ใช้ยาอย่างไรให้ถูกวิธี ตอนที่ 2

การใช้ยาเหน็บมีวิธีอย่างไร 
 
            ยา เหน็บ บ้านเราเป็นเมืองร้อน บางครั้งได้รับยาไปถึงบ้านมันเหลวก่อนที่จะนำไปเหน็บ เราต้องทำให้ยาแข็งก่อนที่จะใช้อาจแช่ในตู้เย็น หรือกระติกน้ำแข็ง เวลาจะเหน็บต้องอยู่ในท่านอน ลอกกระดาษออกแล้วเหน็บให้ลึกที่สุด และมือที่เหน็บต้องสะอาดด้วย

นอกจากนี้ยังมียาภายนอกอะไรบ้าง 
          มียาหยอดตา หยอดหู ข้อปฏิบัติในการใช้ก็ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนจะหยอด ตา โดยเฉพาะยาหยอดตา ก่อนหยอดมือต้องสะอาดมากๆ  ถ้าเป็นยาพวกขี้ผึ้งให้บีบยา ประมาณครึ่งเซ็นติเมตร คลึงเบาๆ อย่าให้ปลายหลอดถูกกับตา เสร็จแล้วปิดจุกให้แน่น และถึงแม้จะปิดจุกแน่น อย่างไรก็ตาม ยาที่เปิดจุกแล้วไม่ควรใช้เกิน 1 เดือน และยาน้ำให้หยด 1 - 2 หยด ยาตาไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น ยาหยอดหูก่อนใช้ให้ทำความสะอาดหู โดยใช้สำลีเช็ดบริเวณภายในหู อย่าให้ลึกจะไปโดนหูส่วนในหยอดยา 4 - 5 หยด เอียงศีรษะทิ้งไว้ครู่หนึ่งตั้งศีรษะตรงเช็ดยาส่วนที่อาจจะไหลออกมาให้สะอาด

วิธีใช้ยาอมใต้ลิ้น
          ยาอมใต้ลิ้นจะกินไม่ได้ สังเกต ว่าเวลาอมยานี้จะรู้สึกซ่า ถ้าไม่ซ่าแสดงว่ายาหมดฤทธิ์ การเก็บยาประเภทนี้ต้องอยู่ในขวดสีน้ำตาล อย่าให้ถูกแสงปิดจุกให้แน่นและเก็บไว้ในที่เย็น เพราะยานี้ส่วนใหญ่จะเป็นยาเกี่ยวกับโรคหัวใจจึงควรระวังเป็นพิเศษ

กรณีที่ลืมกินยาบางมื้อ จะไปเพิ่มจำนวนยาในมื้อต่อไปได้หรือ ไม่ หรือในกรณีที่หลับไปก่อนจะทำอย่างไร
          ห้ามเพิ่มยาหรือกินซ้ำ เพราะอาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดมากเกินไปเป็นอันตรายได้

เด็กที่กินยายาก ถ้าพ่อแม่จะผสมยาในนมได้หรือไม่
          ยาที่ผสมกับนมได้มีเพียงบางชนิดที่ผสมไม่ได้ เช่น ยาที่เข้าหลักพวกบำรุงโลหิต ถ้า ผสมนมจะไม่ได้ผล การที่จะเอายาไปผสมนมยังมีข้อเสียว่าถ้าเด็กดื่มนมไม่หมด ก็จะได้รับยาไม่ครบตามขนาดที่ต้องการ ถ้าจะเอายาผสมนม ก็ต้องให้เด็กดื่มนมให้หมด แต่ทางที่ดีแล้วอย่าผสมดีกว่าการให้ยา ถ้าผู้ป่วยนอนหลับ ก็เลื่อนเวลาไปนิดหน่อยให้ผู้ป่วยตื่นก่อน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ก็ต้องพยายามให้ผู้ป่วยตื่นก่อน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงก็ต้องพยายามให้ผู้ป่วยกินยาตรงตามเวลา ไม่เช่นนั้นโรคจะไม่หาย

จะรู้ได้อย่างไรว่ายาเสีย
          ยา ที่เปลี่ยนสี หรือรูปร่างไม่ควรกิน เพราะอาจเสื่อมคุณภาพ หรือมีสารแปลกปลอมเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นพิษได้ ยาที่ตกตะกอน ตัวยาแข็งไม่กระจาย ก็ไม่ควรกิน เพราะจะทำให้ได้รับยาไม่ตรงตามขนาดที่ต้องการ ยาเม็ด หรือแคปซูลที่เปลี่ยนสี เม็ดเคลือบแตกมีลายเกิดขึ้น ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสังเกตอายุของยาได้จากฉลากด้วย ถ้าไม่มีอายุระบุไว้ให้ดูวันผลิต ถ้าเกิน 5 ปี แล้วไม่ควรใช้

ข้อแนะนำการใช้ยา
          1. ยาก่อนอาหาร กินก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ยกเว้นยาบางชนิดที่มีข้อแนะนำพิเศษ
          2. ยาหลังอาหาร กินหลังอาหารสิบห้านาทีถึงครึ่งชั่วโมง
          3. ยาหลังอาหารทันที ให้กินหลังอาหารทันที เช่น ยาลดการอักเสบปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ
          4. ยาพร้อมอาหารกินพร้อมอาหารในมื้อนั้นๆ
          5. ยาผงผสมน้ำกินฆ่าเชื้อสำหรับเด็ก หลังจากผสมน้ำแล้วไม่ควรใช้เกิน 7 วัน ขณะที่ไม่ใช้ยาควรเก็บยาในตู้เย็นชั้นใต้ช่องแข็งลงมา ห้ามเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง
          6. ยาหยอดตา หลังเปิดใช้แล้วจะเก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 เดือน โดยทั่วไปจะเก็บในตู้เย็นชั้นใต้ช่องแข็งลงมา ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง
          7. ยาป้ายตา หลังเปิดใช้แล้วจะเก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ
          8. ยาเก็บในตู้เย็น เก็บในอุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส หรือชั้นใต้ช่องแข็งลงมา ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง
          9. การเก็บรักษายาทั่วไป ควรเก็บไว้ในที่แห้ง และพ้นจากแสงแดด
        10. อาการแพ้ยา หากกินยาแล้วมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีผื่นคันตามตัว มีจ้ำที่ผิวหนัง หน้ามืด แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือใจสั่น ให้หยุดยา และมาปรึกษาแพทย์ทันที






บทความโดย: เภสัชกรมนตรี  สุวณิชย์   ฝ่ายเภสัชกรรม
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

บทความสุขภาพที่เีกี่ยวข้อง