อีกบทบาทหนึ่งของนักกิจกรรมบำบัดในการใช้กิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นเซลล์สมองให้ออกกำลัง เพราะร่างกายต้องการการออกกำลังเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงฉันใด เหตุใดสมองจึงไม่ต้องการการออกกำลังเพื่อป้องกันสมองฝ่อลีบเล่า
นักวิจัยพบว่าสมองส่วน Cerebral Cortex ของมนุษย์ สามารถสร้างเครือข่ายประสาท (Nerve Plexus) ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ แม้ว่ามนุษย์ผู้นั้นจะมีอายุมากขึ้น แต่เครือข่ายเหล่านี้ก็ไม่หยุดเชื่อมต่อระหว่างกัน ซึ่งสรุปได้ว่าจำนวนเครือข่ายประสาทเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกว่าคนคนนั้น จะมีอายุยืนยาวหรือไม่ ซึ่งโดยปกติเครือข่ายประสาทจะถูกสร้างเพิ่มขึ้นด้วยการออกกำลังสมอง
ปัจจุบันพบว่า ถึงแม้เซลล์สมองจะลดลงในผู้สูงอายุ แต่ถ้ามีการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์มากขึ้น เซลล์เหล่านี้จะไปทดแทนและทำหน้าที่แทนเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งทำให้สมองยังคงมีประสิทธิภาพทั้งๆที่อายุมากขึ้น จากงานวิจัยพบว่าคนทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือความจำ จะอายุยืนยาวกว่าคนที่ทำงานโดยไม่ต้องใช้สมอง เช่น งานซักรีดประจำวัน ซึ่งโดยมากใช้ความเคยชินในการทำงาน ดังนั้นเราไม่ควรปล่อยให้สมองอยู่เฉยๆ แต่ควรจะต้องใช้สมองทำงาน ซึ่งจะทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การมีอายุยืนยาวขึ้น หากเราละเลย ไม่ใช้สมอง ก็จะทำให้สมองเสื่อมและเหี่ยวแฟบลงในที่สุด
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะไม่สามารถจำเหตุการณ์ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นได้ เพราะประสบการณ์ชีวิตของท่านเหล่านั้นสอนให้ท่านจำแต่เรื่องที่จำเป็น โดยสมองจะคัดเรื่องที่ไม่สำคัญทิ้งไป เพื่อให้สมองไม่ทำงานหนักเกินไป ดังนั้นถ้าเราต้องการป้องกันสมองถดถอย เราจะต้องใช้สมองทำงานหลายอย่าง เช่น ถ้าเราเก่งคำนวณ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิทยาศาสตร์ เราควรจะรู้ด้านศิลปะด้วย โดยอาจจะฝึกเล่นดนตรีและวาดภาพ ขณะเดียวกันถ้าเราเป็นนักดนตรี เราควรเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านวิทยาศาสตร์ การทำเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นให้สมองอีกด้านหนึ่งทำงาน เป็นการป้องกันไม่ให้สมองทำงานหนักเกินไปเพียงด้านเดียว
ดังนั้นเราควรสนใจหัดเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์บ้างในบางครั้งบางคราว ซึ่งการทำสิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อนจะช่วยกระตุ้นเซลล์สมองให้สร้างเครือข่ายประสาทเพื่อเชื่อมต่อกับเซลล์สมองอื่นๆ ในกระบวนการทำงานหรือการเรียน เป็นอีกกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้สมองสร้างเครือข่ายและเชื่อมกับระบบประสาท ซึ่งจะทำให้เราสามารถใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดอาการสมองถดถอยลงทำให้อายุของเรายืนยาวขึ้น ซึ่งช่วยให้เราสนุกกับการทำกิจกรรมในชีวิตต่อไป
เทคนิควิธีการง่ายๆ ที่จะช่วยออกกำลังสมอง
1. พยายามเดินถอยหลังแทนการเดินไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว
2. พยายามนับเลขถอยหลัง เช่น 100, 99, 98 .... แทนการนับแบบปกติ 1, 2, 3 ....
3. ถ้าเคยชินกับการเขียนด้วยมือขวา ก็ลองใช้มือ ซ้ายหัดเขียน ในทำนองเดียวกันถ้าถนัดซ้าย ก็หัดเขียนด้วยมือขวา แล้วจะพบว่าในที่สุดเราสามารถใช้ทั้งมือขวาหรือมือซ้ายเขียนได้
4. ถ้าเป็นพนักงานบัญชีและทำงานกับตัวเลขทั้งวัน ลองพยายามหัดทำงานในเชิงศิลปะ เช่น ทำสร้อยข้อมือหรือสร้อยคอจากหินสีต่างๆ ทำงานเพ็นต์สีลายกระจกหรือขวด หรือหัดทำเค้กรูปแบบและลายต่างๆ
5. ถ้าทำงานสำนักงานและต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ ในห้องเย็นๆ ทั้งวัน หลังเลิกงานควรหากิจกรรม ที่จะกระตุ้นร่างกายให้เคลื่อนไหว เช่น ลีลาศหรือเต้นรำในจังหวะต่างๆ ว่ายน้ำ ดำน้ำ หรือ โยคะ เป็นต้น
6. ถ้าทำงานด้านศิลปะอยู่แล้ว ให้หัดเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ เรียนการใช้ลูกคิดแบบญี่ปุ่น หรือหัดขับรถโกคาร์ท (Go Kart) เป็นต้น
7. ถ้าเป็นนักกีฬาอาชีพ และใช้กำลังทางร่างกายอยู่เสมอ อาจจะต้องพยายามใช้สมองเพื่อการคิด เช่น เล่นเกมส์ปริศนาอักษรไขว้ (Crossword) หรือเรียนภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อช่วยให้เกิดความคิดในการออกกำลังสมองทั้ง 2 ด้าน และทำให้มีการสร้างเครือข่ายประสาท (Nerve Plexus) เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายมากขึ้น เท่านี้ก็สามารถป้องกันสมองฝ่อได้โดยไม่ต้องใช้ยา
ความลับคือ ถ้าเราทำงานอาชีพด้านใด ให้พยายามทำสิ่งตรงข้ามกับงานอาชีพที่ทำเป็นประจำ เพื่อให้สมองได้รับการกระตุ้นและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้สมองไม่ทำงานด้านเดียวหนักเกินไป
7. ถ้าเป็นนักกีฬาอาชีพ และใช้กำลังทางร่างกายอยู่เสมอ อาจจะต้องพยายามใช้สมองเพื่อการคิด เช่น เล่นเกมส์ปริศนาอักษรไขว้ (Crossword) หรือเรียนภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อช่วยให้เกิดความคิดในการออกกำลังสมองทั้ง 2 ด้าน และทำให้มีการสร้างเครือข่ายประสาท (Nerve Plexus) เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายมากขึ้น เท่านี้ก็สามารถป้องกันสมองฝ่อได้โดยไม่ต้องใช้ยา
ความลับคือ ถ้าเราทำงานอาชีพด้านใด ให้พยายามทำสิ่งตรงข้ามกับงานอาชีพที่ทำเป็นประจำ เพื่อให้สมองได้รับการกระตุ้นและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้สมองไม่ทำงานด้านเดียวหนักเกินไป
“เริ่มเสียแต่วันนี้ อย่ารอจนคุณแก่เกินแก้ไข”
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น