเป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่ง
          ผู้ป่วยส่วนมากจะมาเล่าอาการให้คุณหมอมากมายซึ่งแต่ละอาการฟังแล้วน่าจะเกิดจาก การตั้งครรภ์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย คัดตึงเต้านม  ประจำเดือนขาด บางคนรู้สึกว่ามีลูกดิ้นในท้อง หรือบางคนอาจคลำได้ก้อนในท้องซึ่งคิดว่าเป็นมดลูกได้ด้วยซ้ำไป
ที่มา...ท้องหลอก
          สาเหตุของท้องหลอก หรือไม่มีการตั้งครรภ์จริง เกิดจากสภาพทางจิตใจเป็นหลัก ผู้หญิงกลุ่มนี้มักจะเครียดเพราะอยากมีลูกแต่ไม่มีซักที รักษามาก็ทั้งบ่อยทั้งนาน หมดเงินทองไปก็ตั้งมากแต่ก็ยังไม่ท้อง ความเครียดที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่ พอถูกกระตุ้น รังไข่ก็จะสร้างฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งไปกระตุ้นมดลูกทำให้ผนังมดลูกหนาตัวและ ไม่มีประจำ เดือน ผู้หญิงกลุ่มนี้อยากท้องอยู่แล้ว พอไม่มีประจำเดือนก็อุปาทานว่าตัวเองตั้งครรภ์ เลยกินอาหารบำรุงใหญ่ เลยทำให้อ้วนหรืออ้วนมากเกินไปด้วยซ้ำ เจ้าความอ้วนที่เกิดขึ้นก็จะทำให้มีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น ไขมันที่ว่าสามารถสร้างฮอร์โมนไปทำให้ไม่มีประจำเดือนได้เช่นกัน เมื่อเมื่อหมอตรวจมดลูกโดยเฉพาะเมื่อตรวจด้วยอัลตราซาวนก็จะไม่พบการตั้ง ครรภ์แต่อย่างใด สำหรับอาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย รู้สึกว่ามีลูกดิ้นในท้อง หรือบางคนอาจคลำได้ก้อนในท้องซึ่งคิดว่าเป็นมดลูกล้วนแต่เป็นอุปาทานทั้ง สิ้น
          การรู้สึกเหมือนเด็กดิ้นเกิดจาก การบีบตัวของลำไส้ การปัสสาวะบ่อยเป็นเรื่องของจิตใจที่แล้วแต่ใครจะวิตกกังวลเรื่องการถ่าย ปัสสาวะมากน้อยแค่ไหน ส่วนรายที่คิดว่าคลำมดลูกได้ ส่วนมากเกืดจากผนังหน้าท้องที่หนามาก หรือท้องอืดมากจากลมในลำไส้
          อย่างไรก็ตามก่อนจะสรุปว่า ท้องหลอกเกิดจากภาวะจิตใจ คุณหมอก็อาจจะต้องตรวจวินิจฉัยให้ละเอียดเสียก่อน เพราะมีโรคหรือความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหรืออาการแสดงให้ เห็นคล้ายๆกับการตั้งครรภ์ได้เช่นเดียวกัน เช่นโรคของต่อมใต้สมองที่มีการสร้างฮอร์โมนบางชนิดมากเกินไป แต่พวกนี้มักมีน้ำนมไหลร่วมด้วย บางคนอาจจะมีอาการเพราะรับประทานยารักษาโรคบางอย่างเช่นยากันชัก หรือยานอนหลับบางชนิด
       
วิธีการรักษา
          จริงๆ แล้วผู้ป่วยพวกนี้ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาอะไร เพียงแค่ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ และให้การดูแลรักษาทางจิตใจ พบว่าส่วนมากแค่นี้ก็แก้ไขปัญหาได้แล้วโดยไม่ต้องให้ยา ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยมีความเครียดและวิตกกังวลมาก ก็อาจต้องให้ยาคลายความวิตกกังวล 
          แม้ว่าโอกาสเจอะเจอผู้ป่วยประเภทนี้อยู่เพียงประปรายแต่ก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้น ได้ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นคนที่คาดหวังสูงและตั้งใจมากอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อรู้ความจริงก็จะเกิดความผิดหวังที่รุนแรง ทำให้อาจเกิดการฟ้องร้องได้เหมือนกันว่าหมอตรวจผิดตรวจพลาดหรือเปล่า

สุดท้าย
          ผมอยากฝากไว้ว่า สภาพร่างกายที่สดชื่น สมบูรณ์แข็งแรง เป็นสิ่งสำคัญประการแรกๆที่จะทำให้คุณแม่มีการตั้งครรภ์ที่ดี ดำเนินการตั้งครรภ์อย่างปกติ และลงเอยด้วยการคลอดที่ปลอดภัยการใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเองไม่ให้เครียดจน เกินไป ก็จะทำให้มีการตั้งครรภ์ที่ดี ไม่มีภาวะท้องลมท้องหลอกเกิดขึ้น ขอให้คุณแม่โชคดีมีลูกเจริญเติบโตแข็งแรงสมความปรารถนานะครับ

บทความโดย: รศ.นพ.วิทยา  ถิฐาพันธ์
ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ตรวจเลือด หามะเร็งได้จริงหรือ?

 ในทุกวันนี้ เรามักจะได้ยินกันว่าการตรวจสุขภาพประจำปีของโปรแกรมต่างๆ จะมีการตรวจเลือดหามะเร็งกันเป็นประจำ  และ นอกจากนี้ บางครั้ง เวลาที่มีความผิดปกติ เช่น เลือดออก หรือมีก้อน และสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะถามแพทย์ที่ดูแลว่าตรวจเลือดดูว่าเป็นมะเร็งได้หรือไม่ เพราะดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่น่าจะสะดวก หรือ เจ็บตัวน้อยที่สุด ... ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถตรวจเลือดหามะเร็งได้หรือไม่?

ตรวจเลือดหามะเร็ง  เขาตรวจหาอะไรกัน
            การตรวจเลือดชนิดต่างๆ เพื่อหามะเร็ง เช่น ตรวจ CEA, PSA, CA 15-3, Alpha-fetoprotein (AFP) ฯลฯ  ที่เราได้ยินจากโปรแกรมการตรวจเลือดต่างๆนั้น เป็นการตรวจหา Tumor marker (สารบ่งชี้มะเร็ง)

Tumor markers (สารบ่งชี้มะเร็ง) คืออะไร
ในภาวะที่เซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นมะเร็ง กลไกควบคุมการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์จะเสียไป  ทำให้เซลล์นั้นๆแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้  และเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมภายในเซลล์ เป็นผลให้มีการสร้างสารแอนติเจน หรือสาร macromolecule อื่นๆ เช่น ฮอร์โมน หรือ เอ็นซัมย์ ที่ไม่เหมือนเซลล์ปกติ    แอนติเจนเหล่านี้นอกจากจะพบอยู่ภายในเซลล์และบนผิวของเซลล์แล้ว  เซลล์มะเร็งยังสามารถปลดปล่อยสารดังกล่าวออกสู่กระแสเลือด หรือสารคัดหลั่ง (biological fluid) อื่นๆ ได้อีกด้วย  ซึ่งสารต่างๆ ที่เกิดจากเซลล์มะเร็งเหล่านี้ รวมเรียกว่าเป็น  tumor marker หรือ สารบ่งชี้มะเร็ง     สารเหล่านี้สามารถตรวจหาได้จากเลือด หรือ สารคัดหลั่ง เช่น น้ำในช่องท้อง (ascetic fluid) น้ำในช่องปอด (pleural fluid) ของผู้ป่วยรายนั้นๆ ด้วยการใช้วิธีการทางห้องปฏิบัติการที่มีความไวสูงพอ

โดยทั่วไป แอนติเจนหรือสารที่สร้างโดยเซลล์มะเร็งนี้ อาจแบ่งออกได้เป็น  2  กลุ่มใหญ่ๆ  คือ
1.         Tumor-specific antigen (TSA): แอนติเจนเฉพาะกับมะเร็ง    พบเฉพาะในเซลล์มะเร็งเท่านั้น ไม่พบในเซลล์ปกติ   แต่มักเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการตอบสนองและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่ำ  ทำให้ตรวจหาทางห้องปฏิบัติการได้ยากมาก
2.         Tumor-associated antigen (TAA): แอนติเจนที่เกี่ยวกับมะเร็ง    อาจพบได้ทั้งในเซลล์มะเร็ง และเซลล์ปกติในบางระยะของพัฒนาการ  ซึ่งในคนทั่วไป ก็อาจพบได้    เนื่องจากสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) ที่มีการตรวจในทางคลินิกในปัจจุบัน เป็นสารในกลุ่ม tumor-associated antigen ทั้งสิ้น   ดังนั้นประเด็นสำคัญที่ต้องทราบ  คือ   Tumor marker ไม่มีความจำเพาะต่อมะเร็ง

ประเด็นควรรู้เกี่ยวกับสารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker)
อาจตรวจพบระดับ tumor marker ในปริมาณต่ำๆ ได้ในคนปกติ และ/หรือ ผู้ป่วยที่มีการอักเสบ และ/หรือ มีพยาธิสภาพอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง (benign disease) ของอวัยวะที่เป็นแหล่งสร้าง tumor marker นั้นๆ
การตรวจพบระดับ tumor marker สูงกว่าปกติเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยรายนั้นเป็นมะเร็งอย่างแน่นอน  แต่จำเป็นต้องพิจารณาร่วมไปกับผลการตรวจทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ    การตรวจซ้ำเป็นระยะ (follow up) เป็นสิ่งจำเป็น  เพื่อศึกษาดูว่าระดับของ tumor marker ดังกล่าวมีแนวโน้มเป็นเช่นไร    ถ้าตรวจซ้ำแล้วพบว่าระดับ tumor marker สูงขึ้นเป็นลำดับ จะเป็นเครื่องชี้แนะให้สงสัยโรคมะเร็งมากยิ่งขึ้น  แต่ถ้าตรวจซ้ำแล้วระดับลดลง  น่าจะบ่งชี้ว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคมะเร็ง
ระดับ tumor marker ที่ตรวจวัดด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน และ/หรือ ใช้วิธีการเดียวกันแต่ใช้ชุดน้ำยาตรวจ (diagnostic test kit) ต่างกัน อาจให้ค่าที่มีความแตกต่างกันได้   ดังนั้น การติดตามผลการทดสอบ (follow up) ควรพิจารณาจากผลการตรวจของห้องปฏิบัติการเดียวกันทุกครั้ง 

ประโยชน์ของสารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ในทางคลินิก
1.       ช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็ง       โดยต้องพิจารณาร่วมไปกับประวัติ, การตรวจร่างกาย, การตรวจทางห้องปฏิบัติการ  และการตรวจทางการแพทย์อื่นๆ เช่น  X-ray, ultrasound เป็นต้น  
การตรวจพบระดับ tumor maker สูงกว่าปกติเพียงอย่างเดียว ยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งได้  แต่หากตรวจติดตามระดับของ tumor marker เป็นระยะๆ ต่อไป   และพบว่าระดับ tumor marker  มีค่าสูงขึ้นเป็นลำดับ แสดงว่าน่าสงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็ง
แต่ถึงแม้ตรวจ tumor marker แล้วพบว่าระดับอยู่ในเกณฑ์ปกติ  ก็ไม่ได้ยืนยันแน่นอนว่าบุคคลผู้นั้นไม่ได้เป็นมะเร็ง  เนื่องจากระดับ tumor marker มักจะสัมพันธ์กับขนาดหรือระยะของโรคมะเร็ง  ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งระยะเริ่มแรก จึงยังอาจพบระดับ tumor marker ปกติได้ 
2.       ช่วยตรวจกรอง (screening) โรคมะเร็งบางชนิดในคนที่มีความเสี่ยงสูง      ในปัจจุบันมี tumor marker เพียง 2 ชนิดเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้ตรวจกรองโรคมะเร็งในคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งบางชนิดสูงได้  ได้แก่  Alpha-fetoprotein (AFP) ในคนที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง (chronic hepatitis), hepatitis B carrier, ตับแข็ง (cirrhosis)  เพื่อตรวจกรองภาวะมะเร็งตับ  และ Prostate specific antigen (PSA) ในผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป  โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาปัสสาวะลำบาก  เพื่อตรวจกรองภาวะมะเร็งต่อมลูกหมาก
3.       ใช้ติดตามผลการรักษาและการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง    เป็นประโยชน์ที่นิยมใช้มากที่สุดของ tumor marker ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน   โดยผู้ป่วยมะเร็งที่ตรวจพบว่ามีระดับ tumor marker สูงตั้งแต่เมื่อแรกวินิจฉัย   หลังจากได้รับการรักษาแล้ว  ระดับ tumor marker ที่เคยสูงอยู่เดิม ควรค่อยๆ ลดลงมาจนถึงระดับปกติ  แต่ถ้าระดับ tumor marker ที่เคยลดลงหลังการรักษา กลับมีค่าสูงขึ้นเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง  แสดงว่าน่าจะมีการกลับเป็นใหม่ของโรคมะเร็ง   โดยการเปลี่ยนแปลงของระดับ tumor marker ที่ขึ้นสูงภายหลังการรักษา มักตรวจพบได้ก่อนที่จะตรวจพบอาการแสดงทางคลินิก เฉลี่ยประมาณ  2-6  เดือน
4.       พยากรณ์โรค     เนื่องจากระดับ tumor marker จะแปรผันตามระยะของโรคมะเร็ง  ดังนั้นถ้าตรวจพบระดับ tumor marker สูงมาก  แสดงว่ามะเร็งน่าจะมีขนาดใหญ่ หรือมีการแพร่กระจายแล้ว  
5.       อาจนำไปใช้ช่วยในการเลือกวิธีการรักษาโรคมะเร็ง   เช่น การตรวจหา estrogen receptor และ progesterone receptor ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม  เพื่อเลือกที่จะให้การรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมน เป็นต้น

สารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ที่ตรวจกันบ่อยๆ   ได้แก่
Alpha-fetoprotein (AFP)
Carcinoembryonic antigen (CEA)
Prostate specific antigen (PSA)
CA 125
CA 19-9
CA 15-3
Beta-human chorionic gonadotropin (beta-HCG)
Neuron-specific enolase (NSE)

สรุป
การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง หรือ tumor marker จากเลือด เป็นการตรวจหาสารที่ผลิตจากเซลล์มะเร็ง  ซึ่งอาจมีความแม่นยำไม่สูงมากนัก  แต่สามารถช่วยแพทย์ได้ในการตรวจหามะเร็งบางกรณี หากพบมีการเปลี่ยนแปลงระดับต่อเนื่องในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง  หรืออาจใช้ช่วยติดตามการรักษา  หรือบอกการพยากรณ์โรคได้    ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของ tumor marker ชนิดต่างๆ ได้จากบทความ สารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ที่ควรรู้จัก


บทความโดย : ผศ.พญ.ศันสนีย์  เสนะวงษ์
ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วิตามิน ... สารอาหารที่ไม่ควรมองผ่าน

หากจะเปรียบสารอาหารพวก โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงของรถแล้ว วิตามินก็เปรียบได้เป็นน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ ที่ถึงแม้จะมีความต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้ วิตามินทำหน้าที่เป็นปัจจัยที่ช่วยให้ร่างกายนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ หากไม่มีวิตามินถึงแม้ว่าร่างกายจะได้สารอาหารชนิดอื่นเข้าไปมากเพียงใดก็ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
 
     วิตามินจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
          - ชนิดละลายในไขมัน( fat soluble vitamins ) ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
          - วิตามินที่ละลายในน้ำ ( water soluble vitamins ) ในกลุ่มวิตามินบี และวิตามินซี

 
     หน้าที่ของวิตามิน
          - วิตามินเอ ช่วยในการมองเห็น รักษาการคงสภาพของเยื่อบุผิว
          - วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
          - วิตามินอี ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ
          - วิตามินเค ช่วยในเรื่องการแข็งตัวของเลือด
          - กลุ่มวิตามินบี ช่วยในการนำสารอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนไปใช้
          - วิตามินซี ช่วยในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผิว

 
     ข้อควรระวังของวิตามิน
          วิตามิน ที่ละลายในไขมันสามารถสะสมในร่างกายจนเป็นอันตรายได้ถ้าได้รับติดต่อกันเป็น ระยะเวลานาน อย่างไรก็ดี ประชากรส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาการขาดวิตามินชนิดนี้ยกเว้นในบางท้องที่ วิตามินที่มักจะมีปัญหาในการขาด คือ กลุ่มวิตามินบี เพราะไม่มีการเก็บสะสมในร่างกาย หรือเก็บสะสมในปริมาณที่น้อยมากๆ ดังนั้นเมื่อเกิดการขาดวิตามินกลุ่มนี้ ร่างกายจะแสดงออกอย่างรวดเร็ว เช่นอาการทางระบบประสาท ท้องเสีย ชาปลายมือปลายเท้าเยื่อบุมุมปากอักเสบ การขาดวิตามินบางอย่างอาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น หัวใจวายจากการขาดวิตามินบีหนึ่ง
          ปัจจุบัน ด้วยกระแสของข้อมูลข่าวสาร ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลด้านสุขภาพมากขึ้นกับการเอาใจใส่ดูแลสุขภาพ ทำให้หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองมากขึ้นนับตั้งแต่เรื่องรับประทาน อาหาร การออกกำลังกาย และรวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งวิตามินก็เป็นจุกสำคัญที่ประชาชนให้ความสำคัญ ทำให้มีโฆษณาช่วนเชื่อเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของวิตามินในด้านต่างๆ นอกเหนือจากหน้าที่ตามปกติของวิตามิน เช่นสรรพคุณชะลอความแก่ ป้องกันมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วนั้น การรับประทานวิตามินบางชนิดในปริมาณที่สูงเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายนอกเหนือจากความสิ้นเปลือง
          ดัง นั้น การรับประทานวิตามินเพิ่มนอกเหนือจากวิตามินที่ได้จากอาหารแล้ว ควรจะพิจารณาตามความจำเป็น ความสำคัญ และงบประมาณในกระเป๋าของตนเองด้วย ส่วนใหญ่การโปรโมทผลิตภัณฑ์วิตามินจะเน้นไปที่กลุ่มคนวัยทำงาน ให้ได้รับวิตามินบีให้เพียงพอ เพราะเชื่อว่าจะช่วยในเรื่องระบบประสาท และต่อสู้กับความเครียดได้ดี อย่างไรก็ตาม ถ้าแน่ใจว่ารับประทานอาหารได้สัดส่วน หลีกเลี่ยงยาเสพติด สารกระตุ้นประสาท การทำงานของสมองก็ย่อมเป็นปกติแน่นอน การเสริมวิตามินจะทำในกรณีที่มีข้อบ่งจำเพาะ เช่นการขาดสารอาหาร ภาวะความเป็นพิษบางอย่าง ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยมะเร็งผู้ที่มีปัญหารด้านการดูดซึมสารอาหารผู้ที่มีบาดแผล

 
     เลือกซื้อวิตามินิย่างไรให้ปลอดภัย
          1.ฉลากจะต้องระบุชื่อยี่ห้อ ส่วนประกอบสำคัญ ส่วนผสมอื่นๆ อย่างชัดเจนและมีปริมาณที่แน่นอน(อาจรวมถึงฉลากข้อมูลทางโภชนาการ)
          2.ได้รับรองขึ้นจดทะเบียนตำหรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
          3.มีที่อยู่ของผู้ผลิตผู้แทนจำหน่ายชัดเจน
          4.มีวันผลิต วันหมดอายุ และวิธีการเก็บรักษา
          ใน ท้องตลาดทั่วไปจะมีวิตามินอยู่หลายสูตร บางสูตรมีวิตามินไม่กี่ชนิดแต่มีปริมาณต่อเม็ดสูง (มักนำมาใช้ในการรักษาโรค) บางชนิดมีวิตามินหลายชนิดในปริมาณน้อยใกล้เคียงกับความต้องการในแต่ละวันของ ร่างกาย วิตามินบางชนิดผสมมากับแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น สังกะสี เหล็ก ทองแดง แคลเซียม การซื้อต้องสังเกตหรือสอบถามให้ละเอียด เพราะมีผู้ป่วยบางโรคที่รับประทานแร่ธาตุบางอย่างไม่ได้ เช่นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ไม่ควรรับประทานวิตามินที่มีธาตุเหล็ก

 
วิธีรับประทาน
          ควรรับประทานหลังอาหาร เพื่อให้ค่อยๆเกิดการดูดซึมไปพร้อมกับอาหาร
          จะ เห็นว่าแม้แต่เรื่องวิตามิน ก็มีแง่มุมที่สำคัญและน่าสนใจ การใส่ใจในเรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรใส่ใจอย่างรู้เท่าทันและให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ากับตนเองให้มากที่สุด


บทความโดย: ภก. ธนกร ศิริสมุทร
ฝ่ายเภสัชกรรม 
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

พบวิธีรักษาแล้ว ธาลัสซีเมีย

ที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ  ดร.อิลแฮม อับดุลจาดาเยล นักชีววิทยาด้านเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชาวปากีสถาน เผยถึงความสำเร็จของการบำบัดโรคด้วยสเต็มเซลล์จากเลือดของผู้ป่วยเอง เป็นครั้งแรกของโลกว่า การค้นพบการบำบัดรักษาด้วยสเต็มเซลล์มีมาตั้งแต่ปี 1990 ล่าสุดนี้ ได้ค้นพบทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแบบย้อนกลับ ด้วยสเต็มเซลล์ ที่เรียกว่า Retrodifferentiated โดยการเจาะเลือดและสกัดเอาเม็ดเลือดขาวออกมา เพื่อค้นหาสเต็มเซลล์ ก่อนจะถ่ายเลือดกลับเข้าไปในตัวคนไข้อีกครั้ง วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดการติดเชื้อแทรกซ้อนจากการรับเลือดแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรมและโรคที่เกี่ยวกับเลือดหลายโรค เช่น โรคธาลัสซีเมีย ลูคีเมีย โรคซิกเคิล โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง จนสูญเสียความรู้สึกของแขน ขา ก็สามารถที่จะใช้ทฤษฎีนี้ในการรักษาได้

ดร.อิลแฮมกล่าวต่อว่า การบำบัดรักษาโรคด้วยสเต็มเซลล์ของผู้ป่วยเองที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ประเภทที่มีอาการปรากฏชัดเจนและจำเป็นต้องให้เลือดนั้น ทำให้ผู้ป่วยประสบปัญหามีความทุกข์ทรมาน โดยเฉพาะการที่ต้องให้เลือดทุกอาทิตย์ แต่ถ้าใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแบบย้อนกลับด้วยสเต็มเซลล์ อาจทำให้ระยะเวลาของการให้เลือดลดน้อยลง เช่น อาจจะเป็นเดือนละครั้งก็ได้ ทั้งนี้ ทฤษฎีนี้ได้ผ่านการทดลองรักษาผู้ป่วยชาวปากีสถานไปแล้ว 28 ราย ที่สถาบันการแพทย์และศัลยกรรมเกี่ยวกับกระดูกและข้อ (โอเอ็มไอ) นอกจากนี้ ยังรักษาผู้ป่วยสภาวะเลือดจางชาวอินเดีย ซึ่งไม่สามารถสร้างใหม่ ได้เองจำนวน 4 ราย ประสบความสำเร็จ โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบย้อนกลับของสเต็มเซลล์ ของเลือดผู้ป่วยเองในระยะเวลาอันสั้น

การค้นพบครั้งนี้ เป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะประธานาธิบดีเปอร์เวส มูซาราฟ ของปากีสถาน ได้เปิดตัวสนับสนุนโครงการศึกษานี้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นการรักษาที่ใช้เลือดของผู้ป่วยเอง ไม่ต้องรอการบริจาคเลือดจากผู้บริจาค ทำให้สามารถสกัดสเต็มเซลล์ ได้มากและสมบูรณ์ รวมทั้งสามารถควบคุมเม็ดเลือดของเราให้ไม่ต้องมีตัวฆ่าเชื้อ หรือเคมีบำบัด และเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดด้วย กระบวนการในการรักษาด้วยวิธีนี้ ใช้เวลาเพียง 8 ชม. ตั้งแต่การเจาะเลือด สกัดเม็ดเลือดขาวและเพาะหาสเต็มเซลล์จากเม็ดเลือดขาว ก่อนจะให้สเต็มเซลล์กลับเข้าไปในตัวของคนไข้ ล่าสุดพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากปัญหาระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อแขน ขา อ่อนแรง สามารถที่จะหายเป็นปกติได้ ทั้งนี้ ในวันที่ 27 ก.ค. นี้ จะเข้าไปนำเสนอความสำเร็จของการวิจัยครั้งนี้ กับคณะแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

ดร.อิลแฮมกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแบบย้อนกลับด้วยสเต็มเซลล์ ที่เรียกว่า Retrodifferentiated ได้ถูกเผยแพร่ไปในที่ต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือของสถาบันและองค์กรแพทย์ ทั้งในอังกฤษ และอเมริกา รวมทั้งสถาบันการแพทย์ของมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ในสหรัฐอเมริกาด้วย ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสำนักงานไตรสเต็มเซลล์ ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในประเทศอังกฤษ โดยได้จดสิทธิบัตรการเป็นเจ้าของทฤษฎีนี้แล้วใน 73 ประเทศทั่วโลก

ด้าน น.พ.เจฟ อัคฮา แพทย์ประจำสถาบันโอเอ็มไอ กล่าวว่า ทฤษฎีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัย จากจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 30 ราย ไม่มีผลในแง่ลบหรือเกี่ยวข้องกับสาเหตุการเสียชีวิตในระยะเวลา 13 เดือน ซึ่งคนไข้ที่เข้ารับการรักษาจะได้รับการติดตามผลเป็นเวลา 24 เดือน และในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่มีอาการปรากฏชัดเจนจำนวน 28 ราย ที่ได้รับการรักษาโดยทฤษฎีนี้ พบว่าไม่มีอันตรายในระหว่างการรักษาและไม่พบผลข้างเคียงใดๆ

สำหรับโรคธาลัสซีเมียนั้น ถือเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย โดยมีผู้ที่เป็นพาหะของโรคนี้ถึงกว่า 24 ล้านคน มีผู้ป่วยประมาณกว่า 6 ล้านคน ในประเทศไทยที่ผ่านมาการคัดกรองโรคนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยใช้วิธีการรณรงค์ให้คู่สามี ภรรยา ตรวจเลือดก่อนที่จะตัดสินใจมีบุตร หากพบว่าเป็นพาหะของโรค หรือมีความเสี่ยงสูง จะได้ระมัดระวัง หรือตัดสินใจยกเลิกการมีบุตร เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องให้เลือดตลอดชีวิต

ผลกระทบของการเสพสารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์


ขึ้นชื่อว่าสารเสพติด แน่นอนว่าย่อมก่อผลเสียต่อร่างกายทั้งต่อผู้เสพและผู้คนรอบข้าง ดังเห็นได้จากเหตุการณ์ตามหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อต่าง ๆ ทั่วไปในปัจจุบัน  แต่ ในที่นี้เราจะกล่าวถึงสุภาพสตรีที่ติดสารเสพติด และอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ อันตรายมากมายที่ถาโถมใส่ลูกน้อยในครรภ์มีมากจนคุณอาจนึกไม่ถึง เราจะมีวิธีผ่อนหนักเป็นเบา หรือป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตน้อย ๆ ในครรภ์ได้อย่างไร  เราจะยกตัวอย่างสิ่งเสพติดยอดฮิต 3 อันดับต้น ๆ ที่พบอัตราการเสพมากที่สุดในประเทศไทย ไปติดตามพร้อมกันค่ะ 


1. บุหรี่
            สารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์จะมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซติลโคลีน (acetylcholine) โดปามีน (dopamine) และนอร์อีพิเนฟริน (nor epinephrine) ส่ง ผลให้มีการขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก มีการหดตัวของหลอดเลือดดำมดลูก ทำให้เลือดผ่านรกลดลง ทารกจึงได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ มีผลให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์และเพิ่มอัตราการตายในวัยทารก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน ซุกซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว ตลอดจนมีปัญหาด้านการเข้าสังคม
            ผลดังกล่าวจะพบได้ตั้งแต่ในระยะแรกของการตั้งครรภ์จนกระทั่งทารกเกิด มีผู้ศึกษาพบว่าหากมารดาสูบบุหรี่ในช่วง 4 สัปดาห์ก่อนคลอด แม้จะเป็นการสูบบุหรี่เพียงครั้งเดียวก็จะส่งผลให้มีการยับยั้งการสร้าง DNA ของทารกได้นานหลายชั่วโมง
            นอกจากผลกระทบต่อลูกแล้ว ในส่วนของผลกระทบต่อมารดา คือทำให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น โดยอาจก่อให้เกิดหลอดเลือดสมองอุดตัน ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำชั้นลึก (deep vein thrombosis) หรือเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุด คือ หลอดลมอักเสบ” (ซึ่งพบได้มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 15 เท่า ปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ภาวะหอบหืด 3 เท่า ส่วนผลต่อการตั้งครรภ์พบว่าเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์นอกมดลูก 5 เท่า)

2. แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ)
            ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อทารกในครรภ์ พบเมื่อแม่ดื่มแอลกอฮอล์ช่วงปฏิสนธิหรือในช่วง 3 เดือน แรก ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม หากดื่มในปริมาณมากจะส่งผลให้ทารกเมื่อคลอดมีลักษณะของโรคกลุ่มอาการของทารก ที่เกิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ (Fetal alcohol syndrome, FAS) ซึ่งมีลักษณะทางร่างกายที่ผิดปกติ คือ
                  -   ช่องตาสั้น
                  -   ร่องริมฝีปากบน (Phil rum) เรียบ
                  -   ริมฝีปากบนยาวและบาง 
                  -   หนังคลุมหัวตามาก (epicanthal folds)
                  -   จมูกแบน
                  -   ปลายจมูกเชิดขึ้น
                  -   บริเวณส่วนกลางใบหน้ามีการพัฒนาน้อยกว่าปกติ (midface hypoplasia)
             แอลกอฮอล์ ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก เกิดความผิดปกติของโครงสร้างสมอง เช่น ไม่มีสมองใหญ่ (anencephaly) สมองใหญ่มีร่องผิดปกติ (schizencephaly) เยื่อหุ้มสมองและเนื้อสมองเลื่อน (lumbarmeningomyelocele) ส่วน ด้านพัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะวิตกกังวล (anxiety disorder) มีภาวะซึมเศร้า (depression) พฤติกรรมอันธพาล (conduct disorder) และมีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น อาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง และสมาธิสั้น 


3. แอมเฟตามีนและอนุพันธ์
             ได้แก่ เมตแอมเฟตามีน (ยาไอซ์ สปีด) และ 3,4-เมทิลีนไดออกซีเมตแอมเฟตามีน (ยาอี Ectasy) จะ ส่งผลให้มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะสมองตาย ทำให้มีการทำลายเซลล์ประสาท เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก ซึ่งมีผลต่อสมาธิ ความจำ และมิติสัมพันธ์ (spatial skills) และมีผลทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาวอีกด้วย

          การป้องกันที่ดีที่สุด  คือ หลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด ไม่ว่าคุณจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม เพราะผลกระทบที่ตามมาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ส่วนในรายที่ตั้งครรภ์แล้ว และยังไม่เลิกหรือเพิ่งจะเลิกใช้สารเสพติด ก็ต้องระมัดระวังทารกในครรภ์เป็นพิเศษ โดยระหว่างที่ตั้งครรภ์ ควร....
                -   หมั่นไปพบสูติแพทย์เพื่อติดตามผลของพัฒนาการทารกในครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
                -   ปฏิบัติตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัด
                -   งด ละ เลิก สิ่งเสพติดทุกชนิดอย่างเด็ดขาด
                -   หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ควรพูดจาขอความร่วมมือให้ไปสูบบุหรี่ภายนอกบ้าน เพราะควันบุหรี่มีสารพิษที่เรียกว่า ทาร์ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อทารกในครรภ์และว่าที่คุณแม่ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวมากกว่าผู้ที่สูบเองเสียเอง
            เมื่อคลอดแล้วก็ไม่ควรละเลย ควรพาทารกไปพบกุมารแพทย์เพื่อเฝ้าระวัง คัดกรอง ประเมินพัฒนาการและพฤติกรรมเป็นระยะ เพื่อหาความผิดปกติร่วมที่พบได้บ่อย เช่น ปัญหาด้านการมองเห็น การได้ยินบกพร่อง เพื่อให้การช่วยเหลือ กระตุ้นพัฒนาการโดยเร็วเพื่อลดปัญหาทางด้านการเรียนรู้และปัญหาสังคมที่จะ ตามมา

            ใน ปัจจุบันพบว่ามีการเสพสารเสพติดมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ผู้ที่มีปัญหาทางครอบครัว มีปัญหาการเข้าสังคม มีปัญหาการเรียน เป็นต้น และยิ่งถ้าหากบุคคลเหล่านี้มีการเสพสารเสพติดในระยะตั้งครรภ์ จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวมารดาตามฤทธิ์ของสารเสพติดและยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ ทั้งในแง่การเจริญเติบโต ปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม

            ทางออกที่ดีที่สุด คือ ดูแลและแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง รวดเร็วทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้ใช้สารเสพติด ที่สำคัญ ควรเลิกสารเสพติดทุกชนิดอย่างเด็ดขาด เพราะสารเสพติดส่งผลทำให้ความยับยั้งชั่งใจลดลง ทำให้มีพฤติกรรมเสี่ยง อาทิ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อแก่ทารกอย่างแน่นอน


บทความโดย: อ.พญ.สุรีย์ลักษณ์  สุจริตพงศ์  
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

โรคอ้วน: จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น "โรคอ้วน"

วามหมายของโรคอ้วน

โรคอ้วนเป็นความผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาอีกมากมาย ความหมายของโรคอ้วน ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักมากขึ้น จากการที่ร่างกายมีการสะสมไขมันไว้ในร่างกายเกินกว่าที่ควรจะเป็น สำหรับการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของส่วนอื่นๆ ของร่างกายเช่น กล้ามเนื้อ กระดูกและอวัยวะภายในของคนอ้วนมีน้อยมาก ผู้ใดที่มีน้ำหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น20% ถือว่าเป็นโรคอ้วน ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจสอบอยู่หลายวิธีตั้งแต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือการดู จากสายตา วิธีนี้ถ้าใครอ้วนมากๆก็ง่าย แต่ถ้าบางคนอ้วนไม่มากอาจบอกได้ไม่ชัดเจน

วิธีที่นิยมในปัจจุบันเพื่อ บอกให้ชัดเจนว่าผู้ใดเป็นโรคอ้วนหรือไม่? เราใช้วิธีคำนวนหาดัชนีความหนาของร่างกาย ค่าที่ได้ต้องมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป จึงจะบอกว่าเริ่มเป็นโรคอ้วน
วิธีคำนวนหา ดัชนีความหนาของร่างกาย ให้ท่านชั่งน้ำหนักสมมุติว่าได้ 60 กิโลกรัม และวัดส่วนสูงได้ 1 เมตร 50 เซนติเมตร ให้เอา 60หารด้วย 1.5 ยกกำลังสอง คำนวณออกมาได้เท่ากับ 26.66 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แสดงว่าท่านเริ่มอ้วนแล้ว เพราะค่าปกติดัชนีความหนาของร่างกายอยู่ระหว่าง 20-24.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

นอกจากนี้ อาจใช้อุปกรณ์วัดไขมันใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขนด้านหลัง ซึ่งต้องให้คนอื่นมาช่วยวัดให้
กล่าว โดยสรุป ผู้ใดมีน้ำหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น 20% ถือว่าเป็นโรคอ้วน สำหรับสูตรการคำนวณใช้วิธีหาดัชนีความหนาของร่างกาย ซึ่งเท่ากับน้ำหนักชั่งเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงวัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ค่าที่ได้ต้องไม่เกิน 25 จึงถือว่าพอดี

สเต็มเซลล์คืออะไร

imageสเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือ ที่เรียกว่าเซลล์ต้นกำเนิด

เป็นเซลล์อ่อนที่พร้อมจะเจริญเติบโต แบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ และเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เซลล์แต่ละเซลล์ในร่างกายของมนุษย์จะทำหน้าที่จำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งโดย ไม่ย้อนกลับมา ซึ่งเซลล์ที่พัฒนาไปจนสุดทางจนเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ หรือเซลล์สมอง เซลล์เหล่านี้เมื่อตายไปแล้ว จะไม่มีเซลล์ใหม่มาทดแทน ในขณะเดียวกันร่างกายของคนเราก็ยังมีเซลล์อีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถเติบโตได้ อีก โดยสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดพวกนี้สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้

สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด มีคุณสมบัติเด่นที่ เป็นปัจจัยให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสนใจเซลล์ชนิดนี้กันมาก เนื่องจากเป็นเซลล์ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง แต่สามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้ และสเต็มเซลล์เป็นเซลล์ที่มีความสามารถแบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ครั้งแล้วครั้ง เล่า
ลักษณะของสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดในร่างกายคนเรามีความพิเศษหลายประการ ในหลักการทั่วไปถือว่าสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดแตกต่างจากเซลล์ชนิดอื่นๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่มาจากแหล่งใด อาจจะเป็นสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน สเต็มเซลล์จากร่างกาย หรือสเต็มเซลล์ที่ได้มาจากการสร้างเซลล์ให้เข้าคู่กับสารพันธุกรรมของคนไข้ ได้ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการปฎิสนธิ

สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดทุกชนิดจะมีลักษณะพิเศษที่สำคัญ 3 ประการ
  1. สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดสามารถแบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ได้เป็นเวลานาน
  2. สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดเป็นเซลล์ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง
  3. สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดมีความสามารถในการเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้
ใน ช่วงปี พ.ศ. 2503–2513 ซึ่งถือว่าเป็นยุคแรกๆ ที่นักวิทยาศาสตร์เริ่มทำการศึกษาวิจัยสเต็มเซลล์จากร่างกายโดยใช้เนื้อ เยื่อที่โตเต็มวัย และยังได้นำไปทดลองใช้รักษาผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐม ภูมิ ในปี พ.ศ. 2511 เป็นครั้งแรก จากนั้นมานักวิทยาศาสตร์พยายามทำความเข้าใจ และศึกษาวิจัยเพื่ออธิบายสมบัติพื้นฐานที่สำคัญของสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด ที่ทำให้มันเป็นเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ได้ตลอดเวลาครั้งแล้ว ครั้งเล่า และสามารถแบ่งตัวได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ควบคุมการแบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ของสเต็มเซลล์ ซึ่งคำตอบที่ชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์เข้าใจขบวนการแบ่งตัวของเซลล์ ทั้งในเซลล์ตัวอ่อนหรือที่เรียกว่าเอ็มบริโอ และการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็ง ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในห้องปฏิบัติการด้วยเทคนิกที่ได้พัฒนาขึ้นมาตาม ลำดับ image
เมื่อ ในร่างกายมนุษย์มีสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่พร้อมทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งแต่ยังมีน้อยมาก จึงจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดเหล่านั้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยเอาเซลล์อ่อนที่ถูกคัดเลือกพร้อมทั้งเพิ่มจำนวนแล้วฉีดกลับเข้าไปยัง อวัยวะส่วนที่ต้องการรักษา นักวิทยาศาสตร์เล็งเห็น ความสำคัญของการนำสเต็มเซลล์มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เพื่อรักษาอาการป่วยอันเนื่องมาจากเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะเสียหายหรือเสื่อมสภาพไป โดยหวังให้สเต็มเซลล์พัฒนาไปเป็นอวัยวะที่ต้องการได้

การ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดแพร่หลายไปทั่วในหลายหน่วยงาน เป็นเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์พยายามแยกสเต็มเซลล์จากเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนของหนู เพื่อนำมาเลี้ยงในห้องทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งนักวิจัยสามารถแยกสเต็มเซลล์ออกมาได้สำเร็จ และสามารถแสดงให้เห็นว่า สเต็มเซลล์ของมนุษย์ที่แยกมาได้ และเลี้ยงในห้องปฏิบัติการสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้จริง ในปี พ.ศ. 2541 นักวิทยาศาสตร์สามารถเพาะสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์และเซลล์สืบพันธุ์ และสามารถสร้างสายพันธุ์ของเซลล์ขึ้นมาได้สำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 สเต็มเซลล์ตัวอ่อนเหล่านี้ถูกนำไปเพาะเป็นเซลล์เม็ดเลือด นับเป็นความก้าวหน้าของงานวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ครั้งสำคัญ

เมื่อไม่นานมานี้ในประเทศไทยได้มีการสัมมนาระดับชาติ เรื่องทิศทางการวิจัยและพัฒนาด้านเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ จัดโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยได้ร่างแนวปฏิบัติและประเด็นพิจารณาทางชีวจริยธรรมการ วิจัยเซลล์ต้นกำเนิดแล้วเสร็จ และถือเป็นแนวปฏิบัติฉบับแรกที่หน่วยงานให้ทุนวิจัยและพัฒนาต้องใช้เป็นแนว ทาง ซึ่งจะต้องอยู่ในขอบเขตของหลักเกณฑ์ทางด้านจริยธรรม


บทความโดย: นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ


ใช้ยาอย่างไรให้ถูกวิธี ตอนที่ 2

การใช้ยาเหน็บมีวิธีอย่างไร 
 
            ยา เหน็บ บ้านเราเป็นเมืองร้อน บางครั้งได้รับยาไปถึงบ้านมันเหลวก่อนที่จะนำไปเหน็บ เราต้องทำให้ยาแข็งก่อนที่จะใช้อาจแช่ในตู้เย็น หรือกระติกน้ำแข็ง เวลาจะเหน็บต้องอยู่ในท่านอน ลอกกระดาษออกแล้วเหน็บให้ลึกที่สุด และมือที่เหน็บต้องสะอาดด้วย

นอกจากนี้ยังมียาภายนอกอะไรบ้าง 
          มียาหยอดตา หยอดหู ข้อปฏิบัติในการใช้ก็ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนจะหยอด ตา โดยเฉพาะยาหยอดตา ก่อนหยอดมือต้องสะอาดมากๆ  ถ้าเป็นยาพวกขี้ผึ้งให้บีบยา ประมาณครึ่งเซ็นติเมตร คลึงเบาๆ อย่าให้ปลายหลอดถูกกับตา เสร็จแล้วปิดจุกให้แน่น และถึงแม้จะปิดจุกแน่น อย่างไรก็ตาม ยาที่เปิดจุกแล้วไม่ควรใช้เกิน 1 เดือน และยาน้ำให้หยด 1 - 2 หยด ยาตาไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น ยาหยอดหูก่อนใช้ให้ทำความสะอาดหู โดยใช้สำลีเช็ดบริเวณภายในหู อย่าให้ลึกจะไปโดนหูส่วนในหยอดยา 4 - 5 หยด เอียงศีรษะทิ้งไว้ครู่หนึ่งตั้งศีรษะตรงเช็ดยาส่วนที่อาจจะไหลออกมาให้สะอาด

วิธีใช้ยาอมใต้ลิ้น
          ยาอมใต้ลิ้นจะกินไม่ได้ สังเกต ว่าเวลาอมยานี้จะรู้สึกซ่า ถ้าไม่ซ่าแสดงว่ายาหมดฤทธิ์ การเก็บยาประเภทนี้ต้องอยู่ในขวดสีน้ำตาล อย่าให้ถูกแสงปิดจุกให้แน่นและเก็บไว้ในที่เย็น เพราะยานี้ส่วนใหญ่จะเป็นยาเกี่ยวกับโรคหัวใจจึงควรระวังเป็นพิเศษ

กรณีที่ลืมกินยาบางมื้อ จะไปเพิ่มจำนวนยาในมื้อต่อไปได้หรือ ไม่ หรือในกรณีที่หลับไปก่อนจะทำอย่างไร
          ห้ามเพิ่มยาหรือกินซ้ำ เพราะอาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดมากเกินไปเป็นอันตรายได้

เด็กที่กินยายาก ถ้าพ่อแม่จะผสมยาในนมได้หรือไม่
          ยาที่ผสมกับนมได้มีเพียงบางชนิดที่ผสมไม่ได้ เช่น ยาที่เข้าหลักพวกบำรุงโลหิต ถ้า ผสมนมจะไม่ได้ผล การที่จะเอายาไปผสมนมยังมีข้อเสียว่าถ้าเด็กดื่มนมไม่หมด ก็จะได้รับยาไม่ครบตามขนาดที่ต้องการ ถ้าจะเอายาผสมนม ก็ต้องให้เด็กดื่มนมให้หมด แต่ทางที่ดีแล้วอย่าผสมดีกว่าการให้ยา ถ้าผู้ป่วยนอนหลับ ก็เลื่อนเวลาไปนิดหน่อยให้ผู้ป่วยตื่นก่อน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ก็ต้องพยายามให้ผู้ป่วยตื่นก่อน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงก็ต้องพยายามให้ผู้ป่วยกินยาตรงตามเวลา ไม่เช่นนั้นโรคจะไม่หาย

จะรู้ได้อย่างไรว่ายาเสีย
          ยา ที่เปลี่ยนสี หรือรูปร่างไม่ควรกิน เพราะอาจเสื่อมคุณภาพ หรือมีสารแปลกปลอมเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นพิษได้ ยาที่ตกตะกอน ตัวยาแข็งไม่กระจาย ก็ไม่ควรกิน เพราะจะทำให้ได้รับยาไม่ตรงตามขนาดที่ต้องการ ยาเม็ด หรือแคปซูลที่เปลี่ยนสี เม็ดเคลือบแตกมีลายเกิดขึ้น ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสังเกตอายุของยาได้จากฉลากด้วย ถ้าไม่มีอายุระบุไว้ให้ดูวันผลิต ถ้าเกิน 5 ปี แล้วไม่ควรใช้

ข้อแนะนำการใช้ยา
          1. ยาก่อนอาหาร กินก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ยกเว้นยาบางชนิดที่มีข้อแนะนำพิเศษ
          2. ยาหลังอาหาร กินหลังอาหารสิบห้านาทีถึงครึ่งชั่วโมง
          3. ยาหลังอาหารทันที ให้กินหลังอาหารทันที เช่น ยาลดการอักเสบปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ
          4. ยาพร้อมอาหารกินพร้อมอาหารในมื้อนั้นๆ
          5. ยาผงผสมน้ำกินฆ่าเชื้อสำหรับเด็ก หลังจากผสมน้ำแล้วไม่ควรใช้เกิน 7 วัน ขณะที่ไม่ใช้ยาควรเก็บยาในตู้เย็นชั้นใต้ช่องแข็งลงมา ห้ามเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง
          6. ยาหยอดตา หลังเปิดใช้แล้วจะเก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 เดือน โดยทั่วไปจะเก็บในตู้เย็นชั้นใต้ช่องแข็งลงมา ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง
          7. ยาป้ายตา หลังเปิดใช้แล้วจะเก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ
          8. ยาเก็บในตู้เย็น เก็บในอุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส หรือชั้นใต้ช่องแข็งลงมา ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง
          9. การเก็บรักษายาทั่วไป ควรเก็บไว้ในที่แห้ง และพ้นจากแสงแดด
        10. อาการแพ้ยา หากกินยาแล้วมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีผื่นคันตามตัว มีจ้ำที่ผิวหนัง หน้ามืด แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือใจสั่น ให้หยุดยา และมาปรึกษาแพทย์ทันที






บทความโดย: เภสัชกรมนตรี  สุวณิชย์   ฝ่ายเภสัชกรรม
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บทความสุขภาพที่เีกี่ยวข้อง