ขึ้นชื่อว่าสารเสพติด แน่นอนว่าย่อมก่อผลเสียต่อร่างกายทั้งต่อผู้เสพและผู้คนรอบข้าง ดังเห็นได้จากเหตุการณ์ตามหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อต่าง ๆ ทั่วไปในปัจจุบัน แต่ ในที่นี้เราจะกล่าวถึงสุภาพสตรีที่ติดสารเสพติด และอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ อันตรายมากมายที่ถาโถมใส่ลูกน้อยในครรภ์มีมากจนคุณอาจนึกไม่ถึง เราจะมีวิธีผ่อนหนักเป็นเบา หรือป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตน้อย ๆ ในครรภ์ได้อย่างไร เราจะยกตัวอย่างสิ่งเสพติดยอดฮิต 3 อันดับต้น ๆ ที่พบอัตราการเสพมากที่สุดในประเทศไทย ไปติดตามพร้อมกันค่ะ
1. บุหรี่
สารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์จะมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซติลโคลีน (acetylcholine) โดปามีน (dopamine) และนอร์อีพิเนฟริน (nor epinephrine) ส่ง ผลให้มีการขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก มีการหดตัวของหลอดเลือดดำมดลูก ทำให้เลือดผ่านรกลดลง ทารกจึงได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ มีผลให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์และเพิ่มอัตราการตายในวัยทารก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน ซุกซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว ตลอดจนมีปัญหาด้านการเข้าสังคม
ผลดังกล่าวจะพบได้ตั้งแต่ในระยะแรกของการตั้งครรภ์จนกระทั่งทารกเกิด มีผู้ศึกษาพบว่าหากมารดาสูบบุหรี่ในช่วง 4 สัปดาห์ก่อนคลอด แม้จะเป็นการสูบบุหรี่เพียงครั้งเดียวก็จะส่งผลให้มีการยับยั้งการสร้าง DNA ของทารกได้นานหลายชั่วโมง
นอกจากผลกระทบต่อลูกแล้ว ในส่วนของผลกระทบต่อมารดา คือทำให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น”โรคหลอดเลือดอุดตัน” เพิ่มขึ้น โดยอาจก่อให้เกิดหลอดเลือดสมองอุดตัน ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำชั้นลึก (deep vein thrombosis) หรือเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุด คือ “หลอดลมอักเสบ” (ซึ่งพบได้มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 15 เท่า ปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ภาวะหอบหืด 3 เท่า ส่วนผลต่อการตั้งครรภ์พบว่าเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์นอกมดลูก 5 เท่า)
2. แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ)
ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อทารกในครรภ์ พบเมื่อแม่ดื่มแอลกอฮอล์ช่วงปฏิสนธิหรือในช่วง 3 เดือน แรก ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม หากดื่มในปริมาณมากจะส่งผลให้ทารกเมื่อคลอดมีลักษณะของโรคกลุ่มอาการของทารก ที่เกิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ (Fetal alcohol syndrome, FAS) ซึ่งมีลักษณะทางร่างกายที่ผิดปกติ คือ
- ช่องตาสั้น
- ร่องริมฝีปากบน (Phil rum) เรียบ
- ริมฝีปากบนยาวและบาง
- หนังคลุมหัวตามาก (epicanthal folds)
- จมูกแบน
- ปลายจมูกเชิดขึ้น
- บริเวณส่วนกลางใบหน้ามีการพัฒนาน้อยกว่าปกติ (midface hypoplasia)
แอลกอฮอล์ ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก เกิดความผิดปกติของโครงสร้างสมอง เช่น ไม่มีสมองใหญ่ (anencephaly) สมองใหญ่มีร่องผิดปกติ (schizencephaly) เยื่อหุ้มสมองและเนื้อสมองเลื่อน (lumbarmeningomyelocele) ส่วน ด้านพัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะวิตกกังวล (anxiety disorder) มีภาวะซึมเศร้า (depression) พฤติกรรมอันธพาล (conduct disorder) และมีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น อาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง และสมาธิสั้น
สารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์จะมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซติลโคลีน (acetylcholine) โดปามีน (dopamine) และนอร์อีพิเนฟริน (nor epinephrine) ส่ง ผลให้มีการขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก มีการหดตัวของหลอดเลือดดำมดลูก ทำให้เลือดผ่านรกลดลง ทารกจึงได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ มีผลให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์และเพิ่มอัตราการตายในวัยทารก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน ซุกซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว ตลอดจนมีปัญหาด้านการเข้าสังคม
ผลดังกล่าวจะพบได้ตั้งแต่ในระยะแรกของการตั้งครรภ์จนกระทั่งทารกเกิด มีผู้ศึกษาพบว่าหากมารดาสูบบุหรี่ในช่วง 4 สัปดาห์ก่อนคลอด แม้จะเป็นการสูบบุหรี่เพียงครั้งเดียวก็จะส่งผลให้มีการยับยั้งการสร้าง DNA ของทารกได้นานหลายชั่วโมง
นอกจากผลกระทบต่อลูกแล้ว ในส่วนของผลกระทบต่อมารดา คือทำให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น”โรคหลอดเลือดอุดตัน” เพิ่มขึ้น โดยอาจก่อให้เกิดหลอดเลือดสมองอุดตัน ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำชั้นลึก (deep vein thrombosis) หรือเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุด คือ “หลอดลมอักเสบ” (ซึ่งพบได้มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 15 เท่า ปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ภาวะหอบหืด 3 เท่า ส่วนผลต่อการตั้งครรภ์พบว่าเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์นอกมดลูก 5 เท่า)
2. แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ)
ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อทารกในครรภ์ พบเมื่อแม่ดื่มแอลกอฮอล์ช่วงปฏิสนธิหรือในช่วง 3 เดือน แรก ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม หากดื่มในปริมาณมากจะส่งผลให้ทารกเมื่อคลอดมีลักษณะของโรคกลุ่มอาการของทารก ที่เกิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ (Fetal alcohol syndrome, FAS) ซึ่งมีลักษณะทางร่างกายที่ผิดปกติ คือ
- ช่องตาสั้น
- ร่องริมฝีปากบน (Phil rum) เรียบ
- ริมฝีปากบนยาวและบาง
- หนังคลุมหัวตามาก (epicanthal folds)
- จมูกแบน
- ปลายจมูกเชิดขึ้น
- บริเวณส่วนกลางใบหน้ามีการพัฒนาน้อยกว่าปกติ (midface hypoplasia)
แอลกอฮอล์ ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก เกิดความผิดปกติของโครงสร้างสมอง เช่น ไม่มีสมองใหญ่ (anencephaly) สมองใหญ่มีร่องผิดปกติ (schizencephaly) เยื่อหุ้มสมองและเนื้อสมองเลื่อน (lumbarmeningomyelocele) ส่วน ด้านพัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะวิตกกังวล (anxiety disorder) มีภาวะซึมเศร้า (depression) พฤติกรรมอันธพาล (conduct disorder) และมีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น อาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง และสมาธิสั้น
3. แอมเฟตามีนและอนุพันธ์
ได้แก่ เมตแอมเฟตามีน (ยาไอซ์ สปีด) และ 3,4-เมทิลีนไดออกซีเมตแอมเฟตามีน (ยาอี Ectasy) จะ ส่งผลให้มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะสมองตาย ทำให้มีการทำลายเซลล์ประสาท เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก ซึ่งมีผลต่อสมาธิ ความจำ และมิติสัมพันธ์ (spatial skills) และมีผลทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาวอีกด้วย
ได้แก่ เมตแอมเฟตามีน (ยาไอซ์ สปีด) และ 3,4-เมทิลีนไดออกซีเมตแอมเฟตามีน (ยาอี Ectasy) จะ ส่งผลให้มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะสมองตาย ทำให้มีการทำลายเซลล์ประสาท เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก ซึ่งมีผลต่อสมาธิ ความจำ และมิติสัมพันธ์ (spatial skills) และมีผลทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาวอีกด้วย
การป้องกันที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด ไม่ว่าคุณจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม เพราะผลกระทบที่ตามมาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ส่วนในรายที่ตั้งครรภ์แล้ว และยังไม่เลิกหรือเพิ่งจะเลิกใช้สารเสพติด ก็ต้องระมัดระวังทารกในครรภ์เป็นพิเศษ โดยระหว่างที่ตั้งครรภ์ ควร....
- หมั่นไปพบสูติแพทย์เพื่อติดตามผลของพัฒนาการทารกในครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัด
- งด ละ เลิก สิ่งเสพติดทุกชนิดอย่างเด็ดขาด
- หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ควรพูดจาขอความร่วมมือให้ไปสูบบุหรี่ภายนอกบ้าน เพราะควันบุหรี่มีสารพิษที่เรียกว่า “ทาร์” ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อทารกในครรภ์และว่าที่คุณแม่ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวมากกว่าผู้ที่สูบเองเสียเอง
เมื่อคลอดแล้วก็ไม่ควรละเลย ควรพาทารกไปพบกุมารแพทย์เพื่อเฝ้าระวัง คัดกรอง ประเมินพัฒนาการและพฤติกรรมเป็นระยะ เพื่อหาความผิดปกติร่วมที่พบได้บ่อย เช่น ปัญหาด้านการมองเห็น การได้ยินบกพร่อง เพื่อให้การช่วยเหลือ กระตุ้นพัฒนาการโดยเร็วเพื่อลดปัญหาทางด้านการเรียนรู้และปัญหาสังคมที่จะ ตามมา- หมั่นไปพบสูติแพทย์เพื่อติดตามผลของพัฒนาการทารกในครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัด
- งด ละ เลิก สิ่งเสพติดทุกชนิดอย่างเด็ดขาด
- หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ควรพูดจาขอความร่วมมือให้ไปสูบบุหรี่ภายนอกบ้าน เพราะควันบุหรี่มีสารพิษที่เรียกว่า “ทาร์” ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อทารกในครรภ์และว่าที่คุณแม่ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวมากกว่าผู้ที่สูบเองเสียเอง
ใน ปัจจุบันพบว่ามีการเสพสารเสพติดมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ผู้ที่มีปัญหาทางครอบครัว มีปัญหาการเข้าสังคม มีปัญหาการเรียน เป็นต้น และยิ่งถ้าหากบุคคลเหล่านี้มีการเสพสารเสพติดในระยะตั้งครรภ์ จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวมารดาตามฤทธิ์ของสารเสพติดและยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ ทั้งในแง่การเจริญเติบโต ปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม
ทางออกที่ดีที่สุด คือ ดูแลและแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง รวดเร็วทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้ใช้สารเสพติด ที่สำคัญ ควรเลิกสารเสพติดทุกชนิดอย่างเด็ดขาด เพราะสารเสพติดส่งผลทำให้ความยับยั้งชั่งใจลดลง ทำให้มีพฤติกรรมเสี่ยง อาทิ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อแก่ทารกอย่างแน่นอน
บทความโดย: อ.พญ.สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น