1. อ่านฉลากยาให้เข้าใจก่อนใช้ยา หากมีข้อสงสัยควรสอบถามเภสัชกรที่จ่ายยา
2. ไม่เปลี่ยนภาชนะบรรจุยาเพราะจะทำให้ไม่มีฉลากวิธีใช้และวันหมดอายุ และยาบางชนิดต้องใช้ภาชนะที่เหมาะสม เช่น ป้องกันแสง ป้องกันความชื้น
3. กินยาหรือใช้ยาตามที่ระบุในฉลาก ห้ามเพิ่มขนาดหรือลดขนาดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
4. ถ้าลืมกินยาให้รับประทานทันทีที่นึกได้ ยกเว้นนึกได้เมื่อใกล้จะถึงเวลากินยามื้อต่อไป ก็ไม่ต้องกินมื้อที่ลืม แต่ให้กินตามตารางเวลาปกติต่อไป ห้ามเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าเด็ดขาด
5. เมื่อเกิดอาการข้างเคียง ควรตรวจสอบที่ฉลากยาหรือเอกสารกำกับยาในกล่อง ถ้ามีอาการมากหรืออาการไม่ตรงกับที่เอกสารระบุไว้ควรกลับไปปรึกษาเภสัชกรที่ จ่ายยาหรือเภสัชกรใกล้บ้าน
6. ถ้าท่านแพ้ยา ต้องจดชื่อยาที่แพ้ติดตัวไว้ และแสดงแก่แพทย์และเภสัชกรทุกครั้งที่จะรับการตรวจรักษาหรือรับยา
7. ใช้ยาให้ครบตามจำนวนที่แพทย์สั่ง ยกเว้นยาที่กินบรรเทาอาการ เช่น ลดน้ำมูก แก้ปวด เมื่อไม่มีอาการอาจหยุดยาได้
8. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลมชัก โรคหัวใจ ฯลฯ ต้องได้รับยาสม่ำเสมอทุกวัน เวลาเดียวกัน หากเดินทางไปพักผ่อนไกลๆควรมียาไปให้เพียงพอ ถ้าพบว่ายาอาจไม่พอควรกลับมาพบแพทย์ให้สั่งยาเพิ่มได้แม้ว่าจะยังไม่ถึงวัน นัด
9. ไม่ควรผสมยาในนมให้เด็กรับประทาน เพราะนมอาจทำปฏิกริยาให้ยาเสื่อมคุณภาพได้ และถ้าเด็กกินนมไม่หมด ก็จะได้ยาไม่ครบตามขนาดที่ควรได้
10. ยาบางชนิดไม่สามารถผสมในน้ำส้มหรือน้ำอัดลมได้เพราะน้ำนั้นมีสภาพเป็นกรดทำให้ ยาเสื่อมไป ควรผสมน้ำธรรมดา และควรผสมทันทีเมื่อจะรับประทานเท่านั้น ไม่ควรผสมทิ้งไว้
11. เก็บรักษายาในที่ แห้ง แสงแดดส่องไม่ถึง ไม่ร้อน ไม่ชื้น และต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็ก
12. เมื่อยาเปลี่ยนลักษณะไป เช่น เปลี่ยนสี ผุกร่อน ชื้นหรือเปียกเยิ้ม ราขึ้น เขย่าไม่เข้ากัน มีกลิ่นหรือรสชาดไม่เหมือนเดิม ควรทิ้งไปแม้จะยังไม่ถึงวันหมดอายุก็ตาม
13. ถ้าที่ฉลากไม่ระบุให้เก็บยาในตู้เย็น ไม่ควรเก็บในตู้เย็น เพราะยาจะชื้น ถ้าเป็นยาน้ำบางชนิดอาจตกตะกอนได้
14. ถ้าจะซื้อยารับประทานควรบอกเภสัชกรว่ามีโรคประจำตัวอะไร และใช้ยาอะไรอยู่ หรือเอายาที่รับประทานอยู่ไปให้ดู เพราะยาบางอย่างอาจแสลงกับโรคหรือยาของท่านได้
2. ไม่เปลี่ยนภาชนะบรรจุยาเพราะจะทำให้ไม่มีฉลากวิธีใช้และวันหมดอายุ และยาบางชนิดต้องใช้ภาชนะที่เหมาะสม เช่น ป้องกันแสง ป้องกันความชื้น
3. กินยาหรือใช้ยาตามที่ระบุในฉลาก ห้ามเพิ่มขนาดหรือลดขนาดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
4. ถ้าลืมกินยาให้รับประทานทันทีที่นึกได้ ยกเว้นนึกได้เมื่อใกล้จะถึงเวลากินยามื้อต่อไป ก็ไม่ต้องกินมื้อที่ลืม แต่ให้กินตามตารางเวลาปกติต่อไป ห้ามเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าเด็ดขาด
5. เมื่อเกิดอาการข้างเคียง ควรตรวจสอบที่ฉลากยาหรือเอกสารกำกับยาในกล่อง ถ้ามีอาการมากหรืออาการไม่ตรงกับที่เอกสารระบุไว้ควรกลับไปปรึกษาเภสัชกรที่ จ่ายยาหรือเภสัชกรใกล้บ้าน
6. ถ้าท่านแพ้ยา ต้องจดชื่อยาที่แพ้ติดตัวไว้ และแสดงแก่แพทย์และเภสัชกรทุกครั้งที่จะรับการตรวจรักษาหรือรับยา
7. ใช้ยาให้ครบตามจำนวนที่แพทย์สั่ง ยกเว้นยาที่กินบรรเทาอาการ เช่น ลดน้ำมูก แก้ปวด เมื่อไม่มีอาการอาจหยุดยาได้
8. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลมชัก โรคหัวใจ ฯลฯ ต้องได้รับยาสม่ำเสมอทุกวัน เวลาเดียวกัน หากเดินทางไปพักผ่อนไกลๆควรมียาไปให้เพียงพอ ถ้าพบว่ายาอาจไม่พอควรกลับมาพบแพทย์ให้สั่งยาเพิ่มได้แม้ว่าจะยังไม่ถึงวัน นัด
9. ไม่ควรผสมยาในนมให้เด็กรับประทาน เพราะนมอาจทำปฏิกริยาให้ยาเสื่อมคุณภาพได้ และถ้าเด็กกินนมไม่หมด ก็จะได้ยาไม่ครบตามขนาดที่ควรได้
10. ยาบางชนิดไม่สามารถผสมในน้ำส้มหรือน้ำอัดลมได้เพราะน้ำนั้นมีสภาพเป็นกรดทำให้ ยาเสื่อมไป ควรผสมน้ำธรรมดา และควรผสมทันทีเมื่อจะรับประทานเท่านั้น ไม่ควรผสมทิ้งไว้
11. เก็บรักษายาในที่ แห้ง แสงแดดส่องไม่ถึง ไม่ร้อน ไม่ชื้น และต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็ก
12. เมื่อยาเปลี่ยนลักษณะไป เช่น เปลี่ยนสี ผุกร่อน ชื้นหรือเปียกเยิ้ม ราขึ้น เขย่าไม่เข้ากัน มีกลิ่นหรือรสชาดไม่เหมือนเดิม ควรทิ้งไปแม้จะยังไม่ถึงวันหมดอายุก็ตาม
13. ถ้าที่ฉลากไม่ระบุให้เก็บยาในตู้เย็น ไม่ควรเก็บในตู้เย็น เพราะยาจะชื้น ถ้าเป็นยาน้ำบางชนิดอาจตกตะกอนได้
14. ถ้าจะซื้อยารับประทานควรบอกเภสัชกรว่ามีโรคประจำตัวอะไร และใช้ยาอะไรอยู่ หรือเอายาที่รับประทานอยู่ไปให้ดู เพราะยาบางอย่างอาจแสลงกับโรคหรือยาของท่านได้
บทความโดย: ภญ.วิมล อนันต์สกุลวัฒน์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น