ยิ่งแก่ตัว กระดูกคอยิ่งเสื่อม

ยิ่งแก่ตัว กระดูกคอยิ่งเสื่อม

คุณเคยไหม ที่เวลาหันศีรษะแล้วมีเสียงดังกร๊อบ ๆ บริเวณต้นคอ หรือมีอาการปวดคอ อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อขยับและเคลื่อนไหวคอ ถ้ามีอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังจะเป็น “โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ตามความเสื่อมถอยของร่ายกาย และอายุ ส่วนไหนที่ถูกใช้งานมากและบ่อย ๆ ก็จะเสื่อมเร็วกว่าส่วนที่ใช้งานน้อย โดยปกตินั้นกระดูกสันหลังคอจะมีการเคลื่อนไหวมากครั้งในแต่ละชั่วโมง และยังจะต้องรับแรงกด แรงบิดและแรงตึงเครียดอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ทำให้เป็นโรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

โดยปกติแล้วคนเรานั้นคอจะเริ่มเสื่อมโดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อมีอายุระหว่าง 35-40 ปี ความสามารถของการเคลื่อนไหวบริเวณคอจะเริ่มเสียไปทีละน้อย ทำให้มีอาการปวดคอเมื่อพยายามเหลียวคอเต็มที่ และมีอาการปวดคอมาแทรกซ้อน เมื่อเราฝืนให้ข้อทำงานเกินกำลัง การแก่ตัวของข้อกระดูกคอยังอาจก่อให้เกิดกระดูกงอกตามข้อได้ ซึ่งถ้างอกได้เกินขนาด จะทำให้มีอาการปวดลงแขน มือ และนิ้วได้ ในรายที่มีกระดูกงอกมาก อาจจะมีอาการชาที่นิ้วมือ หรือแขน และทำให้แขนและมืออ่อนแรงได้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะปล่อยปละละเลยคอได้อย่างไร แก้ก่อนที่จะสาย ก่อนที่คอจะเสื่อม สร้างความทุกข์ใจให้เราตลอดชีวิต
ซึ่งการบริหารเป็นประจำ รวมทั้งการนวด หรือใช้การออกกำลังการกล้ามเนื้อ มีโอกาสช่วยให้อาการบรรเทาได้ เนื่องจากกระดูกอักเสบ อาจจะต้องการใช้การบริหาร หรือนวดบ่อยครั้ง เมื่อมีอาการกำเริบ อาจจะต้องทำกายภาพบำบัดไปด้วย ดังนี้ เมื่อทานอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ไม่ควรใช้เสื่อผ้ารัดแน่นเกินไป ไม่ควรตากแอร์ ตากลมตรง ๆ ไม่ว่าในท่าเดินหรือท่ายืน ศีรษะก็ควรจะอยู่ตั้งตรงบนลำตัว ไม่ควรก้มศีรษะลง การโน้มศีรษะลงขณะอ่านหนังสือจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอทำงานมากกว่าปกติ

หากมีอาการเกี่ยวกับการปวดคออันเนื่องมาจากข้อกระดูสันหลังคอเสื่อม หรือปวดคอจากสาเหตุอื่น ๆ สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีต่อไปครับ

ยิ่งแก่ตัว กระดูกคอยิ่งเสื่อม

คุณเคยไหม ที่เวลาหันศีรษะแล้วมีเสียงดังกร๊อบ ๆ บริเวณต้นคอ หรือมีอาการปวดคอ อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อขยับและเคลื่อนไหวคอ ถ้ามีอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังจะเป็น “โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ตามความเสื่อมถอยของร่ายกาย และอายุ ส่วนไหนที่ถูกใช้งานมากและบ่อย ๆ ก็จะเสื่อมเร็วกว่าส่วนที่ใช้งานน้อย โดยปกตินั้นกระดูกสันหลังคอจะมีการเคลื่อนไหวมากครั้งในแต่ละชั่วโมง และยังจะต้องรับแรงกด แรงบิดและแรงตึงเครียดอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ทำให้เป็นโรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

โดยปกติแล้วคนเรานั้นคอจะเริ่มเสื่อมโดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อมีอายุระหว่าง 35-40 ปี ความสามารถของการเคลื่อนไหวบริเวณคอจะเริ่มเสียไปทีละน้อย ทำให้มีอาการปวดคอเมื่อพยายามเหลียวคอเต็มที่ และมีอาการปวดคอมาแทรกซ้อน เมื่อเราฝืนให้ข้อทำงานเกินกำลัง การแก่ตัวของข้อกระดูกคอยังอาจก่อให้เกิดกระดูกงอกตามข้อได้ ซึ่งถ้างอกได้เกินขนาด จะทำให้มีอาการปวดลงแขน มือ และนิ้วได้ ในรายที่มีกระดูกงอกมาก อาจจะมีอาการชาที่นิ้วมือ หรือแขน และทำให้แขนและมืออ่อนแรงได้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะปล่อยปละละเลยคอได้อย่างไร แก้ก่อนที่จะสาย ก่อนที่คอจะเสื่อม สร้างความทุกข์ใจให้เราตลอดชีวิต
ซึ่งการบริหารเป็นประจำ รวมทั้งการนวด หรือใช้การออกกำลังการกล้ามเนื้อ มีโอกาสช่วยให้อาการบรรเทาได้ เนื่องจากกระดูกอักเสบ อาจจะต้องการใช้การบริหาร หรือนวดบ่อยครั้ง เมื่อมีอาการกำเริบ อาจจะต้องทำกายภาพบำบัดไปด้วย ดังนี้ เมื่อทานอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ไม่ควรใช้เสื่อผ้ารัดแน่นเกินไป ไม่ควรตากแอร์ ตากลมตรง ๆ ไม่ว่าในท่าเดินหรือท่ายืน ศีรษะก็ควรจะอยู่ตั้งตรงบนลำตัว ไม่ควรก้มศีรษะลง การโน้มศีรษะลงขณะอ่านหนังสือจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอทำงานมากกว่าปกติ

หากมีอาการเกี่ยวกับการปวดคออันเนื่องมาจากข้อกระดูสันหลังคอเสื่อม หรือปวดคอจากสาเหตุอื่น ๆ สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีต่อไปครับ

ยิ่งแก่ตัว กระดูกคอยิ่งเสื่อม

คุณเคยไหม ที่เวลาหันศีรษะแล้วมีเสียงดังกร๊อบ ๆ บริเวณต้นคอ หรือมีอาการปวดคอ อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อขยับและเคลื่อนไหวคอ ถ้ามีอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังจะเป็น “โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ตามความเสื่อมถอยของร่ายกาย และอายุ ส่วนไหนที่ถูกใช้งานมากและบ่อย ๆ ก็จะเสื่อมเร็วกว่าส่วนที่ใช้งานน้อย โดยปกตินั้นกระดูกสันหลังคอจะมีการเคลื่อนไหวมากครั้งในแต่ละชั่วโมง และยังจะต้องรับแรงกด แรงบิดและแรงตึงเครียดอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ทำให้เป็นโรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อม โรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

โดยปกติแล้วคนเรานั้นคอจะเริ่มเสื่อมโดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อมีอายุระหว่าง 35-40 ปี ความสามารถของการเคลื่อนไหวบริเวณคอจะเริ่มเสียไปทีละน้อย ทำให้มีอาการปวดคอเมื่อพยายามเหลียวคอเต็มที่ และมีอาการปวดคอมาแทรกซ้อน เมื่อเราฝืนให้ข้อทำงานเกินกำลัง การแก่ตัวของข้อกระดูกคอยังอาจก่อให้เกิดกระดูกงอกตามข้อได้ ซึ่งถ้างอกได้เกินขนาด จะทำให้มีอาการปวดลงแขน มือ และนิ้วได้ ในรายที่มีกระดูกงอกมาก อาจจะมีอาการชาที่นิ้วมือ หรือแขน และทำให้แขนและมืออ่อนแรงได้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะปล่อยปละละเลยคอได้อย่างไร แก้ก่อนที่จะสาย ก่อนที่คอจะเสื่อม สร้างความทุกข์ใจให้เราตลอดชีวิต
ซึ่งการบริหารเป็นประจำ รวมทั้งการนวด หรือใช้การออกกำลังการกล้ามเนื้อ มีโอกาสช่วยให้อาการบรรเทาได้ เนื่องจากกระดูกอักเสบ อาจจะต้องการใช้การบริหาร หรือนวดบ่อยครั้ง เมื่อมีอาการกำเริบ อาจจะต้องทำกายภาพบำบัดไปด้วย ดังนี้ เมื่อทานอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ไม่ควรใช้เสื่อผ้ารัดแน่นเกินไป ไม่ควรตากแอร์ ตากลมตรง ๆ ไม่ว่าในท่าเดินหรือท่ายืน ศีรษะก็ควรจะอยู่ตั้งตรงบนลำตัว ไม่ควรก้มศีรษะลง การโน้มศีรษะลงขณะอ่านหนังสือจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอทำงานมากกว่าปกติ

หากมีอาการเกี่ยวกับการปวดคออันเนื่องมาจากข้อกระดูสันหลังคอเสื่อม หรือปวดคอจากสาเหตุอื่น ๆ สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีต่อไปครับ

เล่นดี สมองดี มีศักยภาพ


เด็กรู้จักการเล่นตั้งแต่เล็ก และพัฒนาการเล่นมากขึ้นตั้งแต่ตื่นจนหลับ การเล่นจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสอย่างต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำให้เซลล์สมองเชื่อมประสานกันมากขึ้น เยื่อหุ้มใยประสาทหนามากขึ้น เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการและการเพิ่มศักยภาพ การเล่นของเด็กเป็นการใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และสร้างเสริมประสบการณ์ และช่วยพัฒนาสมองของเขา
สำหรับลูกวัยแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่อาจกังวลว่า ทารกตัวเล็ก ๆ ยังเปราะบางจะสามารถเล่นกับลูกได้แล้วหรือ ลูกไม่น่าจะรู้เรื่องการเล่นมากไปกว่าการกินหรือการนอน ความจริงแล้ว ถึงแม้ชีวิต 2 เดือนแรกของทารกส่วนใหญ่จะหมดไปกับการนอนหลับ 50-75% ก็ไม่ได้หมายความว่าทารกจะรู้จักเพียงการกินและการนอน แต่ทารกยังมีช่วงตื่นตัวและพร้อมจะรีเยนรู้นั่นก็คือในช่วง 5-10 นาทีก่อนหรือหลังเวลาให้นมช่วงเช้า กลางวัน และเย็น เพราะเป็นช่วงที่เขาอยู่ในภาวะผ่อนคลายและตื่นตัวต่อการเรียนรู้มากที่สุด

หนูเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส
เด็กวัยแรกเกิด-6 เดือน ยังพูดไม่ได้ แต่เขาจะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส พบว่าเด็กที่ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสทุกส่วน จะมีพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้น โดยสามารถช่วยเพิ่ม IQ ให้เด็กได้ถึง 15 จุด เพราะช่วงอายุ 0-3 เดือน สมองของเด็กกำลังพัฒนาสร้างใยประสาทจำนวนมหาศาล ยิ่งมีใยประสาทมาก ยิ่งมีความฉลาด ถ้าไม่มีการกระตุ้นประสาทสัมผัสทุก ๆ ส่วน ประสาทก็ไม่มีข้อมูล พอเด็กโตขึ้นเรื่อย ๆ ใยประสาทก็จะค่อย ๆ สลายตัว เพราะสมองมีใยประสาทน้อย สติปัญญาก็จะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

เล่น พัฒนาประสาทสัมผัสลูกวัยแรกเกิด – 6 เดือน

ตา (การมองเห็น)
ในบรรดาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ประสาทตาจะเป็นส่วนที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ที่สุด ทารกแรกเกิดสามารถมองเห็นได้ในระยะใกล้ ๆ เพียง 10-13 นิ้วและยังมองเห็นสีต่าง ๆ ไม่ชัดเจน จากการวิจัยของ Dr.Robert Fantz จากมหาวิทยาลัย Cleveland รัฐโอไฮโอ พบว่าทารกแรกเกิดเลือกที่จะมองภาพรูปทรงเรขาคณิต สีดำ-ขาวมากกว่าสีอื่น ๆ สีดำ-ขาว เป็นสีที่มีความเข้มแตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงช่วยกระตุ้นการมองเห็นของเด็กให้เกิดความสนใจอย่างมีจุดหมาย พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมให้เด็กทารกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งรอบตัวมากขึ้นในวัยต่อ ๆ มา อายุ 6 เดือน การประสานงานของตาสองข้างจะดีขึ้น ประกอบกับกล้ามเนื้อมือก็เริ่มพัฒนา ลูกจะมองและหยิบจับของได้ดีขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ลูกจะมองเห็นแต่คว้าของได้ไม่แม่น เพราะสายตายังไม่ดี กล้ามเนื้อก็ยังควบคุมไม่ได้ หลัง 6 เดือน ลูกจะมองเห็นได้ชัดขึ้นและไกลขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่ง 3 ขวบขึ้นไป ลูกจะพัฒนาการมองเห็นได้เหมือนผู้ใหญ่
เล่น กระตุ้นการมองเห็นของลูก นำแผ่นกระตุ้นสายตาที่มีสีขาว-ดำ-แดง หรือโมบายมาห้อยให้ลูกดู เล่นโบกมือให้ลูกมองตาม ยื่นหน้าเข้ามาพูดคุย ยิ้ม หยอกล้อลูก ไม่ควรปล่อยให้เขานอนเฉย ๆ อยู่ทั้งวัน

หู (การได้ยิน)
เมื่อคลอดออกมาลูกจะได้ยินเสียงแล้ว เพียงแต่ยังหาต้นตอของเสียงไม่ได้ กระทั่ง 3 เดือน จึงจะเริ่มหาที่มาของเสียงได้ แต่ก็ยังหันหาเสียงไม่ได้ เพราะคอยังไม่แข็ง อายุ 6 เดือนลูกเริ่มมองหาต้นตอของเสียงที่มาจากด้านข้างได้ คอของลูกที่เริ่มแข็งจะช่วยให้เขาเหลียวมองหาเสียงได้ แต่ก็ยังหันหาเสียงจากด้านบนและล่างไม่ได้ อายุ 9 เดือน ลูกถึงจะเริ่มหันหาเสียงได้ทุกทิศทาง และเริ่มพัฒนาความชัดเจนในการได้ยินอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาภาษาต่อไป
เล่น กระตุ้นการได้ยินของลูก พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ร้องเพลงกล่อมเขาบ้าง เปิดเพลงให้ฟังบ้าง หรือลองหาของเล่นที่ส่งเสียง กรุ๋งกริ๋งให้เขาฟัง ขณะเดียวกันก็ให้เขานอนในห้องเงียบ ๆ บ้าง เพื่อหัดให้แยกแยะความแตกต่างระหว่างการมีเสียงและความเงียบ แต่อย่าให้ขังเสียงอึกทึกครึกโครมการเปิดทีวี วิทยุ ตลอดเวลา หรือสร้างบรรยากาศให้มีหลายเสียงพร้อม ๆ กัน ไม่ใช่พัฒนาการได้ยินที่ถูกต้อง

มือ (สัมผัส)
ตั้งแต่แรกเกิด ลูกเรียนรู้การสัมผัสได้ในชีวิตประจำวันของเขา ไม่ว่าจะเป็นการโอบกอดจากพ่อแม่ การลูบเนื้อตัว การอาบน้ำ ถูสบู่  อายุ 2-3 เดือน เขาเริ่มสนุกกับการใช้มือคว้าของ แต่ก็คว้าไม่แม่นนัก เพราะมือกับตายังไม่ทำงานประสานกัน 4-5 เดือน ลูกเริ่มคว้าของได้แล้ว และจับได้มั่นคงขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 6
เล่น กระตุ้นการสัมผัสของลูก 3 เดือนแรกลูกอาจจะกำมืออยู่ตลอดเวลา เมื่ออารมณ์ดี ๆ แกะมือเขาออกแล้ววางวัสดุที่มีพื้นผิวแตกต่างกันไปเรื่อย ๆ เช่น นุ่มบ้าง แข็งบ้าง ใส่ไว้ในฝ่ามือลูก เขาจะได้เรียนรู้ผิวสัมผัสของวัสดุต่าง ๆ หรือหมั่นเปลี่ยนท่านอนให้ลูกบ้าง จะช่วยให้ลูกได้รับผิวสัมผัสที่แตกต่างออกไป

จมูก (กลิ่น)
เคยมีงานวิจัยทารกแรกเกิด โดยใช้ผ้า 2 ผืน ผืนหนึ่งชุบน้ำนมของแม่ตนเอง อีกผืนหนึ่งชุบน้ำนมของแม่เด็กอื่น แล้วยื่นผ้าทั้งสองผืนมาใกล้ ๆ เด็กทารก ปรากฏว่าเด็กหันหน้าไปทางผ้าที่ชุบน้ำนมแม่ตัวเอง แม้จะยื่นผ้าสลับข้างกันเด็กก็ยังหันไปทางผ้าที่ชุบน้ำนมแม่ตัวเอง แสดงให้เห็นว่าเด็กสามารถรับรู้กลิ่นได้ตั้งแต่แรกเกิด และกลิ่นที่ดึงดูดและกระตุ้นประสาทสัมผัสลูกแรกเกิดได้มาก คือกลิ่นของแม่นี่เอง
เล่น กระตุ้นการรับกลิ่นของลูก นอกจากกลิ่นกายแม่ ซึ่งลูกได้จากการที่แม่สัมผัส โอบกอด หอมลูก คุณแม่สามารถให้เขาได้ดมกลิ่นต่าง ๆ รอบตัวที่เขาสัมผัสเป็นประจำ เช่น กลิ่นแป้ง กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ ฯลฯ เพื่อพัฒนาการรับกลิ่นของเขา

ลิ้น (รส)
การรับรสของลูกก็เหมือนกับประสาทสัมผัสชนิดอื่น คือมีพัฒนาการไปตามวัย แต่ละตำแหน่งของลิ้นจะรับรสที่หลากหลายแตกต่างกันไป ปุ่มรับรสหวานอยู่ที่ตรงกลางของลิ้น ส่วนรสขมอยู่โคนลิ้น รสเค็มอยู่ด้านข้างของลิ้น
เล่น กระตุ้นการรับรสของลูก นอกจาน้ำนมของแม่ เอถึงวัยลูกกินอาหารเสริมได้ การให้ลูกกินอาหารที่หลากหลาย เหมาะสมตามวัยของเขา จะช่วยกระตุ้นการรับรสของลูกได้แล้ว

การแสดงความรักต่อลูกไม่ว่าจะเป็นการอุ้ม การสัมผัส การโอบกอด จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันของเซลล์สมองเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น การเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การแสดงออกทางอารมณ์ ระบบต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องได้รับการกระตุ้นจากประสบการณ์ที่เข้ามาในสมองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในสมองพัฒนา มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานไปจนตลอดชีวิตของเด็ก หากไม่มีการกระตุ้นที่เหมาะสม เด็กจะขาดพัฒนาการด้านนั้น จะทำให้เครือข่ายเส้นใยสมองที่ควรจะมีไม่เกิดขึ้น


รู้จักระบบประสาทสัมผัสของลูกน้อยในครรภ์


คุณแม่จะเล่นกับลูกได้ดี หากรู้ว่าระบบประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของลูกน้อยในครรภ์พัฒนาไปอย่างไร โดยระบบประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของลูกน้อยในครรภ์จะเกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน

เริ่มรู้สึกถึงการสัมผัสแล้ว
ในสัปดาห์ที่ 8 ลูกในครรภ์เริ่มรู้สึกและรับรู้ถึงการสัมผัสแล้ว ในระยะแรกที่น้ำหนักตัวยังน้อย ทารกสามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้สะดวก แต่เมื่อน้ำหนักตัวมากขึ้น ทารกจะจมลงสู่ฐานของมดลูกของแม่ เกิดการสัมผัสระหว่างผิวหนังของทารกกับผิวด้านในของมดลูก ซึ่งเป็นการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสรับความรู้สึก เสริมสร้างให้เกิดใยประสาทของการรับความรู้สึกมากขึ้น นอกจานี้ การเคลื่อนไหวของน้ำคร่ำในมดลูก และรอบ ๆ ตัวทารก เปรียบเสมือนแม่ที่คอยลูบไล้ตัวลูก ช่วยพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึก อีกทั้งขณะที่แม่เคลื่อนไหว ทารกในครรภ์จะเอนตัวไปตามจังหวะการเคลื่อนไหวนั้น ผิวหนังของทารกจะได้รับการสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูกตลอดเวลา ทำให้ระบบประสาทส่วนนี้พัฒนาได้ดี

รับรู้เสียง เป็นลำดับต่อมา
ระบบประสาทรับสัมผัสที่เกิดขึ้นต่อมาจากผิวหนังก็คือ หู ซึ่งจะเริ่มสร้างขึ้นตอน 18 สัปดาห์ แต่จะสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อถึงช่วง 24-26 สัปดาห์ ทำให้ลูกในครรภ์รับรู้เสียงได้แล้ว แต่เสียงที่เด็กได้ยินไม่ใช่เสียงที่ชัดเจนเหมือนที่เราได้ยิน เด็กได้ยินเสียงเหมือนเราได้ยินเสียงในน้ำ คือเสียงจะค่อนข้างอื้อ ๆ ก้อง ๆ
เสียงการเต้นของหัวใจแม่ เสียงการบีบตัวของลำไส้ เสียงการเคลื่อนไหวของกระแสโลหิตที่อยู่รอบตัวทารก ช่วยส่งเสริมพัฒนาการระบบการได้ยิน โดยเฉพาะการเต้นของหัวใจแม่ การวิจัยพบว่าแม่ที่อุ้มลูกโดยให้ศีรษะอยู่ทางซ้ายมือนั้น ลูกจะไม่ค่อยร้องกวนและเลี้ยงง่ายกว่าการอุ้มโดยให้ศีรษะอยู่ทางขวามือ ทั้งนี้เพราะหัวใจแม่อยู่ทางซ้าย ลูกจะได้ยินเสียงเต้นจองหัวใจชัดเจนกว่าจึงรู้สึกอบอุ่น และหลับง่าย
เสียงที่ทารกในครรภ์ได้ยินอีกเสียง ก็คือเสียงของคุณแม่เอง ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากกล่องเสียงที่คอ เวลาเราเปล่งเสียง เสียงก็เดินทางผ่านอากาศออกไปสู่ภายนอก แต่โดยธรรมชาติแล้วเสียงจะเดินทางผ่านของแข็งได้ดีกว่าอากาศ เสียงจึงเดินทางผ่านลำตัวของคุณแม่ไปสู่ลูกได้ ลูกในครรภ์จึงสามารถได้ยินเสียงพูดของคุณแม่ได้ แม้ไม่ใช้เครื่องมือช่วยใด ๆ คุณแม่ควรพูดคุยกับลูกในครรภ์บ้างหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง แม้ว่าลูกจะฟังไม่รู้เรื่องหรือได้ยินเสียงของคุณแม่ไม่ชัดนัก เพราะลูกแช่อยู่ในน้ำ แต่ลูกก็สามารถจดจำโทนเสียง ลักษณะเสียงของคุณแม่ได้เป็นอย่างดี หลังจากคลอดแล้วลูกก็ยังสามารถจดจำเสียงจองคุณแม่ได้ทันที

การมองเห็นของเจ้าตัวเล็กในครรภ์
ทารกจะเริ่มลืมตามองเห็นผนังภายในมดลูกเมื่ออายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ ช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ ผนังมดลูกจะเริ่มบางลง ทำให้แสงสว่างผ่านเข้าสู่ภาใยมดลูกได้ จึงเกิดการกระตุ้นระบบการมองเห็นที่ดีได้ แต่ภาพที่ทารกเห็นก็ยังไม่ชัดเจน โดยเห็นภาพเป็นสีแดง เหมือนเราหลับตาสู้แสงก็จะเห็นแสงทะลุเปลือกตาเข้ามาเป็นสีแดง เมื่อลูกอยู่ภายในมดลูก ก็จะเห็นเหมือนเราแช่อยู่ในถังน้ำทรงกลมใบใหญ่ เมื่อมีแสงจ้าภายนอกทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวก็จะกลายเป็นสีแดงไปหมด
เด็กในท้องไม่ชอบแสงจ้ามาก ๆ หรือแสงไฟกระพริบ ลูกมักจะดิ้นมาก พยายามหนีแสงเหล่านี้ แม่ตั้งครรภ์จึงไม่ควรตากแดดจ้า ๆ

กลืนน้ำคร่ำเพื่อรับรู้รส
การกลืนเป็นการกระตุ้นให้มีการพัฒนาของขากรรไกรและกล้ามเนื้อบริเวณแก้ม ขณะเดียวกันก็เป็นการกระตุ้นให้ปุ่มรับรสในลิ้นเกิดการพัฒนาด้วย สำหรับการดูดนิ้วซึ่งทารกมักทอยู่ตลอดเวลา เป็นการกระตุ้นประสาทการรับรส ทั้งยังเป็นพัฒนาการที่ผสมผสานระหว่างการมองและการรับรส รวมทั้งการเคลื่อนไหวของมือเข้าด้วยกัน

รับรู้อารมณ์แม่
ความรู้สึกอีกอย่างที่ดูเหมือนเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่ลูกสามารถรู้สึกได้ นั่นก็คือ “อารมณ์ของคุณแม่” หากคุณแม่อารมณ์ดี มีความสุข ลูกก็มีความสุขด้วย ถ้าแม่เครียด ลูกก็เครียดด้วย แม่ซึ่งเปรียบเสมือนโลกใบเล็กของลูก เป็นสิ่งแวดล้อม เป็นทุกอย่างของลูก เมื่อแม่มีความสุขสมองของแม่ก็หลั่งฮอร์โมนเอ็นเดอร์ฟินออกมาทั่วร่างกาย แล้วก็ส่งผ่านไปสู่ลูกในครรภ์ด้วย ทำให้ลูกรู้สึกดีตามไปด้วย หากคุณแม่โกรธฉุนเฉียวร่างกายของคุณแม่ก็จะหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายทุกส่วนตึงเครียดรวมทั้งลูกในครรภ์ด้วย

ความรู้สึกที่ลูกในครรภ์ควรได้รับจากแม่ จึงควรเป็นความรู้สึกที่ดี แค่คุณแม่นั่งหลับตาคิดถึงแต่สิ่งที่ดี ๆ ก็ทำให้ลูกในครรภ์รู้สึกเป็นสุขได้

พัฒนาการทางสมองของลูกน้อยในครรภ์

เดือนที่ 1-2
หลังปฏิสนธิได้ประมาณ 18 วัน เซลล์ที่เกิดจากไข่กับสเปิร์มผสมกัน และแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งจะเจริญเติบโตเป็นสมอง เริ่มมีรูปร่างที่มองเห็นได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อสมอง โดยแรกเริ่มเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วค่อย ๆ โค้งเข้ามาบรรจบกันเป็นท่อเหมือนหลอดกาแฟ ต่อมาหลอดนี้จะเริ่มโป่งพองจัดโครงสร้างเป็นสมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลัง

เดือนที่ 2-3
ระยะนี้ เซลล์สมองจะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ประมาณนาทีละ 250,000 เซลล์ และแยกรูปแบบเป็นสมองกับไขสันหลังอย่างชัดเจน เซลล์สมองเริ่มมีการเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของสมองเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ และเริ่มมีเส้นใยประสาทยื่นออกมาติดต่อถึงกัน อาศัยปฏิกิริยาของสารเคมีจากเซลล์สมอง ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าวิ่งไปมาระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เกิดวงจรประสาท มีการรับส่งข้อมูลขึ้นในสมอง นี่หมายความว่าสมองของลูกเริ่มทำงานแล้ว

เดือนที่ 3-4
ช่วงนี้สมองของลูกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วแขก เส้นใยประสาทเริ่มมีไขมันหรือมันสมองมาล้อมรอบเช่นเดียวกับฉนวนสายไฟ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าวิ่งไปมาระหว่างเซลล์สมองได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การสื่อสารรับส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

เดือนที่ 5-6
เซลล์สมองส่วนใหญ่พัฒนาตัวเองอย่างสมบูรณ์ และเริ่มมีการจัดระดับตัวเองที่พื้นผิวสมองเป็นชั้น ๆ ตามโครงสร้างแต่ละส่วนของสมองทำให้ระบบประสาทเริ่มสมบูรณ์

เดือนที่ 6-7
สมองของลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แต่พื้นผิวสมองยังคงราบเรียบ ไม่มีรอยหยัก มีการสร้างไขมันมากขึ้น จำนวนเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับเส้นใยสมอง และจุดเชื่อมต่อ

เดือนที่ 7-9
ระยะนี้สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบประสาทส่วนกลางของทารกพัฒนาไปอย่างมาก เส้นประสาทมีการสร้างเยื่อหุ้มที่มาจากไขมัน ทำให้การส่งผ่านสัญญาณในเส้นประสาททำได้รวดเร็วขึ้น มีการแผ่กิ่งก้านสาขา เพื่อเชื่อมต่อกันเป็นร่างแหของระบบประสาท เซลล์สมองทารกขยายขนาดโตขึ้น  มีการแผ่นขยายสร้างโยงใยของระบบประสาทมากขึ้น สมองมีหยักตัวเป็นร่องเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเก็บสะสมข้อมูล ยิ่งเซลล์สมองมีขนาดใหญ่ มีเส้นใยมาก มีการเชื่อมโยงประสานของเส้นใยมาก มีร่องสมองมาก ก็ยิ่งจะทำให้มีความจำ มีการเรียนรู้และการรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แนวคิดเสริมสร้างศักยภาพสมองสู่มหัศจรรย์แห่งพัฒนาการ


มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า สมองเด็กมีการเจริญเติบโตสูงสุดถึง 80% ในช่วงตั้งครรภ์ ถึง 3 ปีแรก ดังนั้นการกระตุ้นสมองเด็กด้วยวิธีการที่เหมาะสมในช่วงวัยนี้จึงสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้สมองของเด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สมองเติบโตจากากรที่เซลล์สมองขายขนาดและมีการสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาทมากขึ้น ยิ่งสมองได้รับการกระตุ้นมากเท่าไหร่ เครือข่ายเส้นในประสาทจะมีมาขึ้น ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็ก

ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการของเด็กกล่าวว่า มีปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่มีผลต่อการเติบโตของสมอง และส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก ได้แก่ พันธุกรรม โภชนาการ และสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงดูเด็ก ซึ่ง 2 ปัจจัยหลังเป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถควบคุมหรือสร้างได้ โดยให้เด็กได้รับโภชนาการ และการเลี้ยงดูด้านสภาพแวดล้อมที่จะกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมกับวัย ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ว่านี้ แก้ ดนตรี การเล่น และการสื่อภาษา ซึ่งรวมเรียกว่า เอนฟารหัสอัจฉริยะ อันเป็นองค์ความรู้ และแนวทางปฏิบัติที่พ่อแม่สามารถนำไปใช้สร้างเสริมพัฒนาการของลูกน้อยให้เต็มศักยภาพได้

คุณค่าอาหาร เพื่อการพัฒนาสมอง
โภชนาการ คือจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาสมอง และสติปัญญา เพราะ 60% ของสมองประกอบด้วยกรดไขมันที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ นั่นคือ ดีเอชเอ การให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดี และเพียงพอต่อความต้องการจึงเป็นเสมือนรากฐานของการเรียนรู้

เสียงดนตรีสื่อดี ๆ เพื่อเพิ่มไอคิว
ดนตรี เป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านไอคิว ท่วงทำนองและจังหวะของดนตรีที่เด็กได้ฟังตั้งแต่ในครรภ์อย่างต่อเนื่องมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบความคิดและการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลอันเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้

เล่นดี สมองดี มีศักยภาพ
การเล่น เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มพลังสมองของเด็ก ขณะที่เด็กเล่น คลื่นสมองจะพัฒนาได้เต็มที่ และสามารถเพิ่มการรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน

พูดคุยสื่อภาษา พัฒนาการเรียนรู้
การสื่อภาษา เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบความคิด สติปัญญา การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะทางภาษา ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน สมองจะมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถในการรับรู้ และการสื่อสารอย่างเต็มที่ไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้ด้านสังคม และอารมณ์

ทารกเรียนรู้ภาษาที่สองได้ตั้งแต่แรกเกิด


สมองของเด็กมีช่วงเวลาทองของการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในแต่ละช่วงแตกต่างกันไป ถ้าเด็กไม่ได้เรียนรู้ในช่วงเวลานั้น ๆ การพัฒนาให้เต็มศักยภาพทำได้ยาก เพราะผ่านช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการพัฒนาเรื่องนั้น ๆ ไปแล้ว เช่น การเรียนรู้ภาษาที่ 2 ที่นอกเหนือไปจากภาษาแม่ เด็กจะเรียนได้ดีตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 7 ปี ถึงเด็กจะยังพูดไม่ได้ แต่เขาก็จะซึมซับภาษาเหล่านั้นจากการได้ยิน ได้ฟัง เมื่อเขาโตพอที่จะพูดได้ เขาก็จะสามารถออกเสียงภาษาเหล่านั้นออกมาได้ เหมือนเจ้าของภาษา หรือออกเสียงได้ใกล้เคียงมาก

สมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับการพูด และภาษาคือ Broca’s area ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับที่พบเซลล์กระจกเงา และนักวิทยาศาสตร์ก็พบว่าความสามารถทางภาษา เป็นผลมาจากการทำงานของเซลล์ Mirror Neurone และมันจะทำงานตั้งแต่เด็กลืมตาดูโลก เมื่อแรกเกิดเด็กจะยังไม่รู้ภาษา แต่จากการที่ได้มองเห็นท่าทางของแม่ ได้ยินเสียงของแม่ เซลล์ Mirror Neurone จะค่อย ๆ เรียนรู้และทำความเข้าใจเจตนาที่ซ่อนอยู่ภายใต้เสียงพูดและท่าทางของแม่ ด้วยการสร้างภาพจำลองขึ้นในสมอง เกิดความรับรู้ เริ่มเข้าใจความหมาย ไปสู่การเลียนแบบเสียงพูด เลียนแบบท่าทาง น้ำเสียง เพื่อการสื่อสารโต้ตอบจนกระทั่งก้าวไปสู่การพัฒนาของภาษาและการสื่อสารที่สมบูรณ์ 

ดังนั้นการพูดคุยกับลูก การร้องเพลงกล่อมลูก การเล่านิทานอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ยังเล็ก ๆ จึงเป็นแบบอย่างของการใช้ภาษาและการสื่อสาร ที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ Mirror Neurone ของลูกน้อยทำงานได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

คุณค่าอาหาร เพื่อเสริมสร้างมหัศจรรย์แห่งพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์

คุณค่าอาหาร เพื่อเสริมสร้างมหัศจรรย์แห่งพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์
อายุครรภ์
อาหารและสารอาหารที่เหมาะสม
เดือนที่ 1
-ดื่มน้ำผลไม้สด หรือนมวันละ 1 แก้ว แต่หากแพ้ท้องมากควรงดนมไว้ก่อน
-รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะโฟเลต และอาหารประเภทปลาทะเลที่มีดีเอชเอ เช่น ปลาทูน่า หรือน้ำมันสกัดจากผลิตภัณฑ์ทางทะเล ที่จะส่งผลดีต่อระบบการทำงานของเซลล์สมองลูกน้อยในครรภ์
เดือนที่ 2
- คุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ จึงควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่าย มีโปรตีนสูง เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊ก
-ควรรับประทานผลไม้สด เป็นอาหารว่าง
เดือนที่ 3
คุณแม่บางท่านอาจเริ่มมีอาการท้องผูก จึงควรดื่มน้ำให้มากหรือรับประทานผักผลไม้มาก ๆ เพ่อช่วยเพิ่มเส้นใยที่จะช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น
เดือนที่ 4
ทารกในครรภ์เริ่มมีการสร้างกระดูกและฟัน คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว ควรเน้นอาหารประเภทโปรตีน และธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะมีอยู่ในตับ ไข่แดง นม ใบตำลึง ใบขี้เหล็ก ฯลฯ
เดือนที่ 5
เพราะสมองและระบบประสาทของลูกน้อยยังเจริญเติบโต คุณแม่ควรรับประทานสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย ได้แก่ ดีเอชเอ โฟเลต สังกะสี และวิตามินบี 12 แหล่งอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารพัฒนาสมอง เช่น นม ไข่ เนื้อปลา อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ เมล็ดทานตะวัน ฯลฯ
เดือนที่ 6
คุณแม่อาจจะเป็นตะคริวบ่อยครั้งในช่วงนี้ ควรดื่มน้ำให้มาก รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ไข่ นม ถั่วลิสง หรือเครื่องในสัตว์
เดือนที่ 7
ช่วงนี้คุณแส่จะต้องการพลังงานจากสารอาหารมาขึ้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น นม ไข่ เนื้อปลา ปลาเล็กปลาน้อย ผัก และผลไม้ เพื่อสะสมสารอาหารที่จำเป็นไว้สำหรับเตรียมให้น้ำนมกับลูกหลังคลอด
เดือนที่ 8
เริ่มมีการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมอง และจะมีการสร้างต่อไปอย่างต่อเนื่องในช่วงหลังคลอด คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารพัฒนาสมอง เช่น นม ไข่ เนื้อปลา อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ใบเขียว เนื้อสัตว์ เมล็ดทานตะวัน ฯลฯ
เดือนที่ 9
คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นแคลเซียมเพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมให้เพียงพอหลังคลอด และควรรับประทานธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง งา ฯลฯ ให้มาก เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตที่จะต้องสูญเสียในขณะคลอด






Baby Signs กับการหัดพูดของลูก

Baby Signs หรือภาษาท่าทางของเด็กก่อนวัยพูดได้ เป็นศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องของเทคนิค การสื่อสารกับเด็กก่อนพูดที่มีมานานกว่า 20 ปีแล้ว ดร.ลินดา อเครโดโล่ และ ดร.ซูซาน กู๊ดวิน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย California at Davis ประเทศสหรัฐอเมริกา คือผู้ค้นพบศาสตร์แขนงนี้ โดยเริ่มจากการสังเกตเห็นพฤติกรรมของลูกตัวเองที่พยายามใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับผู้อื่น จึงเป็นแรงผลักดันให้นักจิตวิทยาทั้งสองศึกษาเชิงวิชาการ เพื่อสังเกตว่าเด็กทุกคนสามารถสื่อสารและฝึกฝนการใช้ Baby Signs ได้หรือไม่ จากการค้นคว้าพบว่า เด็กทารกสามารถสื่อสารด้วยท่าทาง และสามารถฝึกสอน Baby Signs ได้ทุกคน

Baby Signs เปรียบคล้ายกับ “อวัจนภาษา” ซึ่งก็คือภาษาท่าทาง เช่น เมื่อพอใจเราก็สอนให้เด็กยิ้ม หัวเราะ ให้ทำหน้าบึ้งเมื่อโกรธ และร้องไห้เมื่อเจ็บ ซึ่งการแสดงอารมณ์ทางสีหน้าต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นการสื่อสารผ่านท่าทางทั้งสิ้น เพียงแต่ในการเรียนรู้ Baby Signs ตามระบบของ Dr.Linda Acredolo และ Dr.Susan Goodwyn นั้น จะมีท่าทางที่เป็นมาตรฐานตามสากลที่สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ทั่วโลก แต่ในความเป็นจริง หากพ่อแม่มีความใกล้ชิดกับลูก และศึกษาลูกของตัวเองอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าเด็กแต่ละคนจะมีท่าทางในการแสดงออก Signs ในแบบฉบับของเขาเอง เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่และผู้ใกล้ชิดต้องพยายามสังเกตท่าทางของเด็ก และดูพฤติกรรมการทำซ้ำ ๆ ของเด็กว่าต้องการสื่อสารถึงอะไร แล้วตอบสนองเขา จากนั้นก็หาท่าทางใหม่ ๆ สอนเขาเพิ่มเติม

Baby Signs ในครอบครัวไทย
ความจริงแล้วนั้นในสังคมไทยมีการสอนภาษาท่าทางให้เด็กกันอยู่แล้ว เช่น การสอนให้เด็กสวัสดี สาธุ บ๊ายบาย ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็น Baby Signs ทั้งสิ้น เพียงแต่เราหยุดการสอนไว้เพียงเท่านี้ ไม่ได้ขยายการสอนคำศัพท์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น คำแสดงอากัปกิริยา อย่างกินข้าว อิ่ม เสร็จแล้ว ขอบคุณ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะบางคนอาจจะคิดว่าการเรียนรู้ภาษาท่าทางจะทำให้เด็กพูดช้า ทั้งที่จริงแล้วมีข้อมูลการวิจัยไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าเด็ก ๆ ที่ได้เรียน และฝึกภาษาท่าทางก่อนวัยพูดนั้น จะพูดได้เร็วกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ทำไม Baby Signs ช่วยให้เด็กพูดได้เร็ว
ผู้เชี่ยวชาญทางการฝึกพูดอธิบายว่า ก่อนที่เด็กจะพูด เขามีความต้องการที่จะสื่อสารแล้วด้วยการออกเสียง แต่กล้ามเนื้อบริเวณปากยังไม่พัฒนา จึงยังพูดเป็นคำไม่ได้ ได้แต่ร้องอ้อแอ้ซึ่งพ่อแม่ไม่เข้าใจ เขาจึงใช้ภาษาท่าทางที่สื่อสารด้วยมือ ซึ่งพัฒนาก่อนการใช้ปาก การสอนท่าทางให้ลูกพร้อมการพูดไปด้วยนั้น เมื่อกล้ามเนื้อปากพร้อมที่จะพูด ลูกจะพูดได้เลยและพูดได้เร็ว เพราะรู้จักคำศัพท์ต่าง ๆ แล้ว เด็กที่พูดได้แล้วจะไม่ใช้ท่าทางสื่อสารอีกต่อไป แต่จะสื่อสารด้วยการพูดแทน ซึ่งต่างจากเด็กที่รอกล้ามเนื้อปากพร้อมในอายุ 1 ขวบขึ้นไป แล้วค่อยสื่อสารเขาจะพูดได้ช้ากว่า
Baby Signs จึงมีส่วนช่วยให้เด็กพูดได้เร็วขึ้น และรู้จักคำศัพท์มากขึ้น

เทคนิคการสอน Baby Signs
ผู้ใหญ่สามารถกำหนด Baby Signs ขึ้นมาใช้ในครอบครัวของตัวเองได้ โดยเมื่อทำท่าทางหรือ Signs เราต้องพูดคำ ๆ นั้นกำกับตามไปด้วย เช่น ทำท่าแตะหัว (บอกว่า “หมวก”) ทำท่าชี้ตา (บอกว่า “ดู”) เป็นต้น เด็กจะเกิดการเชื่อมโยงท่ามือกับภาษาพูด ที่สำคัญ ต้องทำให้สนุก ไม่เคร่งเครียด

บทบาทคุณพ่อต่อลูกน้อยแรกคลอด


ความเป็นพ่อเริ่มต้นอย่างสมบูรณ์เมื่อลูกน้อยคลอดออกมา ซึ่งลูกน้อยต้องการการดูแลจากคนเป็นพ่อไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคนเป็นแม่ จากการศึกษาพบว่า พ่อที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของลูกยิ่งมากเท่าไหร่ ลูกก็จะยิ่งมีสุขภาพที่แข็งแรง ฉลาด และมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น ดังที่มีผลการศึกษามากมายแสดงถึงผลดีของการที่พ่อมีส่วนร่วมในชีวิตของลูก ไม่ว่าจะเป็น

พ่อที่แสดงความรักและใช้เวลากับลูกบ่อย ๆ จะช่วยให้ทารกมีความรู้สึกผูกพันและมีความรู้สึกมั่นคง
เด็กทารกที่พ่อมีส่วนในการดูแลเรื่องสุขอนามัย เช่น เปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำ ป้อนนม ป้อนข้าว ป้อนอาหาร ฯลฯ จะมีแนวโน้มในการพัฒนาระบบประสาท การแก้ปัญหา และทักษะทางภาษาดีกว่า

การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางกายภาพดีขึ้น มีความสามารถในการเรียนรู้ และมีทักษะทางสังคมดี เด็กที่พ่อมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ จะมีพัฒนาการในการเรียนรู้ดี มีความนับถือตัวเองสูง สามารถควบคุมตัวเองได้ดี มีทักษะชีวิต และทักษะทางสังคมที่ดีกว่า และมีปัญหาด้านพฤติกรรมน้อยกว่า ลูกต้องการพ่อขนาดนี้ เพราะฉะนั้นได้เวลาเตรียมตัวเป็นคุณพ่อขวัญใจของคุณแม่และลูกน้อยกันแล้ว

10 เรื่องที่แม่ตั้งครรภ์ต้องการจากพ่อ


1.    ต้องการให้คุณพ่อพาไปฝากครรภ์ หรือไปพบแพทย์ทุกครั้ง เพราะไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่เข้มแข็งแค่ไหน แต่ช่วงตั้งครรภ์จิตใจคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงง่าย และต้องการคนสำคัญมาช่วยดูแล มาช่วยกันซักถามแพทย์และแสดงให้เห็นว่าแม่และลูกในครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตเขา ช่วงนี้เป็นเวลาที่คุณพ่อจะแสดงความรัก ความห่วงใยต่อคุณแม่ได้ดีที่สุด
2.    แสดงออกให้รู้ถึงความรักความห่วงใย เช่น ถามไถ่ “เป็นอย่างไรบ้างวันนี้” “เดินช้า ๆ นะครับ” “อยากได้อะไรก็บอกนะจ๊ะ” ฯลฯ หรือเตือนให้กินยาตามที่แพทย์สั่งให้ หรือถือโอกาสนี้รับหน้าที่จัดการเรื่องการกินให้คุณแม่ ถามไถ่เธอว่าอยากกินอะไรแล้วก็ช่วยจัดมื้ออาหารคุณภาพที่เหมาะสมกับแม่ตั้งครรภ์ให้แก่เธอด้วย เธอจะมีความสุข และยินดีรับประทานอาหารนั้นแม้จะมีอาหารบางอย่างไม่ชอบก็ตาม
3.    ช่วยนวดคลายปวดเมื่อย ด้วยสรีระร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป และท้องที่โตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้แม่ตั้งครรภ์เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดเอว ฯลฯ ถ้าว่าที่คุณพ่อช่วยบีบนวดให้บ้างช่วงก่อนนอน ถามไถ่คุณแม่ว่าปวดเมื่อยที่ไหน จะช่วยผ่อนคลายให้คุณแม่ได้อย่างดีเยี่ยม หายเมื่อทั้งร่างกาย และจิตใจก็แจ่มใส ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ลูกน้อยในครรภ์ด้วย
4.    ช่วยทำงานบ้าน ผู้ชายส่วนใหญ่อาจไม่ชอบการทำงานบ้าน แต่ไม่ว่าจะเป็นช่วงตั้งครรภ์หรือไม่ ก็ควรช่วยภรรยาทำงานบ้านบ้าง แต่ในช่วงที่เป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรช่วยให้มากขึ้น โดยเฉพาะส่วนที่ต้องใช้แรงหรือกำลัง เช่น ยกข้าวของ ให้เป็นหน้าที่ของว่าที่คุณพ่อ และจะทำให้คุณพ่อรู้ว่าการทำงานบ้านนั้น เป็นงานหนักอย่างหนึ่ง จึงไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณแม่ตามลำพัง
5.    เป็นเพื่อนดูแลยามค่ำคืน ในตอนกลางคืน คุณแม่อาจเผชิญกับอาการอึดอัด แน่นท้อง ทำให้ไม่สบายตัว นอนไม่หลับ หรือต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ การตื่นขึ้นมากลางคืนตามลำพัง อาจสร้างความรู้สึกอ้างว้างแก่คุณแม่ได้ แต่หากคุณพ่อจะได้ตื่นขึ้นมาเป็นเพื่อน ถามไถ่อาการคอยช่วยเหลือ จะทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น
6.    ช่วยเลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้ โดยเฉพาะของใช้ลูก การมีคุณพ่อคอยช่วยเลือก คอยแสดงความคิดเห็นกับการซื้อของให้ลูกนั้น สร้างความสุขใจให้คนเป็นแม่ได้เป็นอย่างดี
7.    สัมผัสท้อง พูดคุยกับลูกในท้อง การมีคนที่รักมาสัมผัสลูบท้องพูดคุยกับลูกในท้องอย่างสม่ำเสมอ เป็นความสุขของคนเป็นแม่ และส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูกในครรภ์ด้วย
8.    เป็นกำลังใจยามคลอด เมื่อถึงเวลาเจ็บครรภ์คลอด โดยเฉพาะคุณแม่ที่คลอดครั้งแรก มักจะเกิดความรู้สึกกลัว วิตกกังวล ถ้าคลอดในโรพยาบาลที่อนุญาตให้คุณพ่อเข้าไปในห้องคลอดได้ ก็ขอแนะนำให้คุณพ่อเข้าไปอยู่ในห้องคลอดด้วย เพื่อเป็นกำลังใจให้คุณแม่ การได้รับกำลังใจจากคนเป็นสามีอยู่เสมอ จะช่วยให้คุณแม่มีภูมิต้านทานกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งอาจจะไม่เกิดขึ้นเลย หรือเกิดเพียงช่วงสั้น ๆ แล้วหายไป เพราะคุณแม่มีพื้นฐานทางจิตใจที่ดีตลอดการตั้งครรภ์ คือ ไม่เครียด ได้รับความอบอุ่นจากคุณพ่อ มีความสุขและความมั่นคงทางจิตใจ
9.    มารับแม่-ลูกกลับบ้าน หลังจากผ่านช่วงเวลาอันยิ่งใหญ่ คือให้กำเนิดลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลก คุณพ่อคุณแม่ก็ได้ชื่นชมลูกน้อยที่เฝ้ารอมา 9 เดือน ความเหน็ดเหนื่อยของคุณแม่หายไปเกือบหมด และเมื่อถึงวันกลับบ้าน คุณแม่ทุกคนต่างก็ต้องการให้คุณพ่อมารับกลับบ้าน พาลุกพาคุณแม่ที่เพิ่งคลอดกลับไปอวดญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านที่คอยต้อนรับอยู่
10.  ช่วยเลี้ยงลูก การเลี้ยงลูกแรกเกิดถือเป็นภาระที่หนักเอาการ ช่วงนี้คุณพ่อควรแบ่งเบาภาระของคุณแม่ ช่วยชงนม ล้างขวดนม หรือช่วยซักผ้าอ้อม ฯลฯ จะช่วยให้คุณแม่เหนื่อยน้อยลง และยังทำให้บรรยากาศในครอบครัวอบอุ่นและผูกพันกันมากขึ้น เพื่อให้รู้วิธีการเลี้ยงดูลูก คุณพ่อควรเข้าอบรมความรู้เรื่องการดูแลลูกหลังคลอดด้วย จะได้ช่วยเลี้ยงดูลูกน้อยได้อย่างถูกวิธี เพราะถ้าคุณพ่อได้มีส่วนช่วยดูแลคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ และดูแลลูกน้อย จะก่อให้เกิดความรักและความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูกน้อยไปอีกยาวนาน

บทความสุขภาพที่เีกี่ยวข้อง